รู้หรือไม่ว่า !! ประเทศไทยมีผู้ป่วยโรคกระดูกพรุนมากกว่า 2 ล้านคน ทุกๆ 3 วินาที จะมีคนกระดูกหัก โรคกระดูกพรุนทำให้พิการและเสียชีวิต 1/5 เสียชีวิตในปีแรกหลังจากกระดูกสะโพกหัก 1/3 พิการถาวร ต้องการคนดูแล
หลายโรคที่ทำให้เราเจ็บป่วย เราสามารถรู้ได้ล่วงหน้า จากอาการและสัญญาณต่างๆ จึงทำให้รีบรักษาและหายขาดได้ แต่สำหรับ “กระดูกพรุน” คือภัยเงียบอย่างแท้จริงที่รุกคืบคุณมานานปีโดยที่คุณมิอาจรู้ตัวมาก่อน จนวันหนึ่งเกิดกระดูกหักเพียงเพราะสาเหตุเล็กน้อย!
โรคกระดูกพรุนคืออะไร?
โรคกระดูกพรุนเป็นโรคที่มีความแข็งแกร่งของกระดูก (bone strength)ลดลง ส่งผลให้เพิ่มความเสี่ยงต่อกระดูกหัก ความแข็งแกร่งของกระดูกในนิยามนี้ ประกอบด้วย 2 ส่วนหลักคือ ความหนาแน่นของกระดูก (bone density) และคุณภาพของกระดูก (bone quality)
อาการแสดงของโรคกระดูกพรุนโดยทั่วไปอาการแสดงของผู้ป่วยโรคกระดูกพรุนมักจะมี 2 ระยะคือ
- ในระยะเริ่มต้นที่มวลกระดูกเริ่มลดลงเรื่อยๆ ผู้ป่วยมักจะไม่มีอาการอะไรเลย ส่วนใหญ่มักจะเริ่มต้นในผู้หญิงที่เริ่มหมดประจำเดือน และมีปัจจัยเสี่ยง ช่วงนี้สามารถตรวจสอบได้จากการวัดความหนาแน่นของมวลกระดูกเท่านั้น
- ในระยะที่กระดูกพรุนชนิดรุนแรง คือ มีกระดูกโปร่งบางมาก ร่วมกับมีกระดูกสันหลังหักยุบ หรือการเกิดกระดูกสะโพกหัก ซึ่งผู้ป่วยมักจะมีอาการปวดหลัง หลังโก่งค่อม และสังเกตได้ว่าส่วนสูงของผู้ป่วยลดลงในบางครั้งอาการปวดหลังอาจจะร้าวมาที่บริเวณหน้าอก หลังโก่ง ทานข้าวได้น้อยลง อืดท้องแน่นท้อง มักจะพบได้ในผู้ป่วยที่มีอายุมากกว่า 65 ปีขึ้นไป บางครั้งอาจเกิด กระดูกหักที่ตำแหน่งบริเวณข้อมือ กระดูกหักง่าย ปวดเมื่อยตามร่างกาย
อาการแสดงของโรคกระดูกพรุน
1. มีกระดูกหักจากอุบัติเหตุเพียงเล็กน้อย
2. ปวดกระดูก
3. หลังโก่งหรือตัวเตี้ยลง
ทำความรู้ 4 ปัจจัยเสี่ยง
โรคกระดูกพรุนปัจจัยที่ไม่สามารถป้องกันหรือแก้ไขได้
1.ความชรา
2.สตรีภายหลังหมดประจำเดือนหรือประจำเดือนหมดก่อนอายุ 45 ปี
3.ผ่าตัดรังไข่ออก
4.กรรมพันธุ์
อย่างไรก็ตาม ยังมีปัจจัยเสี่ยงโรคกระดูกพรุนที่สามารถป้องกันได้เช่นกัน คือ
1.มีรูปร่างผอม
2.ได้รับอาหารไม่เพียงพอ
3.ดื่มสุราหรือสูบบุหรี่จัด
4.ไม่ชอบออกกาลังกาย
5.ได้รับยากลุ่ม สเตอรอยด์ และโรคต่างๆ
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม
โรงพยาบาลเปาโล พหลโยธิน ศูนย์กระดูกและข้อ อาคาร 4 ชั้น 1
โทร.0-2271-7000 ต่อ กระดูกและข้อ