ปพิชญา ลีลาไว

นักกิจกรรมบำบัด (Let's Talk)

วุฒิบัตร

นักกิจกรรมบำบัด
วัน เวลา
จันทร์ 09:00 - 16:00
อังคาร 09:00 - 16:00
พุธ 09:00 - 16:00
พฤหัสบดี 09:00 - 16:00
ศุกร์ 09:00 - 16:00


นักกิจกรรมบำบัด กับการช่วย
เติมเต็มทักษะที่หายไป
นักกิจกรรมบำบัด ผู้เชี่ยวชาญทักษะการใช้ชีวิต ที่ดูแลความสามารถของบุคคลทั้งร่างกายและจิตใจ โดยนำกระบวนการวิเคราะห์กิจกรรม และเครื่องมืออุปกรณ์ต่างๆ มาใช้ในการบำบัดรักษาคนไข้ เพื่อสร้างทักษะการทำกิจวัตรประจำวัน การแก้ไขปัญหา และพัฒนาทักษะการเข้าสังคม

วิเคราะห์ & เติมเต็ม ทักษะที่หายไป

หน้าที่ของกิจกรรมบำบัด คือ ตรวจประเมินทักษะความสามารถ ฟื้นฟูทักษะที่บกพร่อง และเสริมสร้างความสามารถที่จำเป็น เพื่อให้ผู้ป่วยกลับไปใช้ชีวิตได้ดีที่สุดเหมือนเดิม หรือดีกว่าเดิมตามความสามารถสูงสุด ผ่านการวิเคราะห์กิจกรรมให้เหมาะสมเฉพาะบุคคล รูปแบบกิจกรรมอาจเป็นแบบเดี่ยว หรือกลุ่มขึ้นอยู่กับทักษะที่หายไป

สำหรับผู้ป่วยจิตเวชซึ่งสังเกตความผิดปกติได้ยาก อาจดูจากการทำกิจวัตรประจำวัน การเรียน หรือการทำงาน หากทำแล้วเครียด มีความวิตกกังวลมากๆ จนไม่สามารถทำได้ตามปกติ การเข้ามาทำกิจกรรมที่ออกแบบเฉพาะรายบุคคล เพื่อฝึกทักษะที่ขาดหายไป จะช่วยให้กลับมาใช้ชีวิตได้เหมือนเดิม ถ้าเป็นกลุ่มคนวัยทำงานที่มีความเครียด เหมาะกับกิจกรรมที่ช่วยให้ผ่อนคลายมากขึ้น

โดยปกติการรักษาทางกิจกรรมบำบัด ควรพบแพทย์เพื่อประเมินอาการเบื้องต้น และรับการรักษาอย่างแบบองค์รวม เมื่ออาการคงที่ แพทย์จึงส่งปรึกษานักกิจกรรมบำบัดเพื่อเสริมทักษะให้สมบูรณ์ แต่หากมีอาการไม่รุนแรง ไม่มีความเสี่ยงที่จะเป็นอันตรายต่อเอง และผู้อื่น ก็สามารถเข้ารับการทำกิจกรรมบำบัดได้โดยตรง


แนะนำกิจกรรมง่ายๆ คลายเครียดเองได้ที่บ้าน

สำหรับคนที่กำลังเครียด มีวิธีแก้ปัญหาได้ง่ายๆ เองที่บ้าน โดยยังไม่ต้องมาพบแพทย์ ก่อนอื่นต้องรู้สาเหตุความเครียด วิตกกังวล ซึ่งอาจเกิดจากประสบการณ์ในอดีต และการคาดเดาอนาคต จึงต้องเอาตัวเองออกจากปัญหา ตั้งสติ วิเคราะห์ให้รอบด้าน และค่อยๆ คิดหาวิธีแก้ไข จะช่วยให้เกิดความเครียดน้อยลง พยายามอยู่กับปัจจุบัน ทำปัจจุบันให้ดี พรุ่งนี้ย่อมดีกว่าแน่นอน เพราะพรุ่งนี้เป็นผลจากวันนี้ จริงๆ

ระยะเห็นผล ขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล

กิจกรรมบำบัด จะเห็นผลในระยะที่มีประสิทธิภาพประมาณ 3 - 6 เดือน ส่วนโอกาสการกลับมาเป็นซ้ำจะขึ้นอยู่กับอาการและความรุนแรงของโรค หากมีอาการวิตกกังวล เครียดในระยะเริ่มต้น ก็สามารถจะกลับมาใช้ชีวิตได้ตามปกติได้เร็ว แต่บางกรณี เช่น ผู้ป่วยจิตเภทเรื้อรัง โรคหลอดเลือดสมอง หรือโรคทางพัฒนาการ อาจจะไม่ได้หายแบบ 100% หากถูกกระตุ้น หรือมีอาการแทรกซ้อนก็มีโอกาสกลับมาเป็นซ้ำได้อีก แต่เราจะไปโฟกัสกับความสามารถที่เพิ่มขึ้น ให้กลับมาใช้ชีวิตได้ดีที่สุดเท่าที่ตัวผู้ป่วยจะทำได้

**กรุณานัดหมายล่วงหน้าก่อนเข้ารับบริการ**
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม ศูนย์ Let's Talk 
 (จิตเวช)
โรงพยาบาลเปาโล พหลโยธิน โทร.1772