ข้อไหล่ติด
โรงพยาบาลเปาโล พหลโยธิน
22-มี.ค.-2565
ข้อไหล่ เป็นข้อต่อหนึ่งที่เคลื่อนไหวในทิศทางต่างๆ ได้มาก มีการใช้บ่อยครั้ง อาการข้อไหล่ติดพบมากในผู้ที่มีอายุมากกว่า 40 ปี ข้อไหล่ติดเกิดได้จาก 2 สาเหตุ ได้แก่ อุบัติเหตุ มีการบาดเจ็บของกระดูกเนื้อเยื่อบริเวณข้อไหล่หลังจากการผ่าตัด และเกิดได้โดยไม่มีสาเหตุแน่ชัด

การวินิจฉัยข้อไหล่ติด แพทย์จะซักประวัติ พิจารณาจากการเคลื่อนไหวข้อไหล่ การเอกซเรย์ หรือ การตรวจเพิ่มเติมด้วยเครื่อง MRI เพื่อช่วยวินิจฉัยอาการของโรค อีกทั้ง ยังช่วยหาสาเหตุเกี่ยวกับการเกิดโรคได้ด้วยอาการที่สำคัญของข้อไหล่ติด คือ เมื่อเคลื่อนไหวข้อไหล่จะมีอาการปวด ในช่วงระยะแรกจะมีการอักเสบและปวดข้อไหล่มากหากขยับไหล่ และอาการจะทุเลาลงการดำเนินโรคสามารถจัดได้ 3 ระดับ
ระยะที่ 1 มีการอักเสบ ปวด บวม แดง ร้อน อย่างชัดเจน ข้อไหล่จะติดมากในช่วงที่มีการเคลื่อนไหว
ระยะที่ 2 อาการปวดบรรเทาลง มีการติดของข้อไหล่มากขึ้น โดยเฉพาะถ้าเอามือไขว้หลัง
ระยะที่ 3 ฟื้นตัว ขยับได้ดีขึ้น


แนวทางการรักษา

การรักษาด้วยยา เรียกได้ว่าเป็นการรักษาในลำดับแรกที่แพทย์เลือกใช้เพื่อช่วยลดอาการปวด อักเสบของข้อไหล่ และต้องควบคู่ไปกับการทำกายภาพบำบัด กลุ่มยาที่ใช้โดยส่วนใหญ่ ได้แก่ ยาต้านการอักเสบ สเตียรอยด์ ยาลดปวดอื่นๆ ส่วนการทำกายภาพบำบัด การเลือกวิธีในการรักษาจะพิจารณาจากระยะของโรคเป็นหลัก เช่น การทำอัลตราซาวด์ รักษาด้วยความร้อน ความเย็น การดัดดึง และสำหรับการผ่าตัดปัจจุบันนิยมใช้วิธีการผ่าตัดส่องกล้องเพื่อใส่เครื่องมือผ่าตัดที่ข้อไหล่ จึงทำให้การพักฟื้นสั้น แผลมีขนาดเล็ก เนื้อเยื่อบาดเจ็บน้อยกว่าผ่าตัดเปิดแผลแบบมาตรฐาน

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม
โรงพยาบาลเปาโล พหลโยธิน โทร. 1772 ต่อ สถาบันกระดูกและข้อ