-
ปวดเข่าอย่างนี้..เป็นเพราะอะไร
โรงพยาบาลเปาโลสมุทรปราการ
04-ก.ค.-2567
ปวดเข่าอย่างนี้...เป็นเพราะอะไร
                    ข้อเสื่อมหรือปวดข้อ พบเป็นสาเหตุอันดับแรกของอาการปวดข้อในคนอายุมากกว่า 40 ปีขึ้นไป หรือหลังวัยหมดประจำเดือน และจะพบมากตามอายุที่มากขึ้น ถือเป็นโรคเรื้อรังที่ไม่ค่อยมีโรคแทรกซ้อนที่อันตรายร้ายแรง แต่ก็สร้างความทรมาณและลำบากให้แก่ผู้สูงอายุได้เยอะทีเดียว และที่เป็นกันอย่างกว้างขวางคงจะหนี "ข้อเข่าเสื่อม" ไปไม่ได้
                    แม้ข้อเข่าจะเป็นเพียงส่วนประกอบของร่างกายที่หลายคนมองข้าม แต่ก็มีบทบาทต่อการเคลื่อนไหวของร่างกายมากเลยทีเดียว หลายคนมีพฤติกรรมการใช้ข้อเข่าที่ไม่เหมาะสม จนส่งผลให้ข้อเข่าเสื่อมก่อนวัยอันควร
ข้อเข่าก็เปรียบเสมือนบานพับที่เชื่อมระหว่างหัวกระดูกต้นขา และเบ้ากระดูกหน้าแข้ง ซึ่งปลายกระดูกทั้งสองจะมีกระดูกอ่อนคลุมไว้ และจะมีน้ำเลี้ยงคอยหล่อลื่นเพื่อช่วยลดแรงกระแทกในขณะที่เราเคลื่อนไหว ดังนั้นการเสื่อมสลายของผิวกระดูกอ่อนบริเวณดังกล่าวนี่เอง จึงเป็นต้นเหตุสำคัญที่ทำให้ข้อเข่าติดขัด และเกิดการอักเสบ บวม และรู้สึกปวดตามมา อาการเหล่านี้คือ “อาการข้อเข่าเสื่อม”



สาเหตุสำคัญ
                    เกิดจากข้อเสื่อมตามวัย หรือข้อรับน้ำหนักมากเกินไปหรือมีการบาดเจ็บ ทำให้กระดูกอ่อนตรงผิวข้อต่อสึกกร่อนและมีกระดูกงอกเพราะมีหินปูนมาเกาะขรุขระ เวลาเคลื่อนไหวข้อจึงทำให้เกิดอาการปวดในข้อ นอกจากนี้อาจมีสาเหตุจากกรรมพันธุ์ น้ำหนักมาก ข้อที่เป็นได้บ่อย มักเป็นข้อที่รับน้ำหนักมาก ได้แก่ ข้อเข่า ข้อสะโพก ข้อกระดูกสันหลัง ข้อกระดูกคอ

รู้ได้อย่างไรว่าข้อเริ่มไม่ดี?
                    ผู้ป่วยจะมีอาการปวดตามข้อต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการปวด เข่า สะโพก หลัง ต้นคอ หากปวดนาน ๆ จนกลายเป็นการปวดเรื้อรังอาจมีเสียงดังกรอบแกรบขณะที่เคลื่อนไหว อาการปวดข้อนี้มักจะเป็นตอนกลางคืน หรือเวลาอากาศเย็นชื้น หรืออากาศเปลี่ยนแปลง ข้อที่ปวดมักจะไม่มีอาการบวมแดงร้อน แต่ถ้าเป็นมาก อาจมีอาการบวม และมีน้ำขังอยู่ในข้อ โดยทั่วไปผู้ป่วยจะมีอาการทั่วไปเป็นปกติทุกอย่าง



ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเหล่านี้...ก่อนเสี่ยงเป็นข้อเข่าเสื่อม
1. หากมีอาการปวดให้พักข้อที่ปวด อย่าเดินมาก ยืนมาก ใช้น้ำร้อนประคบและกินยาแก้ปวดพาราเซตามอล บรรเทา เป็นครั้งคราว ถ้ามีอาการปวดมาก อาจให้ยาต้านอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์
2. พยายามหลีกเลี่ยงสิ่งที่จะทำให้อาการปวดข้อกำเริบ เช่น ห้ามยกของหนัก อย่ายืนนาน นั่งพับเพียบ หรือขัดสมาธิ เป็นต้น พยายามนั่งในท่าเหยียดเข่าตรง
3. พยายามบริหารกล้ามเนื้อที่เคลื่อนไหวข้อให้แข็งแรง แต่การฝึกกล้ามเนื้อควรเริ่มทำเมื่ออาการปวดทุเลาลงแล้ว
4. ถ้าอาการไม่ดีขึ้นใน 3-4 สัปดาห์ หรือบวมตามข้อ หรือมีอาการปวดร้าวหรือชาตามแขน ร่วมกับปวดคอ ขา หรือหลัง แนะนำให้ไปโรงพยาบาล

                    ทั้งนี้แพทย์อาจพิจารณาให้ใช้การรักษาด้วยการฉีดน้ำหล่อลื่นผิวข้อเข่า เพื่อลดการเสียดสีขณะเคลื่อนไหว โดยวิธีนี้จะสามารถทำได้กับเฉพาะผู้ที่ไม่เคยมีการติดเชื้อในข้อเข่าเท่านั้น อย่างไรก็ตามหากมีอาการปวดที่รุนแรงเรื้อรังมานาน แพทย์ส่วนใหญ่จะแนะนำให้ผู้ป่วยผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมทดแทนข้อเข่าที่เสื่อม




การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม
                    การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม คือ การผ่าตัดเอาข้อที่เสื่อมสภาพออก จากนั้นแพทย์จะใส่ข้อใหม่ซึ่งทำมาจากวัสดุพิเศษทางการแพทย์ที่มีความแข็งแรงทนทาน นอกจากนี้ไม่เพียงการนำกระดูกที่เสื่อมออก แพทย์จะปรับความตึงหรือหย่อนของเนื้อเยื่อรอบข้อเข่า เพื่อให้ขามีรูปร่างปกติ ไม่โก่งผิดรูป ซึ่งการเปลี่ยนข้อเข่าเทียมจะได้ผลดีเพียงใดนั้นขึ้นอยู่กับ
• ประสบการณ์และความชำนาญของศัลยแพทย์ผู้ทำการผ่าตัด
• สภาพของข้อเข่าของผู้ป่วยก่อนผ่าตัด ถ้าข้อเข่าติดแข็งหรือผิดรูป เช่น เข่าโก่ง หรือกล้ามเนื้อข้อเข่า
   ลีบ ต้องมีการบริหารข้อเข่าหลังผ่าตัดเพื่อฟื้นฟูต่อไป
• ความร่วมมือของผู้ป่วยหลังผ่าตัดในเรื่องของบริหารข้อเข่าหลังผ่าตัด



ระยะเวลาของข้อเข่าเทียม
                   ในผู้ป่วยกว่าร้อยละ 80 ข้อเข่าเทียมจะสามารถอยู่ได้นานกว่า 20 ปี อย่างไรก็ตาม สภาพของข้อเข่าเทียมจะขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย ทั้งการใช้งานของผู้ป่วย ความเชี่ยวชาญของศัลยแพทย์กระดูก และคุณสมบัติของข้อเทียม ซึ่งผู้ป่วยควรดูแลน้ำหนักตัวไม่ให้เพิ่มขึ้น หลีกเลี่ยงการนั่งแบบยอง ๆ โดยไม่จำเป็น ไม่วิ่งทางไกล ไม่เล่นกีฬาที่ต้องมีการปะทะ และหมั่นดูแลตัวเองไม่ปล่อยให้ตัวเองติดเชื้อที่ใดที่หนึ่งเป็นเวลานาน รวมทั้งไม่ปล่อยให้ฟันผุ เหงือกอักเสบ กระเพาะปัสสาวะอักเสบหรือเป็นแผลที่เล็บเท้า ก็จะช่วยให้ข้อเข่าเทียมมีอายุการใช้งานที่ยาวนานขึ้นได้

วิธีการเตรียมตัว ก่อน-หลังการผ่าตัด
ก่อนการผ่าตัด
• เตรียมร่างกายให้พร้อม รับประทานอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการ รวมทั้งนอนหลับให้เพียงพอ
• งดน้ำงดอาหาร อย่างน้อย 6 ชั่วโมง
• แจ้งประวัติประจำตัว การแพ้ยา ให้แจ้งแพทย์เมื่อมีอาการป่วยก่อนการผ่าตัด
• งดสูบบุหรี่ และแอลกอฮอล์
• ถอดเครื่องประดับเอาไว้ในที่ปลอดภัย เช่น แหวน สร้อยคอ ต่างหู หรือเครื่องประดับจากการเจาะตามร่างกาย เพื่อป้องกันการเสียหายใน

หลังการผ่าตัด
• งดน้ำงดอาหาร ประมาณ 12-24 ชั่วโมง ตามแพทย์สั่ง
• งดสูบบุหรี่ และแอลกอฮอล์



                  นับว่าการผ่าตัดนั้นจำเป็นต้องอาศัยแพทย์และทีมงานที่มีความชำนาญพิเศษ โดยทางโรงพยาบาลเปาโลสมุทรปราการ มีทีมแพทย์ที่ผ่านการศึกษาอบรมการผ่าตัดจากสถาบันการแพทย์ทั้งในและต่างประเทศ ซึ่งพร้อมให้การดูแลรักษาสุขภาพของท่านเป็นอย่างดี

                  ซึ่งหากแพทย์ตรวจพบโรคแล้วจำเป็นที่จะต้องเข้ารับการผ่าตัด ทางโรงพยาบาลเปาโลสมุทรปราการ ขอมอบสิทธิ์พิเศษเสริมความปลอดภัยให้ทุกท่านที่จะเข้ารับการผ่าตัดทุกประเภท ให้ได้รับการตรวจโรค COVID-19 ฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย



สอบถามรายละเอียดข้อมูลเพิ่มเติม
ศูนย์กระดูกและข้อ
โรงพยาบาลเปาโล สมุทรปราการ 
โทร.02 3632 000 ต่อ 2130-2131

รับข่าวสารและกิจกรรมทางสุขภาพดีๆได้ที่
Line official account : ศูนย์กระดูก PLS
Line ID : @ortho_paolo_pls

Facebook : Paolo Hospital Samutprakarn
Line official account : Paolo Hospital Samutprakarn