ช่วงเวลาของการตั้งครรภ์เป็นช่วงเวลาที่ร่างกายมีการเปลี่ยนแปลง รวมไปถึงจิตใจ และอารมณ์ของตัวคุณแม่ การเอาใจใส่เรื่องของอาหารจึงเป็นสิ่งสำคัญ อาหารประเภทใด ควรหรือไม่ควรรับประทาน รวมถึงปริมาณที่ควรจะรับประทานในแต่ละมื้อต้องคำนึงถึงความสดใหม่ สุก สะอาด อยู่เสมอ รสชาดไม่จัดเกินไป อย่างไรก็ตาม คุณแม่ควรรับประทานอาหารให้หลากหลายในแต่ละมื้อให้ครบทั้ง 5 หมู่ เพื่อให้ได้คุณค่าสารอาหารที่จำเป็น อาทิ
การที่ทารกได้รับสารอาหารอย่างเพียงพอและเหมาะสมขณะที่อยู่ในครรรภ์ มีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตของร่างกายและพัฒนาการที่สมบูรณ์ของอวัยวะที่สำคัญต่างๆ ทั้งทางสมอง และระบบประสาท พัฒนาการที่สมบูรณ์จะส่งผลต่อการเรียนรู้อย่างเหมาะสมกับการเจริญเติบโตในแต่ละช่วงวัยของร่างกาย
อาหารที่คุณแม่ตั้งครรภ์ควรหลีกเลี่ยง คือ อาหารที่มีรสจัดเกินไป อาทิ เปรี้ยว หวาน มัน โดยเฉพาะอาหารที่มีรสเผ็ดมากๆ ซึ่งจะทำให้คุณแม่มีอาการท้องเสีย แสบท้อง และลูกน้อยไม่สบายตัว ที่สำคัญอาจเสี่ยงต่อการแท้งได้
สำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ ที่หิวบ่อย แล้ววิตกกังวลว่าน้ำหนักจะขึ้นเกินมาตรฐาน (น้ำหนักในระหว่างตั้งครรภ์ที่เหมาะสม องค์การอนามัยโลกได้เสนอแนะควรมีน้ำหนักตัวเพิ่มโดยเฉลี่ย 10-12 กิโลกรัม) หรือไม่นั้น วิธีการควบคุมทำได้ไม่ยาก แค่รับประทานอาหารน้อยๆ แต่บ่อยครั้งเลือกรับประทานอาหารจำพวกผัก และเพิ่มโปรตีน เช่น นมไม่มีไขมันในระหว่างมื้อ ผักใบเขียว ดอกบล็อกโคลี ดอกกระหล่ำปลี สามารถรับประทานเพิ่มได้แต่สิ่งที่สำคัญ คือระมัดระวังเรื่องของน้ำมันที่นำมาปรุงอาหาร น้ำมันที่ควรจะได้ในแต่ละวันอยู่ที่ 1ช้อนโต๊ะเท่านั้น ถ้าคุณแม่รับประทานของทอดเยอะ หรือแม้กระทั่งของหวาน ควรลดปริมาณลง และออกกำลังกายบ้าง