กินแคลเซียมช่วยเสริมกระดูกให้แข็งแรงได้จริงหรือไม่?
หลายคนคงเกิดความสงสัยไม่น้อย จากประโยคที่ว่า “กินแคลเซียมเยอะๆ กระดูกจะได้แข็งแรง” ซึ่งคำบอกเล่าเหล่านี้เรามักได้ยินตั้งแต่วัยเด็ก แต่การกินแคลเซียมจริงๆ แล้วนั้นจะสามารถช่วยเสริมกระดูกให้แข็งแรงได้จริงเหรอ? และหากกินมากเกินไปจะมีผลดีหรือผลกระทบอย่างไร? วันนี้ทางโรงพยาบาลเปาโล สมุทรปราการ จะมาไขข้อสงสัยเหล่านี้ให้
ทำความรู้จัก “แคลเซียม”
แคลเซียม แร่ธาตุที่มีส่วนสำคัญต่อโครงสร้างหลักของร่างกายหรือก็คือ “กระดูก” ซึ่งแคลเซียมมีหน้าที่ในการเสริมสร้างกระดูก อีกทั้งยังช่วยซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ หากร่างกายได้รับแคลเซียมในปริมาณที่มากเพียงพอก็จะสามารถเสริมสร้างความแข็งแรงให้กระดูกได้ และยังลดความเสี่ยงที่จะเป็นโรคกระดูกพรุนได้อีกด้วย
กินแคลเซียมช่วยเสริมกระดูกได้จริงหรือไม่?
การกินแคลเซียมสามารถช่วยเสริมสร้างกระดูกนั้นสามารถทำได้ แต่การเสริมสร้างกระดูกในที่นี้จะเป็นการรักษามวลกระดูกไม่ให้ลดลงจนเกิดเป็นโรคกระดูกพรุนในช่วงที่อายุมากขึ้น เนื่องจากเมื่อมีอายุที่มากขึ้นมวลกระดูกจะลดลงเรื่อยๆ การกินแคลเซียมจึงเป็นตัวช่วยเพื่อให้มวลกระดูกลดลงอย่างช้าที่สุด ดังนั้นการกินแคลเซียมจึงควรกินตั้งแต่ในช่วงอายุที่ยังน้อย เพราะในช่วงที่อายุยังน้อยร่างกายจะสามารถดูดซึมแคลเซียมและนำไปเสริมสร้างความหนาแน่นของมวลกระดูกได้ดี
4 พฤติกรรม...บำรุงกระดูกให้แข็งแรง
และหญิงตั้งครรภ์หรือเพศหญิงที่หมดประจำเดือนไปแล้วควรได้รับแคลเซียมวันละ 1200 มิลลิกรัม (ทั้งนี้โดยเฉลี่ยแล้วในแต่ละวันปริมาณในการบริโภคจะขึ้นอยู่กับอายุและสุขภาพของผู้บริโภคด้วย ในการรับประทานอาหารที่มีแคลเซียมแนะนำให้รับประทานในปริมาณครั้งละน้อยๆ หรืออาจแบ่งรับประทานหลายครั้งแทน เนื่องจากร่างกายจะสามารถดูดซึมแคลเซียมได้ดีกว่า)
อาหารจากธรรมชาติที่ช่วยเสริมสร้างแคลเซียม
โดยการรับประทานแคลเซียมให้ได้อย่างน้อย ร้อยละ 75 ของที่ควรใน 1 วัน จะสามารถช่วยลดอาการเสี่ยงเป็นโรคกระดูกพรุนได้โดยไม่จำเป็นต้องพึ่งแคลเซียมชนิดสำเร็จรูป
กินแคลเซียมมากไป...ใช่ว่าดี
การทานแคลเซียมมากเกินไปในแต่ละวันที่ต้องการควรได้รับในแต่ช่วงวัย อาจทำให้เกิดผลเสียต่อร่างกาย โดยผลข้างเคียงของการทานแคลเซียมมากเกินไป ได้แก่...
แม้ว่าการทานแคลเซียมจะมีผลดีต่อกระดูก และช่วยป้องกันโรคกระดูกพรุนได้ แต่การรับประทานแคลเซียมในปริมาณที่มากเกินไปไม่ได้ส่งผลดีต่อร่างกายแต่อย่างใด ทั้งยังทำให้เกิดโทษอีกด้วย โดยอาจเพิ่มโอกาสที่ทำให้เกิดนิ่วในไตหรือในระบบทางเดินปัสสาวะ หรืออาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจหรือโรคทางสมองบางชนิดได้ ดังนั้นควรที่จะรับประทานในปริมาณที่เหมาะสมควบคู่กับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอไปด้วย
บทความโดย
นายแพทย์กฤตเมธ อมรรักษา
แพทย์ประจำสาขากระดูกและข้อ
โรงพยาบาลเปาโล สมุทรปราการ