title
หนึ่งในสาเหตุใหญ่ของอาการข้อเสื่อมคือ มีน้ำหนักตัวเกิน หรืออ้วน เพราะยิ่งน้ำหนักตัวมากเท่าไร ข้อต่างๆ ในร่างกายก็ยิ่งต้องรับภาระมากเท่านั้น โดยเฉพาะข้อเข่า สะโพก และหลัง ที่เป็นกำลังหลักในการรับน้ำหนักของร่างกาย การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และการควบคุมน้ำหนักจึงเป็นสิ่งสำคัญ

โดยเฉพาะการออกกำลังกายแบบแอโรบิคที่ช่วยเผาผลาญพลังงานได้เป็นอย่างดี แต่หากผู้ป่วยกังวลว่าการออกกำลังกายจะเป็นอันตรายต่อข้อกระดูก ก็ควรเลือกประเภทของการออกกำลังกายที่ข้อไม่ต้องแบกรับภาระมากนัก เช่น ว่ายน้ำ การเดินในน้ำ เดิน หรือปั่นจักรยาน
เช็คน้ำหนักตัว แบบไหนเรียกเกินเกณฑ์ !!
เปรียบเทียบค่าดัชนีมวลกาย Body Mass Index,BMI)จากสูตร
= น้ำหนักตัว (กิโลกรัม)
ส่วนสูง (เมตร) ยกกำลัง
ค่าดัชนีมวลกาย |
แปลผล |
น้อยกว่า 18.5 |
ผอม |
18.5-22.9 |
สมส่วน |
23.0-24.9 |
น้ำหนักเกิน |
25.0-29.9 |
อ้วน |
มากกกว่าหรือเท่ากับ 30 |
อ้วนรุนแรง |
ตัวอย่างเกณฑ์น้ำหนักตัวเมื่อคำนวณตามดัชนีมวลกาย จำแนกตามความสูง
ส่วนสูง
(เมตร)
| น้ำหนักตัว (กิโลกรัม) |
น้ำหนักปกติ | น้ำหนักตัวเกิน | อ้วน |
1.50 | 41.6-51.5 | 51.6-56 | มากกว่า 56 |
1.55 | 44.4-55.0 | 55.1-59.8 | มากกว่า 59.8 |
1.60 | 47.3-58.6 | 58.7-63.7 | มากกว่า63.7 |
1.65 | 50.4-62.3 | 62.4-67.8 | มากกว่า67.8 |
1.70 | 53.5-66.2 | 66.3-72.0 | มากกว่า72 |
1.75 | 56.7-70.1 | 70.2-76.3 | มากกว่า76.3 |
จากการศึกษาพบว่าในรายที่น้ำหนักตัวเกิน เมื่อน้ำหนักลดลงจะทำให้ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคข้อเข่าเสื่อมลดลง
ได้ถึงร้อยละ 50 เมื่อน้ำหนักตัวเกินควรลดน้ำหนัก หรือควบคุมไม่ให้เพิ่มขึ้น เพราะน้ำหนักตัวที่มากจะเพิ่ม แรงกดหรือกระแทกบนข้อต่อในการทำอิริยาบถที่เคลื่อนไหว ไม่ว่าจะตอนยืน เดิน ข้อเข่าจะต้องรับน้ำหนัก 2-3 เท่าของน้ำหนักตัว

อย่างไรก็ตาม การลดน้ำหนักไม่ใช่เรื่องง่าย ต้องอาศัยกำลังใจ และวินัยในการควบคุมน้ำหนักตัวเอง ความเข้าใจในเรื่องโภชนาการ และการออกกำลังกายที่ถูกต้อง หากลดน้ำหนักได้เพียงเล็กน้อยก็จะช่วยลดอาการปวดข้อได้
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม
โรงพยาบาลเปาโล พหลโยธิน โทร. 1772 ต่อ คลินิกลดน้ำหนัก Weight wellness clinic
เปิดให้บริการทุกวัน เวลา 09:00 - 17:00 น.