การรักษา
การรักษาทางยา มียาหลายชนิดที่ใช้รักษาโรคกระดูกบาง โดยเฉพาะหญิงวัยทอง กลุ่มยาที่ใช้รักษาโรคกระดูกพรุน ได้แก่
- ฮอร์โมนเอสโตรเจน มักให้ในกลุ่มผู้ป่วยตัดรังไข่ หรือ เพื่อลดอาการจากการหมดประจำเดือน
- SWEMs (selective estrogen receptor modulators) เป็นยาที่สังเคราะห์ขึ้นคล้ายฮอร์โมนเอสโตรเจน ซึ่งถูกพัฒนาขึ้นเพื่อลดอุบัติการณ์ของการเกิดมะเร็งเต้านม สามารถลดการสูญเสียมวลกระดูก และลดอุบัติการณ์ของกระดูกเปราะหักได้
- แคสซิโนติน (Calcitonin) เป็นฮอร์โมนธรรมชาติที่สกัดจากปลาแซลมอน ช่วยป้องกันการสูญเสียมวลกระดูก และลดอุบัติการณ์กระดูกสันหลังหัก มีฤทธิ์บรรเทาอาการปวดได้
- บิสฟอสพอเนต (Bisphoshonates) เป็นยาที่ออกฤทธิ์ยับยั้งการสลายกระดูก ช่วยลดความเสี่ยงต่อกระดูกสันหลังหักยุบ และกระดูกสะโพกหักได้
- ฮอร์โมนพาราไธรอยด์ ในผู้ป่วยที่กระดูกพรุนรุนแรง หรือไม่ตอบสนองต่อยากลุ่มอื่น
การรักษาโดยการผ่าตัด เพื่อแก้ไขภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นจากภาวะกระดูกหัก เช่น การฉีดซีเมนต์ที่กระดูกสันหลัง ในรายที่กระดูกสันหลังหัก ยุบ หรือการผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียมในรายที่กระดูกสะโพกหัก สิ่งที่จะทำให้ทราบได้ว่ากระดูกมีการเสื่อมสภาพหรือไม่ ทำได้โดยการปรึกษาแพทย์เพื่อซักประวัติ เอกซเรย์ ตรวจวัดความหนาแน่นของกระดูก และหากพบความผิดปกติ ควรรีบปรึกษาแพทย์เพื่อรับคำแนะนำในการดูแลที่ถูกต้อง
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม
โรงพยาบาลเปาโล พหลโยธิน โทร. 0-2271-7000 ต่อ กระดูกและข้อ