การดูแล ป้องกันการลุกลามของโรคกระดูกพรุน
โรงพยาบาลเปาโลเกษตร
14-ส.ค.-2567

ในวัยเด็กถึงอายุ 30 ปี กระดูกจะมีความหนาแน่นสูงขึ้นเนื่องจากอัตราการสร้างกระดูกเร็วกว่าอัตราการสลายกระดูกหลังอายุ 30 ปี ความหนาแน่นของกระดูกจะลดลงเนื่องจากอัตราการสลายกระดูกเร็วกว่าอัตราการสร้าง ทำให้กระดูกบางและอ่อนแอจนเกิดภาวะกระดูกพรุน

อาการของโรคกระดูกพรุน ได้แก่

ปวดหลัง หลังค่อมและตัวเตี้ยลง อาจเกิดจากกระดูกสันหลังยุบตัว(หัก)

การป้องกันการเกิดกระดูกพรุน

การป้องกันโรคกระดูกพรุนสามารถทำได้หลายวิธี เช่น

👉 การรับประทานอาหารที่มีแคลเซียมและวิตามินดี ช่วยลดการสูญเสียมวลกระดูก

👉 การออกกำลังกายสม่ำเสมอ ช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อและปรับปรุงการทรงตัว

👉 การปรับปรุงบ้านให้ปลอดภัย เพื่อลดความเสี่ยงในการหกล้ม

👉 หลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ เช่น การสูบบุหรี่และการดื่มสุรา

การรักษาโรคกระดูกพรุนด้วยการใช้ยา

ปัจจุบันการรักษาโรคกระดูกพรุนมีหลายวิธี เช่น

👉 การปรับเปลี่ยนการใช้ชีวิต การออกกำลังกายและการรับประทานอาหารที่เหมาะสม

👉 การใช้ยา มียาหลายกลุ่ม เช่น ยาต้านการสลายกระดูก การรับฮอร์โมน และการให้แร่ธาตุเสริม

การใช้ยาในการรักษาต้องพิจารณาร่วมกับลักษณะของคนไข้ :
👉 ยาต้านการสลายกระดูกชนิดรับประทาน ควรทานตอนท้องว่างและนั่งตัวตรงเป็นเวลา 45 นาที
👉 ยาต้านการสลายกระดูกชนิดฉีดแบบทุกๆ 3 เดือน ช่วยเพิ่มมวลกระดูกได้ดีกว่าและลดผลข้างเคียงจากการรับประทานยา
👉 ยาต้านการสลายกระดูกชนิดฉีดทุก 6 เดือน ไม่รบกวนการทำงานของไต อาการข้างเคียงน้อยลงและไม่ต้องมาโรงพยาบาลบ่อย ๆ  

การออกกำลังกายสำหรับผู้ป่วยโรคกระดูกพรุน

การออกกำลังกายเป็นประจำช่วยเพิ่มมวลกระดูก โดยเฉพาะการออกกำลังกายแบบลงน้ำหนัก (weight-bearing exercise) เช่น จ็อกกิ้ง , วิ่ง

👉 การบริหารกล้ามเนื้อหลังส่วนบน นอนราบหมอนหนุนบริเวณเอว วางมือไว้ข้างลำตัว บริหารโดยยกศีรษะและหน้าอกขึ้น พร้อมดึงสะบักเข้าหากัน

👉 การบริหารกล้ามเนื้อหน้าท้อง นอนราบ ตั้งเข่าขึ้น วางมือไว้ข้างลำตัว ยกศีรษะพร้อมกับเกร็งกล้ามเนื้อหน้าท้อง

👉 การบริหารกล้ามเนื้อหลังส่วนล่าง ยกเท้าข้างใดข้างหนึ่งให้เข่างอ ยกให้ต้นขาอยู่ในระนาบเดียวกับลำตัว

👉 การบริหารกล้ามเนื้อหลังส่วนบน ดึงแขนทั้งสองข้างมาทางด้านหลัง

👉 การบริหารกล้ามเนื้อหน้าท้อง นอนราบตั้งเข่าขึ้น เกร็งกล้ามเนื้อหน้าท้อง กดหลังแนบกับพื้น และยกสะโพกขึ้น


การดูแลและป้องกันการลุกลามของโรคกระดูกพรุนควรทำอย่างต่อเนื่องและมีวินัยในการดูแลสุขภาพเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในระยะยาว

🔹บทความสุขภาพ🔹
➮ สะดุดเวลาขยับนิ้ว ระวังโรคนิ้วล็อค 
➮ หมอนรองกระดูกคอทับเส้นประสาท โรคยอดฮิตในยุคสังคมก้มหน้า 
➮ นวัตกรรมใหม่ รักษาโรคหมอนรองกระดูกคอทับเส้นประสาท โดยการจี้หมอนรองกระดูกด้วยคลื่นวิทยุ 
➮ เทคนิคการผ่าตัด โรคกระดูกและข้อ 




สอบถามรายละเอียดข้อมูลเพิ่มเติม
แผนกศัลยกรรม กระดูกและข้อ โรงพยาบาลเปาโล เกษตร
โทร. 02 1500 900 ต่อ 5114

Facebook : โรงพยาบาลเปาโล เกษตร
Line official account : Paolo Hospital Kaset
Line ID : @paolokaset