ภาวะมีบุตรยาก
โรงพยาบาลเปาโล พหลโยธิน
26-เม.ย.-2564
     ในปัจจุบันนี้ปัจจัยที่ทำให้แต่ละครอบครัวมีบุตรยาก คือการแต่งงานช้าลง หรือพร้อมที่จะมีลูกเมื่อมีอายุที่มากขึ้นโดยเฉพาะผู้หญิงที่อายุเกิน 35 ปี กลุ่มนี้จะมีบุตรได้ยากขึ้น เนื่องจากปัจจัยหลายๆ อย่างเช่น คุณภาพ และปริมาณไข่ในรังไข่ที่ลดลงตามอายุที่มากขึ้น นอกจากนั้นปัจจัยอื่นๆ ด้านสุขภาพ ปัจจัยด้านพฤติกรรม เช่น ดื่มแอลกอฮอล์
สูบบุหรี่จัด ความเครียด ล้วนแล้วแต่เป็นปัญหาของการมีบุตรยาก
     ภาวะมีบุตรยาก คือการที่คู่สมรสแต่งงานกันมา 1 ปี และมีเพศสัมพันธ์สม่ำเสมอ 3 - 4 ครั้ง ต่อสัปดาห์ โดยไม่มีการคุมกำเนิดแล้วไม่มีการตั้งครรภ์เกิดขึ้นในหญิงที่อายุ 35 ปีหรือมากกว่า 35 ปี เราให้เวลาแค่ 6 เดือน เท่านั้น แสดงว่ามีปัญหาของการมีบุตรยาก แต่หากคู่สมรสมีความกังวลต้องการจะมีบุตร สามารถปรึกษาแพทย์โดยไม่ต้องรอถึง 1 ปี โดยเฉพาะหญิงที่อายุมากกว่า 35 ปี ไม่ควรปล่อยเวลาให้ผ่านไปนาน เพราะอายุที่มากขึ้น มีผลต่ออัตราความสำเร็จ ควรมาพบแพทย์เพื่อวางแผนการรักษาที่เหมาะสม เพื่อเพิ่มความสมบูรณ์ให้กับคำว่าครอบครัวด้วย
“ ลูกน้อยน่ารักของคุณ ”

การรักษาภาวะมีบุตรยาก
     สาเหตุของภาวะมีบุตรยาก พบว่าเกิดจากฝ่ายหญิง ประมาณ ร้อยละ 30 - 40 ฝ่ายชาย ร้อยละ 30 - 40 ประมาณร้อยละ 10 - 20 พบปัญหาทั้งสองฝ่ายพร้อมกัน นอกจากนั้น ร้อยละ 10 - 20 ยังเป็นกลุ่มที่ไม่ทราบสาเหตุ
     ขั้นแรกควรเข้ามาพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับภาวะการมีบุตรยากเพื่อหาสาเหตุ โดยแพทย์จะทำการซักประวัติต่างๆ ที่เกี่ยวข้องของคู่สมรส และทำการตรวจประเมินความผิดปกติของมดลูก รังไข่ของฝ่ายหญิง ด้วยการทำอัลตร้าซาวด์ ส่วนฝ่ายชายตรวจเพียงคุณภาพของอสุจิเท่านั้น ในเวลาเพียง 1 - 2 ชั่วโมง เราก็จะทราบผลรวมถึงวิธีการ และขั้นตอนต่างๆ ในการรักษาโดยละเอียด

ขั้นตอนในการรักษาเป็นอย่างไร
    หลังจากตรวจหาสาเหตุโดยละเอียดแล้วหากพบสาเหตุ ก็จะทำการรักษาที่สาเหตุหนักก่อน แต่หากไม่ทราบสาเหตุ หมายถึงผลการตรวจของคู่สมรสอยู่ในเกณฑ์ปกติ แพทย์มักจะแนะนำขั้นตอนการรักษาดังนี้คือ
          • ให้มีเพศสัมพันธ์เองโดยใช้ชุดตรวจการตกไข่ เพื่อกำหนดวันตกไข่ที่ชัดเจน และแม่นยำ
          • การฉีดอสุจิเข้าโพรงมดลูกเพื่อผสมเทียม (Intrauterine Insemination: IUI) วิธีนี้ค่อนข้างง่ายซึ่งจะมีโอกาสได้ตัวอ่อนประมาณร้อยละ 15 - 20 เพียงแค่กระตุ้นรังไข่เบาๆให้ได้ไข่ที่โตได้ประมาน 2 - 3 ใบ โดยใช้ยากระตุ้นรังไข่โดยวิธีกินหรือฉีด
          • การทำเด็กหลอดแก้ว (In Vitro Fertilization: IVF) ซึ่งเป็นวิธีการรักษาภาวะมีบุตรยากที่มีโอกาสตั้งครรภ์สูงที่สุดคือ 40 - 50% โดยเฉลี่ย

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม
โรงพยาบาลเปาโล พหลโยธิน โทร. 0-2271-7000 ต่อ สุขภาพสตรี