ลดความอ้วนไม่ได้เสียที ต้องลองวิธีนี้ ...นวัตกรรมใหม่ตัวช่วยลดน้ำหนัก
...การส่องกล้องใส่บอลลูนในกระเพาะอาหาร Gastric Balloon
โรคอ้วน เป็นปัจจัยที่ก่อให้เกิดความเสี่ยงผลเสียต่อสุขภาพ เพราะความอ้วน จะนำพาโรคร้ายต่างๆ มาสู่เราได้ อาทิ ไขมันในเลือดสูง, ความดันโลหิตสูง, โรคหัวใจและหลอดเลือด, โรคเบาหวาน, โรคข้อกระดูกเสื่อมเร็ว, อีกทั้ง โรคระบบทางเดินหายใจ เนื่องจากในคนอ้วนมักมีการเคลื่อนไหวน้อย ชอบนั่งหรือนอน ปอดจึงขยายตัวไม่เต็มที่ ทำให้เกิดการติดเชื้อของทางเดินหายใจได้มากขึ้น รวมไปถึงโรคมะเร็งบางชนิด ซึ่งจากสถิติพบว่าคนอ้วนมีอัตราการเสี่ยงต่อการเป็นโรคต่างๆ รวมทั้งโรคมะเร็งได้มากกว่าคนทั่วไป
แม้โรคอ้วนจะเป็นโรคที่ไม่มีใครอยากเป็น แต่การพยายามลดน้ำหนัก ควบคุมอาหาร ลดอัตราความหิว ไม่ใช่เรื่องง่าย ดังนั้นในรายที่ไม่สามารถควบคุมอาหารหรือลดน้ำหนักได้ด้วยตัวเอง จึงต้องพึ่งพาตัวช่วย แต่การรับประทานยาลดน้ำหนักก็ไม่ใช่วิธีที่ถูกต้องอีกทั้งยังก่อให้เกิดผลข้างเคียงต่อภาวะสุขภาพตามมา
“โรคอ้วน คนส่วนใหญ่อาจมองเพียงแค่ประเด็นความงามจากบุคลิกภาพภายนอก
แต่มักละเลยว่าโรคอ้วนเป็นปัจจัยสำคัญที่ก่อให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพหลายด้าน”
พญ.จันทร์รุ่ง สิทธิพงศ์
อายุรแพทย์โรคระบบทางเดินอาหารและตับ
โรงพยาบาลเปาโล พหลโยธิน
ในปัจจุบันมีเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่ถูกพัฒนาขึ้นอย่าง “Gastric Balloon” ถือเป็นการลดน้ำหนักโดยการส่องกล้องใส่บอลลูนในกระเพาะอาหาร เป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการรักษา ไม่ต้องทานยา ไม่ต้องเจ็บตัวจากการผ่าตัด
- สะดวก ไม่ต้องเข้ารับการผ่าตัด
- ไม่มีบาดแผล ลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ
- ลดน้ำหนักได้เฉลี่ย 15-20 กิโลกรัม

Gastric Balloon ลดน้ำหนักด้วยการส่องกล้องใส่บอลลูนในกระเพาะอาหาร
ปัจจุบันวิวัฒนาการทางการแพทย์ได้คิดค้นและพัฒนา นวัตกรรมที่เรียกว่า “Gastric Balloon” เพื่อช่วยควบคุมการบริโภคอาหารตามขีดจำกัดของพื้นที่ในกระเพาะอาหาร การทำบอลลูนในกระเพาะอาหารเป็นเทคนิคทางการแพทย์ที่ช่วยคนอ้วนที่ไม่สามารถควบคุมอาหารหรือลดน้ำหนักได้ด้วยตัวเอง โดยแพทย์จะนำบอลลูน ซึ่งทำจากซิลิโคนเข้าไปวางไว้ในกระเพาะอาหารด้วยวิธีส่องกล้อง ทั้งนี้ขั้นตอนเหมือนการส่องกล้องกระเพาะอาหารทั่วไป แต่ต้องให้ยานอนหลับขณะทำหัตถการ โดยแพทย์จะส่องกล้องใส่บอลลูนที่เป็นซิลิโคนเข้าไปในกระเพาะอาหาร หลังจากนั้นจะใส่น้ำที่ผสมกับสารสีฟ้า (Methylene Blue) เพื่อขยายบอลลูนให้มีขนาดใหญ่ขึ้น ซึ่งในแต่ละรายต้องคำนวณปริมาณสารน้ำอย่างเหมาะสม โดยแพทย์สามารถปรับขนาดเพิ่มหรือลดได้ตามความต้องการในภายหลัง หลังทำเสร็จนอนพักฟื้นเพียง 1 คืนก็กลับไปใช้ชีวิตได้ตามปกติ โดยส่วนใหญ่ระยะเวลาที่จะใส่บอลลูนค้างไว้ในกระเพาะอาหารใช้เวลาประมาณ 6 -12 เดือน
เมื่อกลับไปใช้ชีวิตประจำวัน ตัวบอลลูนจะเข้าไปแทนที่พื้นที่ในกระเพาะอาหาร การรับประทานอาหารได้น้อยลงตามขีดจำกัดของพื้นที่กระเพาะอาหารที่ยังว่างอยู่ ทำให้คนไข้รู้สึกอิ่มไว และรับประทานอาหารได้น้อยลง เมื่อปริมาณอาหารที่บริโภคต่อวันลดลง น้ำหนักตัวจึงค่อยๆ ลดตามไปด้วย ซึ่งแพทย์จะทำนัดตรวจติดตามและมีคำแนะนำในการปฏิบัติตัวอย่างต่อเนื่อง โดยเฉลี่ยน้ำหนักตัวจะลดลง 15-20 กิโลกรัม ภายใน 1 ปี
DID YOU KNOW !! เพื่อสุขภาพที่ดีอย่างยั่งยืน การลดความอ้วนที่ได้ผลที่สุด คือการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต ให้ความสำคัญในการทานอาหารที่เหมาะสมและออกกำลังกายอย่างต่อเนื่อง
8 คำถามคาใจ หากจะทำการส่องกล้องใส่บอลลูนในกระเพาะอาหาร
Q: การทำบอลลูนเหมาะกับใคร ?
A: แม้ว่าคุณจะเข้าข่ายของผู้ป่วยโรคอ้วน แต่การลดน้ำหนักด้วยวิธี Gastric Balloon ไม่ใช่ทุกคนที่จะทำได้ หากคุณอยู่ในกลุ่มเหล่านี้
- คุณแม่กำลังตั้งครรภ์
- อยู่ในระหว่างให้นมบุตรหรือวางแผนที่จะตั้งครรภ์
- ผู้ที่มีอาการแพ้ซิลิโคน
- ติดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์จนไม่สามารถเลิกได้
- มีโรคในระบบทางเดินอาหาร
- มีโรคประจำตัวบางชนิด เช่น โรคหัวใจ
- มีโรคปอดที่มีภาวะรุนแรงและยังควบคุมไม่ได้
- ผู้ป่วยโรคจิตเวชที่ยังไม่ได้รับการรักษา
- ผู้ที่มีโรคประจำตัวที่ต้องรักษาด้วยกลุ่มยาต้านเกล็ดเลือด ยาละลายลิ่มเลือด และยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่ สเตียรอยด์
* แพทย์จะไม่แนะนำให้ลดน้ำหนักด้วยวิธีใส่บอลลูน เนื่องจากอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนและผลข้างเคียงตามมา*
Q : บอลลูนจะอยู่ในกระเพาะนานแค่ไหน?
A: สามารถอยู่ได้ 1 ปี ในระหว่างนั้นแพทย์จะจ่ายยาทานให้เพื่อลดกรดในกระเพาะซึ่งอาจสร้างความเสียหายต่อบอลลูน
Q : น้ำหนักจะลดลงเท่าไร
A: ช่วง 3-4 เดือนแรกหลังจากใส่บอลลูนแล้วน้ำหนักจะลดได้เร็วหลังจากนั้นจึงค่อยๆ ลดซึ่งโดยเฉลี่ยการใส่บอลลูน 1 ครั้งน้ำหนักตัวจะลดลง15-20 กิโลกรัมหรืออย่างน้อย 10-15% ของน้ำหนักตัวเดิม
Q: เมื่อทำบอลลูนกระเพาะอาหาร สามารถทำกิจกรรมในชีวิตประจำวันได้ปกติหรือไม่
A: ไม่ควรใช้แรงมากในช่วงสัปดาห์แรก เมื่อร่างกายปรับตัวแล้ว สามารถใช้ชีวิตตามปกติ และควรออกกำลังกายเพื่อให้ลดน้ำหนักได้เร็วยิ่งขึ้น
Q: ข้อห้ามในการรับประทานอาหาร
A: ควรรับประทานอาหารครั้งละไม่มากจนเกินไป เนื่องจากการรับประทานมากอาจจะทำให้รู้สึกอึดอัดแน่นท้องได้
Q: มียาตัวใดบ้างที่ไม่ควรรับประทาน
A: ไม่ควรรับประทานยาแอสไพรินหรือยาแก้กล้ามเนื้ออักเสบ กลุ่ม NSAIDs เช่น Ibuprofen
Q: น้ำหนักตัวจะเพิ่มหรือไม่ หากถอดบอลลูนออกแล้ว
A: การทำบอลลูนจะช่วยในการจำกัดการรับประทานอาหาร หลังการถอดบอลลูนออก ควรรับประทานอาหารให้เหมาะสมและออกกำลังกายควบคู่ไปด้วย หากปฏิบัติตามอย่างมีวินัยและมาพบแพทย์ตามนัดเป็นประจำจะทำให้น้ำหนักตัวคงที่ ผู้เชี่ยวชาญเชื่อว่าการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกินหลังเอาบอลลูนออกจะส่งผลระยะยาว
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม โรงพยาบาลเปาโล พหลโยธิน
โทร. 0-2271-7000 ต่อ โรคระบบทางเดินอาหารและตับ