ผ่าตัดส่องกล้อง ซ่อมเอ็นเข่า และซ่อมเอ็นไหล่ เรื่องเล็กที่ไม่ควรมองข้าม
ใครที่รักการเล่นกีฬาหรือกิจกรรมสุดเหวี่ยง การบาดเจ็บอาจเป็นเรื่องปกติ โดยเฉพาะ เอ็นไขว้หน้าเข่าฉีก หรือ เอ็นข้อไหล่ฉีกขาด ซึ่งพบบ่อยในคนอายุน้อย อาการเหล่านี้ไม่เพียงแค่ทำให้ ปวดเรื้อรัง แต่ยังส่งผลให้ ข้อเข่าหลวม หรือ ไหล่หลุดง่าย หากปล่อยไว้นาน อาการปวด จะยิ่งรุนแรงขึ้นจนรบกวนชีวิตประจำวัน บทความนี้มีคำตอบเกี่ยวกับสาเหตุ อาการ และ การรักษา ด้วย การผ่าตัดส่องกล้อง ซึ่งเป็นทางเลือกที่ทันสมัยและมีประสิทธิภาพ

สาเหตุของอาการบาดเจ็บของเส้นเอ็น
- อาการบาดเจ็บของเอ็นไขว้หน้าเข่า
เอ็นไขว้หน้าเข่า (Anterior Cruciate Ligament - ACL) มักได้รับบาดเจ็บจาก:
- กีฬาที่มีการปะทะ หรือการเคลื่อนไหวรุนแรง: เช่น บาสเกตบอล, วอลเลย์บอล, เบสบอล, หรือฟุตบอล ที่มีการ บิด, หมุน, กระโดด, หรือ กระแทก อย่างรุนแรงและรวดเร็ว ทำให้ เส้นเอ็นเข่า ถูกกระชากจนฉีกขาด
- การหมุนข้อเข่าหรือพลิกเข่าฉับพลัน: การเปลี่ยนทิศทางอย่างรวดเร็วขณะลงน้ำหนัก
- ปัญหากล้ามเนื้อ: กล้ามเนื้อต้นขา ที่ตึง ไม่ยืดหยุ่น หรือไม่แข็งแรงพอที่จะช่วยพยุงและซัพพอร์ต เส้นเอ็นเข่า จะไม่ทำให้เอ็นขาดทันที แต่จะค่อยๆ สะสมความเสียหาย จนในที่สุด เส้นเอ็น ไม่สามารถทนต่อแรงกระแทกได้ไหว จึงเกิดการฉีกขาด
- อาการบาดเจ็บของเอ็นข้อไหล่
เอ็นข้อไหล่ (Rotator Cuff Tendons) มักได้รับบาดเจ็บจาก:
- การกระแทกโดยตรงที่หัวไหล่: เช่น หกล้มไหล่กระแทกพื้น, หรือการล้มโดยใช้มือยันพื้น ทำให้แรงกระแทกถูกส่งมาที่ หัวไหล่ โดยตรง หรือการเล่นกีฬาผิดท่า
- เนื้อเยื่อเส้นเอ็นเสื่อมสภาพ: มักพบในผู้สูงอายุ หรือผู้ที่ทำกิจกรรมที่ต้อง ยกแขนเหนือศีรษะ ซ้ำๆ เช่น การเล่นกีฬาที่ต้องเหวี่ยงแขน (เทนนิส แบดมินตัน) หรืออาชีพที่ต้องใช้แขนยกของหนัก ทำให้ เอ็นข้อไหล่ รับแรงสะสมและเสื่อมสภาพจนฉีกขาด

อาการของเอ็นฉีกขาด สัญญาณที่บอกว่าคุณควรพบแพทย์
อาการของเอ็นไขว้หน้าข้อเข่าฉีกขาด
- มักมี อาการปวด, บวม, ช้ำ บริเวณ ข้อเข่า ทันทีหลังบาดเจ็บ
- เดินลงน้ำหนัก ขาข้างที่บาดเจ็บไม่ได้ หรือรู้สึก เข่าหลวม ไม่มั่นคง
- หากเอ็นฉีกขาดรุนแรง อาจมีเลือดออกในข้อ ทำให้ เข่าบวมมาก จนไม่สามารถ เดินลงน้ำหนัก ขาข้างนั้นได้เลยในช่วง 1-2 วันแรกหลังได้รับบาดเจ็บ
- อาจมีเสียง "ป๊อป" หรือ "แคร็ก" ดังขึ้นขณะบาดเจ็บ

อาการของเอ็นไขว้หน้าข้อเข่าฉีกขาด
- ปวดบริเวณหัวไหล่: โดยเฉพาะเมื่อเคลื่อนไหว หรือยกแขน
- หัวไหล่ติดยึด: ขยับแขนได้ไม่เต็มที่, เคลื่อนไหวไหล่ลำบาก ทำให้ใช้ชีวิตประจำวันยากขึ้น เช่น เอื้อมแขนไปด้านหลังไม่ได้, ยกแขนหวีผมไม่ไหว หรือสวมเสื้อผ้าลำบาก
- แขนอ่อนแรง: ยกแขนไม่ขึ้น หรือยกได้ไม่สุด
- ปวดมากในตอนกลางคืน: อาการปวดรบกวน การนอนหลับ
การรักษาเอ็นฉีกขาด ด้วย การผ่าตัดส่องกล้อง (Minimally Invasive Surgery - MIS)
สำหรับ อาการบาดเจ็บของเส้นเอ็น ที่รุนแรง แพทย์มักแนะนำ การรักษา ด้วย การผ่าตัดส่องกล้องแผลเล็ก หรือ MIS (Minimally Invasive Surgery) ซึ่งเป็นการนำ เส้นเอ็น จากบริเวณอื่นของร่างกาย (เช่น เอ็นจากกระดูกสะบ้าเข่า หรือเอ็นบริเวณรอบๆ ข้อ) มา ปลูกถ่ายทดแทน เส้นเอ็นที่ฉีกขาด โดยมีข้อดีที่โดดเด่นดังนี้:
- ลดอาการบาดเจ็บของเนื้อเยื่อ: แผลเล็ก ทำให้รู้สึก เจ็บปวดน้อยลง และ ลดการเสียเลือด
- แผลผ่าตัดขนาดเล็ก: เพียงแค่ 1-2 เซนติเมตร ช่วย ลดการเกิดแผลเป็นขนาดใหญ่ เมื่อเทียบกับการผ่าตัดแบบเปิดแผลปกติที่จะมีแผลกว้าง 12-20 เซนติเมตร
- ระยะเวลาพักฟื้นสั้นลง: พักฟื้นในโรงพยาบาล เพียง 2-3 วัน ซึ่งเร็วกว่าการผ่าตัดแบบเปิดแผลที่อาจต้องนอนโรงพยาบาล 5-7 วัน ทำให้ ฟื้นตัวเร็ว ขึ้น
- ลดภาวะแทรกซ้อน: ช่วย ลดความเสี่ยง ของการติดเชื้อและภาวะแทรกซ้อนต่างๆ หลังผ่าตัด
- ลดการเกิดพังผืด: การบาดเจ็บต่อเนื้อเยื่อน้อยลง ส่งผลให้ ลดการเกิดพังผืด ซึ่งอาจเป็นสาเหตุของอาการปวดเรื้อรังหลังผ่าตัด
- ความแม่นยำสูง: แพทย์ผู้ทำการผ่าตัดสามารถมองเห็นรายละเอียดของตำแหน่งที่ต้องการผ่าตัดได้อย่างชัดเจน ด้วยเทคโนโลยี กำลังขยายของกล้องส่องผ่าตัด ซึ่งช่วยให้การผ่าตัดมีความ แม่นยำสูง ขึ้น
ข้อจำกัดของการผ่าตัดส่องกล้อง
- ค่าใช้จ่ายสูง: เนื่องจากใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ที่มีนวัตกรรมพิเศษ รวมถึงต้องใช้ แพทย์เฉพาะทางที่มีประสบการณ์ด้าน การผ่าตัดส่องกล้อง โดยเฉพาะ
โรงพยาบาลเปาโล สมุทรปราการ มี แพทย์และทีมเจ้าหน้าที่ ที่มีประสบการณ์และได้รับการอบรม การผ่าตัดด้วยวิธีการผ่าตัดแผลเล็ก (Minimally Invasive Surgery) จากสถาบันการแพทย์ทั้งในและต่างประเทศ พร้อมด้วย เครื่องมือและอุปกรณ์ที่ทันสมัย เราจึงพร้อมให้ การดูแลรักษา ผู้ป่วยทั้งก่อน ระหว่าง และหลังได้รับการผ่าตัดอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยกลับมามี คุณภาพชีวิตที่ดี และพร้อมกลับไป เล่นกีฬา ที่ชื่นชอบได้เร็วขึ้น
สอบถามรายละเอียดข้อมูลเพิ่มเติม
ศูนย์กระดูกและข้อ
โรงพยาบาลเปาโล สมุทรปราการ
โทร.02 3632 000 ต่อ 2130-2131
รับข่าวสารและกิจกรรมทางสุขภาพดีๆได้ที่Line official account : ศูนย์กระดูก PLS
Line ID : @ortho_paolo_pls

Facebook : Paolo Hospital Samutprakarn
Line official account : Paolo Hospital Samutprakarn
(1).png)