การขูดหินปูน
เป็นการขจัดคราบจุลินทรีย์ และคราบหินน้ำลายที่เกาะบนผิวฟัน เพื่อกำจัดการสะสมของเชื้อโรคสะสมในช่องปาก ส่งเสริมสุขภาพของเนื้อเยื่อปริทันต์ลดการอักเสบของเหงือก และลดกลิ่นปากที่ไม่พึงประสงค์ ทำให้เพิ่มความมั่นใจ และเพิ่มความเชื่อมั่นในบุคลิกภาพ
.jpg)
อาการที่เตือนว่าถึงเวลามาพบทันตแพทย์เพื่อมาขูดหินปูน คือ พบคราบหินน้ำลายสะสมบริเวณฟันหน้าด้านใน หรือมีลมหายใจที่ไม่พึงประสงค์แต่ถ้าสภาพช่องปากของผู้ป่วยมีคราบหินปูนในปริมาณเยอะมากซึ่งอาจเป็นภาวะของโรคปริทันต์อักเสบ การขูดหินปูนเพียงอย่างเดียวอาจไม่เพียงพอควรปรึกษาทันตแทพย์ที่เชี่ยวชาญทางด้านปริทันต์ (Periodontist) เพื่อทำการเกลารากฟันบริเวณที่มีคราบหินปูนในตำแหน่งที่ลึกมากของร่องปริทันต์ และทำการรักษาอย่างเหมาะสม
ขั้นตอนการขูดหินปูน
- ทันตแพทย์จะใช้เครื่องมือที่ผ่านการฆ่าเชื้อปราศจากเชื้อ ขูดหินปูน เครื่องมือจะใช้แรงสั่นสะเทือนไปกระเทาะคราบหินปูน และคราบรอยเลอะออกจากผิวฟันทุกซอก รวมถึงบริเวณใต้เหงือกอาจมีอาการเสียวฟันบ้างระหว่างขูด หากรู้สึกกลัวหรืออยากพักสามารถแจ้งทันตแพทย์ได้
- หลังจากขูดหินปูนแล้ว ทันตแพทย์จะใช้เครื่องมือเกลารากฟันกำจัดหินปูนที่อยู่บริเวณด้านประชิด และทำการขัดด้วยผงขัดฟัน ซึ่งจะกำจัดพวกคราบจุลินทรีย์ที่เกาะแน่นบนผิวฟันออก เพื่อลดการเกาะของคราบที่จะเกิดขึ้นใหม่
- ในขั้นตอนการขูดหินปูนจะมีเสียงดังของเครื่องมือ และมีละอองน้ำพ่นออกมา น้ำที่ออกมาเยอะจะช่วยลดความร้อนจากตัวเครื่อง ช่วยชำระคราบบนผิวฟัน
การดูแลหลังการขูดหินปูน
ควรมาพบทันตแพทย์อย่างน้อย 2 ครั้งต่อปี (ทุก 6 เดือน) และปฎิบัติตามขั้นตอนการดูแลสุขภาพช่องปาก
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม
โรงพยาบาลเปาโล พหลโยธิน โทร. 1772 ต่อ ทันตกรรมและรากเทียมดิจิตอล