ผู้หญิง เป็นเพศที่มีอวัยวะภายในซับซ้อนละเอียดอ่อน และเกิดโรคได้กับทุกส่วน จึงควรมีที่ปรึกษาเพื่อให้คำแนะนำในการดูแลตนเอง และตรวจความผิดปกติที่จะเกิดตรงจุดซ่อนเร้น เพราะบางเรื่องอาจเป็นเรื่องธรรมดาที่ไม่ธรรมดา.jpg)
- ประจำเดือนผิดปกติ เกิดได้กับผู้หญิงที่มีประจำเดือนทุกวัยแบ่งได้เป็น 2 ส่วนหลัก คือ
- ประจำเดือนที่มาตามรอบอาจมามากกว่าปกติ เกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น ความผิดปกติของรอบเดือนที่เกิดจากโรคเนื้องอกในมดลูก
- ประจำเดือนที่มาไม่ตรงรอบ เลือดออกกระปริดกระปรอยเกิดจากความไม่สมดุลของระดับฮอร์โมนเพศ การตั้งครรภ์หรือโรคทางนรีเวช
เมื่อใดที่เรียกว่า ประจำเดือนผิดปกติ เช่น ปกติวันแรกๆ มีประจำเดือนและใช้ผ้าอนามัยประมาณ 3-4 ผืน และมาไม่เกิน 7 วัน แต่กลับมามากต้องใช้ผ้าอนามัย 5-6 ผืนต่อวัน และมาเกิน 7 วัน มีอาการปวดท้องมากเบื้องต้นเมื่อเกิดความผิดปกติควรบันทึกอาการไว้ และในเดือนต่อไปสังเกตอีกครั้งถ้ายังเกิดความผิดปกติควรมาพบสูตินรีแพทย์ซึ่งสามารถตรวจหาความผิดปกติได้จากการตรวจภายใน อัลตร้าซาวด์ หรือแพทย์พิจารณาตามลักษณะโรค หากตรวจไม่พบความผิดปกติอาจรับประทานยาเพื่อปรับฮอร์โมน
ตกขาว สารคัดหลั่งจากช่องคลอด ร่างกายผลิตมาเพื่อให้ความชุ่มชื้น หล่อลื่นช่องคลอด ช่วยขับสิ่งแปลกปลอมที่เข้าไปในช่องคลอด ลักษณะปกติของตกขาวจะเป็นเมือกใส ขาวขุ่น เหลืองอ่อน ไม่มีกลิ่น และไม่คัน ส่วนตกขาวที่ผิดปกติจะเกิดได้หลายลักษณะ อาทิ มีสีเขียว สีเหลือง คล้ายคราบนมเสียหรือมีกลิ่น สาเหตุของความผิดปกติเกิดได้จาก 2 สาเหตุ คือ การติดเชื้อราหรือเชื้อแบคทีเรีย และการมีเพศสัมพันธ์- การติดเชื้อรา หรือเชื้อแบคทีเรียซึ่งมีที่มาจากการดูแลตนเองไม่ดีเท่าที่ควร อาทิ กางเกงชั้นในไม่สะอาด อับชื้น นุ่งกระโปรงรัด ใส่แผ่นอนามัยเป็นประจำ ใช้น้ำยาสวนล้างช่องคลอด หรือบริเวณจุดซ่อนเร้นสะอาดเกินไปทำให้ขาดสมดุล หากเกิดจากเชื้อรา จัดการได้ด้วยการรับประทานยา และการสอดยาสำหรับฆ่าเชื้อแบคทีเรียจัดการได้ด้วยการรับประทานยา
- การมีเพศสัมพันธ์ อาจเกิดจากหนองในแท้หรือเทียม ตกขาวจะมีสีหนอง น้ำตาล ปัสสาวะแสบขัด รักษาด้วยการให้ยา และรักษาคู่นอนร่วมด้วย
เชื้อราในช่องคลอด ส่วนใหญ่จะมีอาการคัน คนไข้จะบอกว่ารู้สึกไม่สบายบริเวณจุดซ่อนเร้น มีอาการแสบขณะปัสสาวะ หรืออาบน้ำ เกิดจากการอับชื้น ทำความสะอาดไม่ดีพอ ซึ่งเชื้อราเกิดบริเวณด้านในช่องคลอด แต่ถ้าตกขาวมีปริมาณมาก ที่ปากช่องคลอดจะระคายเคืองร่วมด้วย บางคนอาจมีแผลได้ อาการเชื้อราเล็ก ๆ น้อยๆ อาจหายเองได้ ถ้า 2-3 วันยังไม่หายควรมาพบแพทย์
ปวดท้องน้อยเรื้อรัง เกิดได้จากสาเหตุเดียว หรือหลายสาเหตุร่วมกัน อาการที่คนไข้มาพบแพทย์มักปวดเช่นเดียวกับปวดท้องประจำเดือน ปวดหน่วงๆ เป็นๆ หายๆ นานเกิน 6 เดือน และไม่สามารถบอกสาเหตุได้ การปวดท้องน้อยเรื้อรังนอกจากเป็นโรคทางนรีเวชเกี่ยวกับมดลูก และรังไข่ แล้วยังสัมพันธ์กับโรคอื่น ได้แก่ โรคเกี่ยวกับทางเดินปัสสาวะ กล้ามเนื้ออักเสบ ลำไส้ การตรวจวินิจฉัยทำได้โดยตรวจร่างกาย ซักประวัติ ตรวจภายใน และอัลตราซาวด์ ในวัยรุ่นมักมีอาการเพราะการปวดประจำเดือน วัยทำงานอาจเกิดจากเนื้องอกมดลูก เนื้องอกรังไข่ และช็อกโกแลตซีสต์ เป็นต้น สำหรับผู้สูงอายุแพทย์จะเน้นให้ความสำคัญกับเรื่องโรคมะเร็งเป็นหลักเทคนิคการดูแลจุดซ่อนเร้นของผู้หญิงที่ควรปฎิบัติ
สามารถทำได้โดยไม่กลั้นปัสสาวะ หลังปัสสาวะ และอุจจาระควรซับด้วยกระดาษชำระให้แห้ง หลีกเลี่ยงการสวมใส่กระโปรง กางเกง หรือชุดชั้นในที่รัดจนเกินไป ไม่ควรใส่แผ่นอนามัยเป็นประจำ และไม่ใช้น้ำยาสวนล้างช่องคลอด
สุขภาพสตรี อาคาร 1 ชั้น 4 โทร. 02-2717000 ต่อ สุขภาพสตรี