7 อาการสัญญาณร้ายมะเร็งปากมดลูก
รู้หรือไม่ว่า มะเร็งปากมดลูก เป็นมะเร็งในผู้หญิงที่พบมากเป็นอันดับ 2 รองจากมะเร็งเต้านม ซึ่งมะเร็งปากมดลูกเป็นสาเหตุต้นๆ ที่ทำให้ผู้หญิงเสียชีวิต และถึงแม้จะเป็นมะเร็งเพียงไม่กี่ชนิดที่เราทราบสาเหตุของการเกิดโรคที่แน่ชัด ทั้งยังมีวัคซีนที่ช่วยป้องกันได้ก็ตาม แต่คนส่วนใหญ่ที่มาพบแพทย์มักจะมาก็ต่อเมื่อมีอาการ ซึ่งเมื่อถึงตอนนั้นมะเร็งก็มักอยู่ในระยะลุกลามแล้ว แต่หากเราตระหนักโดยการป้องกัน หรือเข้ารับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกเป็นประจำ ก็จะช่วยให้พบแนวโน้มของการเกิดโรคและสามารถรักษาได้อย่างทันท่วงที
HPV ไวรัสต้นตอ ก่อมะเร็งปากมดลูก
สาเหตุของการเกิดมะเร็งปากมดลูกมาจากการติดเชื้อไวรัส HPV หรือ Human Papillomavirus บริเวณเซลล์ปากมดลูก และเชื้อนั้นเกิดการกลายพันธุ์จนพัฒนาไปเป็นเซลล์มะเร็งในที่สุด ซึ่งถ้าเคยมีเพศสัมพันธ์กับผู้มีเชื้อก็สามารถรับเชื้อ HPV ได้อย่างง่ายๆ นอกจากนี้ยังมีปัจจัยอื่นๆ เช่น รูปแบบการใช้ชีวิตหรือสภาพแวดล้อม ก็ส่งผลให้เกิดโรคมะเร็งปากมดลูกได้เช่นกัน ทั้งนี้ เชื้อไวรัส HPV มีอยู่หลายชนิด คือชนิดรุนแรงที่ทำให้เกิดมะเร็งปากมดลูก และชนิดไม่รุนแรงที่อาจทำให้เกิดหูดหงอนไก่ได้
ไม่มีอาการเตือน...รู้ตัวอีกทีก็เป็นมะเร็งปากมดลูกแล้ว
อย่างที่กล่าวข้างต้น เชื้อไวรัส HPV สามารถติดต่อกันได้จากการมีเพศสัมพันธ์ และแม้จะใช้ถุงยางอนามัยก็ไม่อาจป้องกันการติดเชื้อ HPV ได้ทั้งหมด ซึ่งส่วนใหญ่แล้วผู้ที่ได้รับเชื้อ HPV ในระยะแรก ตัวเชื้อจะยังไม่แสดงอาการออกมา เนื่องจากเชื้อยังไม่พัฒนาไปเป็นมะเร็ง โดยเชื้อจะใช้เวลาพัฒนาอยู่ในร่างกายประมาณ 10-15 ปี ก่อนที่จะกลายเป็นมะเร็ง จากนั้นร่างกายจึงเริ่มแสดงอาการออกมา นี่จึงเป็นเหตุผลที่ทำให้กว่าจะรู้ตัวอีกทีก็คือมีอาการแล้ว เมื่อเข้ารับการตรวจจึงพบว่าเป็นมะเร็งปากมดลูกแล้วนั่นเอง
สัญญาณเตือนจากอาการของมะเร็งปากมดลูก
ใครบ้าง...เสี่ยงมะเร็งปากมดลูก
ป้องกันให้ถูก มะเร็งปากมดลูกป้องกันได้
จากปัจจัยและความเสี่ยงดังกล่าว เราสามารถลดเสี่ยงและป้องกันมะเร็งปากมดลูกได้ ดังนี้
- ชนิด 4 สายพันธุ์ : สามารถป้องกันการเกิดมะเร็งปากมดลูกได้ประมาณ 70%
- ชนิด 9 สายพันธุ์ : สามารถป้องกันการเกิดมะเร็งปากมดลูกได้มากกว่า 90%
โดยฉีดได้ตั้งแต่อายุ 9 ปี หรือแม้ในผู้หญิงที่เคยมีเพศสัมพันธ์แล้วก็สามารถฉีดได้เช่นกัน
ตรวจให้ดี มีวิธีรักษา
วิธีการตรวจหามะเร็งปากมดลูก สามารถทำได้โดยการตรวจภายในแล้วป้ายเซลล์บริเวณปากมดลูกไปตรวจในห้องปฏิบัติการ หรือที่เราเรียกว่า “การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก” ซึ่งควรตรวจเป็นประจำทุกๆ 1-2 ปี โดย หากผู้หญิงไม่เคยมีเพศสัมพันธ์ ควรเริ่มตรวจตั้งแต่อายุ 21 ปีขึ้นไป หรือ 3 ปีหลังจากมีเพศสัมพันธ์ครั้งแรก โดยขึ้นอยู่กับว่าสิ่งไหนเกิดก่อน หากตรวจพบมะเร็งปากมดลูกแต่เนิ่นๆ การรักษาก็มีหลายวิธี และสามารถรักษาให้หายได้
ดังนั้น หากพบว่าตนเองมีสัญญาณอาการเตือนใดๆ หรือพบร่วมกันหลายอาการ ควรเข้ารับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก เพราะถึงแม้หากตรวจแล้วไม่ใช่โรคมะเร็ง แต่อาจเป็นสัญญาณของโรคอื่นๆ ที่เกี่ยวกับอวัยวะสืบพันธุ์ก็ได้ แต่จะให้ดีที่สุด คือควรเข้ารับการฉีดวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก และหมั่นตรวจภายในเป็นประจำเมื่อถึงวัยอันควร โดยไม่ต้องรอให้มีอาการใดๆ เสียก่อน
บทความโดย
โรงพยาบาลเปาโล สมุทรปราการ
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม
ศูนย์ส่งเสริมสุขภาพสตรี
โรงพยาบาลเปาโล สมุทรปราการ
โทร. 02-363-2000 ต่อ 2201-2202
รับข่าวสารและกิจกรรมทางสุขภาพดีๆได้ที่