ตรวจมวลกระดูก...เพื่อค้นหาความเสี่ยงของ “ภาวะกระดูกพรุน”
การตรวจหาความหนาแน่นของมวลกระดูก เป็นการวัดความหนาแน่นของมวลกระดูกทั้งร่างกาย ซึ่งสามารถเลือกตรวจได้หลายจุด เช่น กระดูกบริเวณมือข้อมือ (Hand & Wrists) กระดูกสะโพก (Hip) และกระดูกสันหลัง (Spine) เพื่อให้รู้ถึงต้นเหตุที่ทำให้เกิดการสูญเสียมวลกระดูก ภาวะเสี่ยงของโรคกระดูกบางและโรคกระดูกพรุน ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้กระดูกเปราะและแตกหักง่าย เพื่อหาทางป้องกันพร้อมเสริมสร้างความแข็งแรงของกระดูกผู้ป่วยที่กระดูกหักนอกจากทำให้เกิดความเจ็บปวด ช่วยเหลือตนเองลำบากแล้ว ยังมีโอกาสที่กระดูกจะหักซ้ำได้อีก บางรายเกิดอาการปวดเรื้อรังหรือรุนแรงถึงขั้นทุพพลภาพ หรือเสียชีวิตได้
ใคร? คือ คนที่ควรตรวจความหนาแน่นกระดูก
- สตรีวัยหมดประจำเดือนทุกราย
- ผู้สูงวัยที่มีอายุมากกว่า 65 ปีขึ้นไป
- ผู้มีปัจจัยเสี่ยงต่อภาวะกระดูกพรุน เช่น สูบบุหรี่ รับประทานยา หรือฉีดสเตียรอยด์ (Steroid) เป็นระยะเวลานาน
- ผู้ที่มีรูปร่างผอมมากๆ
- ผู้ที่มีประวัติครอบครัวเป็นโรคกระดูกพรุน
- ผู้ที่ไม่ได้ออกกำลังกาย
การตรวจความหนาแน่นมวลกระดูก...ช่วยชะลอการสูญเสียมวลกระดูก
เมื่อท่านเข้ารับการตรวจแล้ว แพทย์จะทราบสาเหตุที่ทำให้เกิดการสูญเสียมวลกระดูก และสามารถวางแผนการรักษา หรือชะลอการสูญเสียมวลกระดูกลงได้ ทั้งนี้โรคกระดูกพรุนส่วนใหญ่มีโอกาสหายหรืออาการดีขึ้นได้มาก ถ้าสามารถตรวจพบและให้การรักษาตั้งแต่ระยะแรกๆ จะทำให้ความหนาแน่นมวลกระดูกเพิ่มขึ้น ลดความเสี่ยงของการเกิดกระดูกหัก และยังสามารถลดความเสี่ยงจากการหกล้มได้ด้วย
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม
โรงพยาบาลเปาโล พหลโยธิน โทร. 1772 ต่อ สถาบันกระดูกและข้อ
