-
เช็กความผิดปกติของกระดูกสันหลังด้วยการทำ MRI
โรงพยาบาลเปาโลสมุทรปราการ
15-ก.พ.-2566
เช็กความผิดปกติของกระดูกสันหลังด้วยการทำ MRI
              ความผิดปกติเกี่ยวกับ “กระดูกสันหลัง” มีความเกี่ยวข้องกับหลากหลายโรค ซึ่งเกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย อาทิ โรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท โรคกระดูกพรุน รวมไปถึงจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น การยกของหนัก การนั่งหรือเอี้ยวตัวผิดวิธี ประสบอุบัติเหตุ ที่ส่งผลต่ออาการเจ็บปวด จนต้องเข้าพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัย ซึ่งนอกจาก แพทย์จะซักประวัติแล้ว การตรวจคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า( MRI ) เป็นอีกหนึ่งทางเลือกสำคัญที่แพทย์นำมาใช้ในการวินิจฉัย อาการ เพื่อยืนยันความผิดปกติที่เกิดขึ้นนั้นมาจากสาเหตุใด พร้อมเตรียมแผนการรักษาได้อย่างแม่นยำ และตรงจุด


6 อาการหลักที่บ่งบอกว่า จำเป็นต้องตรวจ MRI กระดูกสันหลัง
1. ปวดคอ รุนแรง ร้าวลงแขน
2. ปวดหลังเรื้อรัง แบบเป็นๆ หายๆ
3. ปวดหลังร้าวลงขา
4. แขนหรือขาอ่อนแรง
5. สมรรถภาพทางเพศลดลง
6. ควบคุมปัสสาวะ อุจจาระไม่ได้






ทำความรู้จักการตรวจคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI)
              การตรวจด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI : Magnetic Resonance Imaging) นับเป็นเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่เข้า มาช่วยในการวิเคราะห์และวินิจฉัย รักษาและติดตามผลการรักษาได้อย่างชัดเจน ด้วยการใช้สนามแม่เหล็กและคลื่นวิทยุความเข้มสูงจำเพาะ(Radio Frequency)เข้าไปกระตุ้นและมีการเปลี่ยนแปลงระดับพลังให้เป็นสัญญาณภาพ สร้างภาพเหมือนจริงของอวัยวะภายในต่างๆ ของร่างกาย โดยเฉพาะกระดูก กล้ามเนื้อ จากความละเอียดและความคมชัดสูงที่ สามารถให้ภาพที่แยกความแตกต่างระหว่างเนื้อเยื่อได้อย่างชัดเจน ทำให้แพทย์เห็นความผิดปกติทางกายวิภาคและสรีรวิทยาของร่างกาย จึงวินิจฉัยโรคได้แม่นยำมากยิ่งขึ้น




ข้อดีของการตรวจกระดูกสันหลังด้วย MRI

              เมื่อผู้ป่วยมีอาการปวดหลังเรื้อรัง เป็นๆ หายๆ การตรวจด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า MRI สามารถให้ภาพที่ชัดเจนแบบ 3 มิติ ทำให้เห็นถึงเส้นประสาทไขสันหลัง เส้นประสาทในร่างกาย กล้ามเนื้อ เส้นเลือดได้ ไขสันหลังโรคต่างๆ ที่เกิดขึ้นที่กระดูกสันหลัง เช่น กระดูกสันหลังหักยุบ หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท เนื้องอกบริเวณกระดูกสันหลัง ภาวการณ์ติดเชื้อ เป็นต้น โดยไม่ต้องเสี่ยงกับการฉีดสารทึบรังสี วิธีการตรวจนี้ไม่ก่อให้เกิดความเจ็บปวดใดๆ แก่ร่างกาย และไม่มีอันตรายจากรังสีตกค้าง อีกทั้งยังใช้ระยะเวลาตรวจสั้น (ตรวจขึ้นอยู่กับอวัยวะที่จะตรวจเฉลี่ยประมาณ 30 – 40 นาที)จึงพบความผิดปกติได้อย่างรวดเร็ว แพทย์ผู้ทำการตรวจจึงสามารถวางแผนการรักษาโรคต่อไปได้ทันท่วงที

การเตรียมตัวตรวจ MRI กระดูกสันหลัง

              โดยทั่วไปแล้วเจ้าหน้าที่พยาบาลจะเข้ามาให้ข้อมูลการเตรียมตัวทั้งร่างกายและจิตใจ พร้อมตรวจสอบชื่อ นามสกุล วันเดือนปีเกิด ผู้ป่วยว่าตรงกับใบส่งตรวจหรือไม่ ตรวจที่ส่วนใด เพื่อป้องการตรวจผิดคน ผิดตำแหน่ง โดยผู้ป่วยไม่จำเป็นต้องงดอาหารและน้ำ เนื่องจากตรวจบริเวณกระดูกสันหลัง ซึ่งมีความแตกต่างไปจากผู้ป่วยที่ทำ MRI บริเวณช่องท้อง แต่ผู้ป่วยจำเป็นต้องปฏิบัติตัวดังนี้

  • ควรงดใช้เครื่องแต่งหน้าบางชนิดก่อนตรวจ โดยเฉพาะอายชาโดว์ และมาสคาร่า เพราะอาจมีส่วนผสมของโลหะ ทำให้เกิดเป็นสิ่งแปลกปลอมในภาพได้ต้องนำโลหะต่างๆ ออกจากตัว เช่น ต่างหู เครื่องประดับ การทำ MRI ตรวจในช่วงบริเวณ สมองถึงกระดูกคอควรต้องถอดเอาเหล็กดัดฟัน ฟันปลอม ออกก่อน เพราะจะมีผลต่อความชัดของภาพ
  • ต้องไม่มีอุปกรณ์ที่มีส่วนผสมของโลหะในร่างกาย เช่น มีการผ่าตัดใส่เครื่องกระตุ้นและควบคุมการเต้นของหัวใจ ,การผ่าตัดใส่อวัยวะเทียมต่างๆ ก่อนหน้านี้
  • ในกรณีผู้ป่วยกลัวที่แคบ ไม่สามารถนอนในอุโมงค์ตรวจได้ แพทย์อาจพิจารณาการตรวจวิธีอื่นที่เหมาะสมหรือ จำเป็นต้องได้รับยาระงับความรู้สึก หรือดมยาสลบขณะตรวจ ซึ่งจำเป็นต้องรับผู้ป่วยไว้ในโรงพยาบาลก่อนตรวจอย่างน้อย 1 วัน พร้อมทั้ง งดอาการ น้ำดื่ม อย่างน้อย 4-6 ชั่วโมงก่อนตรวจ




ขั้นตอนการเข้ารับการตรวจ MRI กระดูกสันหลัง
              ผู้รับการตรวจนอนสบายๆ นิ่งๆ บนเตียงตรวจ และทำตามเสียงที่บอก เช่น ให้หายใจเข้าแล้วกลั้นใจ หรือว่าอย่ากลืนน้ำลาย เมื่อเคลื่อนไปยังศูนย์กลางของสนามแม่เหล็กแล้ว อาจจะรู้สึกสั่นสะเทือนและไถลเล็กน้อยระหว่างที่มีการถ่ายภาพ

การปฎิบัติหลังการตรวจ MRI กระดูกสันหลัง
              ผู้ป่วยควรสังเกตอาการผิดปกติของตนเอง เช่น มีผื่นลมพิษตามตัวหรือไม่ มีอาการแน่นหน้าอก หายใจลำบาก หรือไม่ หากรู้สึกถึงความผิดปกติควรรีบบอกเจ้าหน้าที่ หากไม่มีภาวะผิดปกติ ผู้ป่วยสามารถรับประทานอาหาร และทำกิจวัตรได้ตามปกติ





สอบถามรายละเอียดข้อมูลเพิ่มเติม
ศูนย์กระดูกและข้อ
โรงพยาบาลเปาโล สมุทรปราการ 
โทร.02 3632 000 ต่อ 2130-2131

รับข่าวสารและกิจกรรมทางสุขภาพดีๆได้ที่
Line official account : ศูนย์กระดูก PLS
Line ID : @ortho_paolo_pls

Facebook : Paolo Hospital Samutprakarn
Line official account : Paolo Hospital Samutprakarn