อีกหนึ่งทางทำให้ผู้ป่วย “มะเร็งลำไส้” ลุกขึ้นมาสู้ได้อีกครั้ง
โรงพยาบาลเปาโล พหลโยธิน
21-เม.ย.-2565
 การขับถ่ายเป็นกิจวัตรประจำวันของเราทุกคน แล้วรู้หรือไม่…  การขับถ่ายสามารถบอกความผิดปกติที่เกิดขึ้นในร่างกายของเราได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งความผิดปกติที่เกิดขึ้นในลำไส้ใหญ่ บางครั้งเราเพียงรู้สึกว่าแค่ท้องเสีย ท้องผูก ถ่ายเป็นน้ำ ซึ่งอาจเป็นเพียงแค่อาการเริ่มต้น และอาการของคนปกติที่ทั่วไปที่เป็นกันได้บ่อยๆ  ถ้าหากสังเกตให้ดีกว่านี้อาการเหล่านี้แหละอาจเป็นอาการเริ่มต้นของการเป็น “มะเร็งลำไส้” ก็ได้

แค่ท้องเสีย…ก็เป็นมะเร็งได้!?
โรคมะเร็งในลำไส้ จะไม่แสดงออกมาให้เห็นชัดในขณะที่เราเป็นช่วงแรกๆ แต่เมื่อเราเป็นมาสักระยะหนึ่งแล้วเ ราจะสังเกตได้จากอุจจาระของเรานั่นเอง ลองสังเกตให้ดีว่ามีเลือดปนมากับอุจจาระไหม มีก้อนเล็กลงหรือเปล่า ท้องผูกสลับท้องเสีย รวมถึงถ่ายเป็นมูกด้วยหรือไม่ อาการเหล่านี้แหละที่เป็นสัญญาณเตือนว่า ควรไปหาหมอเพื่อตรวจหามะเร็งลำไส้ เพราะหากรู้ก่อนจะได้แก้ไข และป้องกันไม่ให้มะเร็งกระจายไปยังส่วนอื่นๆ

ทางเลือกจัดการกับ “มะเร็งลำไส้”
การจัดการกับมะเร็งลำไส้คล้ายกับการจัดการมะเร็งในส่วนอื่นๆ คือ การใช้ยาเคมีบำบัด การฉายรังสีและการผ่าตัด แต่การจะเลือกใช้วิธีไหนนั้นขึ้นอยู่กับการวินิจฉัยของแพทย์ และอาการของผู้ป่วยว่าอยู่ในระยะไหนมะเร็งลำไส้แบ่งได้เป็น 4 ระยะ คือ

  • ระยะที่1 มะเร็งอยู่แค่ภายในผนังของลำไส้

  • ระยะที่2 มะเร็งลุกลามออกนอกผนังลำไส้ไปบริเวณใกล้เคียง

  • ระยะที่3 มะเร็งลุกลามไปที่ต่อมน้ำเหลือง

  • ระยะที่4 มะเร็งแพร่กระจายไปยังอวัยวะส่วนต่างๆ ของร่างกาย

  • การใช้ยาเคมีบำบัด สามารถเข้าไปทำลายเซลล์มะเร็ง และยับยั้งการแบ่งตัวของเซลล์มะเร็ง ช่วยควบคุมไม่ให้เซลล์มะเร็งแพร่กระจายไปยังส่วนอื่นๆ แต่การใช้ยาเคมีบำบัดสามารถจัดการได้กับมะเร็งระยะแรกๆ เท่านั้น อาจมีผลข้างเคียงอยู่บ้าง เช่น คลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร และผมร่วง เป็นต้น แต่เป็นเพียงส่วนน้อยเท่านั้น

  • การใช้รังสี หรือการฉายรังสีก็เข้าไปยับยั้ง และทำลายเซลล์มะเร็งเช่นเดียวกับการใช้ยาเคมีบำบัด

  • การผ่าตัด อีกหนึ่งทางเลือก ในการจัดการมะเร็งลำไส้เป็นการผ่าตัดลำไส้ส่วนที่เป็นมะเร็งออกไป พร้อมกับเอาเส้นเลือดที่ไปหล่อเลี้ยงเซลล์มะเร็งออก ยับยั้งเซลล์มะเร็งไม่ให้โตและกระจายไปยังส่วนอื่นๆ รวมถึงตัดเนื้อในลำไส้บางส่วนที่คาดว่าจะเป็นเซลล์มะเร็งและมีโอกาสแพร่กระจายมาออกไป เพื่อตัดโอกาสการเป็นมะเร็งซ้ำในลำไส้ การผ่าตัดมะเร็งลำไส้ในปัจจุบันไม่ได้มีความน่ากลัวอีกต่อไป ไม่จำเป็นต้องเปิดแผลที่หน้าท้องเป็นรอยยาว 4 – 5 ซม. แต่ใช้การผ่าตัดด้วยการเจาะรูที่หน้าท้องเป็นรูเล็กๆ ขนาดเพียง 0.5 – 1 ซม. เท่านั้น หรือเรียกง่ายๆ ก็ คือการผ่าตัดแผลเล็ก MIS (Minimally Invasive Surgery) นั่นเอง

  • การรักษานี้ทำให้ผู้ป่วยสามารถกลับไปใช้ชีวิตประจำวันได้เร็วมากขึ้น เพราะแผลเล็ก ฟื้นตัวเร็ว เสียเลือดน้อย ในระหว่างการผ่าตัดนั้นกล้องที่ใช้มีกำลังขยายสูงทำให้เห็นรายละเอียดตำแหน่งของมะเร็งที่จะผ่าตัดได้อย่างชัดเจน ลดภาวะแทรกซ้อนที่จะเกิดขึ้นหลังการผ่าตัดได้ดี ดังนั้น การผ่าตัดมะเร็งลำไส้แบบแผลเล็กจึงเป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการจัดการกับมะเร็งลำไส้ แต่การใช้ยาเคมีบำบัดและการฉายรังสี อาจเป็นเพียงวิธีการเสริมเพื่อช่วยให้หายขาดจากมะเร็ง

    สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม
    โรงพยาบาลเปาโล พหลโยธิน โทร. 1772 ต่อ ศัลยกรรม