การเปลี่ยนแปลง
• น้ำหนักตัวเพิ่ม ควรเพิ่มเดือนละ 2 กก. รวม 6 กก.
• ปัสสาวะบ่อยขึ้น โดยเฉพาะช่วงใกล้คลอด ที่ศีรษะลูกเคลื่อนต่ำลง
• เหนื่อยง่าย นอนไม่หลับ หลับไม่สบาย อึดอัด จากภาวะที่มดลูกโตขึ้น
• ปวดหลัง จากสาเหตุน้ำหนักของมดลูก และตัวเด็กที่เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ทำให้คุณแม่ต้องแอ่นหลัง หรือเกร็งกล้ามเนื้อหลังมากกว่าปกติ ส่งผลให้ป็นภาระของกล้ามเนื้อส่วนต่างๆ
• ตะคริว เกิดจากกล้ามเนื้อขาต้องรับน้ำหนักเพิ่มขึ้นมากกว่าปกติ หรือจากการได้ปริมาณแคลเซียมไม่เพียงพอ
อะไรบ้างที่สำคัญ
1. อาหาร ควรเพิ่มอาหารประเภทโปรตีน เช่นเดียวกับไตรมาสที่ 2 เช่น เนื้อสัตว์ เนื้อปลา ผักใบเขียวชนิดต่างๆ และอาหารที่มีแคลเซียม เช่น ปลาตัวเล็กทานทั้งก้างได้ นมพร่องมันเนย
2. การฝากครรภ์ การนัดตรวจครรภ์จะบ่อยขึ้น ในไตรมาสนี้จะมีการตรวจปัสสาวะ เพื่อดูน้ำตาลและโปรตีน เช็คความดันโลหิต ติดตามอาการบวม เพื่อตรวจหาว่ามีภาวะครรภ์เป็นพิษ หรือไม่
3. การดูแลเต้านม ในระยะ 2 - 3 เดือนก่อนคลอด ร่างกายจะขับสารจำพวกไขมันมาคลุมบริเวณหัวนม และลานนม ดังนั้นการอาบน้ำชำระร่างกาย ไม่ควรฟอกสบู่บริเวณหัวนมมากนัก เพราะจะชะล้างไขมันบริเวณนั้นออกไปหมด ทำให้หัวนมแห้ง และแตกง่าย
ภาวะฉุกเฉิน และอาการสำคัญ ที่ต้องรีบมาโรงพยาบาล
• อาการท้องแข็ง หรือเจ็บครรภ์ ทุก 5 - 10 นาที
• มีมูกเลือด หรือเลือดสดๆ ออกทางช่องคลอด
• มีน้ำเดิน (น้ำใสๆ คล้ายปัสสาวะราด)
• ลูกดิ้นน้อยลง
• ปวดศีรษะ ตาพร่ามัว จุกแน่นลิ้นปี่ บวม
วิดีโอที่เกี่ยวข้อง
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม
โรงพยาบาลเปาโล พหลโยธิน โทร. 1772 ต่อ สุขภาพสตรี