รังไข่ คือ ?
อวัยวะสืบพันธ์ุในผู้หญิงประกอบไปด้วยรังไข่ (Ovary) มีลักษณะเป็นวงรี ขนาดโดยทั่วไปประมาณ 2 - 3 ซม. จะอยู่ข้างปีกมดลูกทั้งสองข้าง โดยมีท่อรังไข่ที่เรียกว่า Fallopian Tube ยื่นออกมาจากมดลูก
Uterus หรือ Womb ซึ่งต่อมาจากช่องคลอด รังไข่ และท่อรังไข่จะอยู่ในช่องเชิงกราน Pelvic ซึ่งนอกจากจะมีอวัยวะสืบพันธ์ุผู้หญิงแล้ว ยังมีอวัยวะที่สำคัญ เช่น กระเพาะปัสสาวะ Bladder ลำไส้ใหญ่ Rectum ต่อมน้ำเหลือง
รังไข่ มีหน้าที่หลัก 2 ประการ คือ
- การผลิตไข่ ซึ่งจะมาผสมกับเชื้อของเพศชายกลายเป็นตัวอ่อน ไข่ฝังตัวอยู่ในโพรงมดลูก
- การผลิตฮอร์โมนเพศหญิง (Oestrogen And Progesterone) ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของผู้หญิงในทุกๆ เดือน รังไข่ข้างหนึ่งของหญิงวัยเจริญพันธ์ุ จะผลิตไข่ขึ้นมาหนึ่งฟอง ไข่จะเคลื่อนไปตามท่อรังไข่ และเข้าสู่มดลูก หากไข่ไม่ได้รับการผสมก็จะถูกขับออก
สาเหตุ การเกิดมะเร็งรังไข่สภาพแวดล้อม เช่น สารเคมี อาหาร เนื่องจากพบว่าในประเทศอุตสาหกรรม มีผู้ป่วยเป็นมะเร็งรังไข่มากกว่าประเทศเกษตรกรรมสตรีที่ไม่มีบุตร หรือมีบุตรน้อยผู้ที่เคยเป็นมะเร็งที่เต้านม มะเร็งมดลูก และมะเร็งระบบทางเดินอาหาร โอกาสเป็นมะเร็งรังไข่มีมากกว่าคนปกติ.jpg)
กรรมพันธุ์ เป็นสาเหตุหนึ่งในการเกิดโรคมะเร็งรังไข่ หรือไม่?
มะเร็งรังไข่ มีอยู่หลายชนิดซึ่งกรรมพันธุ์ก็มีส่วนที่จะเป็นสาเหตุของมะเร็งในรังไข่ได้ ในกลุ่มคนไข้ที่มีคุณย่า คุณแม่ เป็นมะเร็งเต้านม หรือลำไส้ ก็อาจจะมีการถ่ายทอดพันธุกรรมมายังลูกได้
อาการที่แสดง - บางรายอาจไม่มีอาการ แต่แพทย์ตรวจพบโดยบังเอิญ
- อาการท้องอืด แน่นท้องเป็นประจำ
- มีก้อนในท้องน้อย
- ถ้าก้อนมะเร็งโตมากจะกดกระเพาะปัสสาวะ หรือลำไส้ส่วนปลาย ทำให้ถ่ายปัสสาวะ หรืออุจจาระลำบาก
- ระยะท้ายๆ อาจมีน้ำในช่องท้องทำให้ท้องโตขึ้นกว่าเดิมเบื่ออาหาร ผอมแห้ง น้ำหนักลด
การวินิจฉัย
- การตรวจภายในอาจคลำพบก้อนในบริเวณท้องน้อย การคลำพบก้อนในรังไข่ได้สำหรับสตรีวัยหมดประจำเดือน เพราะโดยปกติวัยหมดประจำเดือน รังไข่จะฝ่อ
- ผลจากการตรวจภายในอาจพบเซลล์มะเร็งรังไข่ได้
- การตรวจด้วยเครื่องความถี่สูง อาจช่วยบอกได้ว่ามีก้อนในท้อง ในรายที่อ้วน หรือหน้าท้องหนามาก คลำด้วยมือตามปกติตรวจไม่พบ
เมื่อพบแล้วทำเช่นไร
การผ่าตัดเป็นวิธีแรกที่แพทย์จะเลือกทำการรักษา ถ้าไม่สามารถตัดออกได้หมดเนื่องจากโรคกระจายออกไปมากแล้ว แพทย์จะพยายามตัดออกให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ แล้วให้การรักษาต่อด้วยเคมีบำบัด หรือรังสีบำบัด
ถ้าอยู่ในช่วงวัยเจริญพันธุ์ และต้องการจะมีบุตร เมื่อเกิดโรคแต่ไม่อยากให้ตัดรังไข่จะมีวิธีการอย่างไร
ปกติรังไข่จะมี 2 ข้าง และจะตัดรังไข่ข้างที่เป็นออก ร่วมกับการให้ยาคีโมเพื่อทำการรักษา ผู้ป่วยที่พบมะเร็งรังไข่ และกำลังอยู่ในช่วงวัยเจริญพันธุ์ แพทย์จะรักษาด้วยการให้คีโม ซึ่งได้ผลดีสำหรับผู้ที่มีอายุน้อย และเป็นมะเร็งรังไข่ในระยะเริ่มต้น ซึ่งผู้ป่วยเหล่านี้จะมีประจำเดือนตามปกติ สามารถแต่งงานและมีบุตรได้ อย่างไรก็ตามต้องขึ้นอยู่กับชนิดของมะเร็งด้วย
ป้องกันมะเร็งรังไข่อย่างไรบ้าง
เนื่องจากมะเร็งรังไข่ในระยะแรกๆ มักไม่มีอาการ อีกทั้งยังไม่ทราบสาเหตุที่แท้จริง การป้องกันจึงทำได้ยาก ดังนั้น วิธีที่ดีที่สุดคือการตรวจภายใน หรือพบแพทย์เพื่อตรวจด้วยคลื่นความถี่สูง อย่างน้อยปีละครั้ง
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม
โรงพยาบาลเปาโล พหลโยธิน โทร. 0-2271-7000 ต่อ สุขภาพสตรี