-
ผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียม...เปลี่ยนข้อสะโพกใหม่ ให้กลับมาเดินได้ปกติ
โรคข้อสะโพกเสื่อม ถือเป็นอีกหนึ่งโรคที่เกี่ยวข้องกับการอักเสบของข้อต่อ เพราะเกิดจากบริเวณกระดูกอ่อนที่คลุมพื้นผิวของข้อต่อเสื่อมลง จนหลุดร่อนออกไป ส่งผลให้ผู้ป่วยขยับตัวลำบาก ติดๆ ขัดๆ ตลอดวัน กระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันของผู้ป่วย หากปล่อยไว้จะยิ่งรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ จนอาจต้องรักษาด้วย “การผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียม” ในภายหลังได้
หน้าที่ของข้อสะโพก
ข้อสะโพกถือเป็นข้อต่อที่ใหญ่ที่สุดในร่างกาย ทำหน้าที่รับน้ำหนักของร่างกายในทุกๆ อิริยาบถ เช่น นั่ง เดิน ยืน หรือนอน อีกทั้งยังเป็นข้อต่อที่เชื่อมระหว่างกระดูกเชิงกรานกับกระดูกต้นขา โดยข้อสะโพกมีหน้าตาคล้ายลูกบอลกลมมน หรือที่เรียกว่า “หัวกระดูกสะโพก” เชื่อมอยู่ในเบ้ากระดูกสะโพกที่มีลักษณะเป็นแอ่งครึ่งวงกลมอยู่ในกระดูกเชิงกราน ซึ่งทั้งหัวกระดูกสะโพกและเบ้ากระดูกสะโพกจะมีผิวกระดูกอ่อนเคลือบอยู่ เพื่อหล่อลื่นข้อสะโพกให้เคลื่อนไหวได้อย่างอิสระ และชะลอการสึกหรอของผิวกระดูก
ทำความรู้จักโรค “ข้อสะโพกเสื่อม”
อวัยวะทุกส่วนในร่างกาย เมื่อผ่านการใช้งานมานานก็ย่อมเสื่อมสภาพ เช่นเดียวกัน เมื่อสะโพกผ่านการใช้งานเป็นเวลานาน หรือเคยเกิดอุบัติเหตุที่บริเวณสะโพก จะทำให้สะโพกเกิดการสึกหรอของผิวข้อเร็วขึ้น หรือเกิดการทรุดตัวของหัวกระดูกได้ง่าย ส่งผลให้เกิดโรคข้อสะโพกเสื่อมตามมาได้
นอกจากนี้ สาเหตุของโรคข้อสะโพกเสื่อมยังสามารถเกิดได้จากปัจจัยและสาเหตุอื่นๆ อีก เช่น การสูบบุหรี่ การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ปริมาณมาก การได้รับยาสเตียรอยด์เป็นเวลานาน เคยประสบอุบัติเหตุบริเวณข้อสะโพก หรือจากการใช้งานข้อสะโพกอย่างหนัก เป็นต้น
อาการปวดสะโพก...อาจบ่งบอกถึงข้อสะโพกเสื่อม
ผู้ป่วยโรคข้อสะโพกเสื่อม จะมีอาการดังนี้
ทำความรู้จัก “การผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียม”
การผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียม คือ การผ่าตัดใส่ข้อสะโพกเทียมแทนที่ข้อสะโพกเดิมที่เสื่อมสภาพหรือมีปัญหา เช่น กระดูกตาย กระดูกแตกหัก หรือโรคผิวข้อสะโพกเสื่อม เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถเคลื่อนไหวร่างกายได้สะดวกและกลับมาใช้ชีวิตประจำวันได้เป็นปกติ
อย่างไรก็ตาม ข้อสะโพกเทียมอาจมีความทนทานในผู้ป่วยแต่ละคนไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับการใช้ชีวิตประจำวันของผู้ป่วย หรือเทคนิคการผ่าตัดของแพทย์ ทั้งนี้ข้อสะโพกเทียมจะมีอายุการใช้งานเฉลี่ยอยู่ที่ 20 - 25 ปีหากไม่มีภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัด ซึ่งถือว่าเป็นการใช้งานค่อนข้างยาวนานสำหรับการผ่าตัดใส่อวัยวะเทียม โดยที่ไม่ต้องเปลี่ยนอวัยวะบ่อยๆ
ยิ่งไปกว่านั้น วงการการแพทย์ในปัจจุบันมีการพัฒนาอุปกรณ์การรักษาอยู่ตลอดเวลา ทำให้ในอนาคตเราอาจได้เห็นข้อสะโพกเทียมที่สามารถใช้งานได้ยาวนานกว่าขึ้นก็เป็นได้
อาการแบบไหนที่บอกว่า ควรผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียมได้แล้ว
จากอาการที่กล่าวมาข้างต้น หากผู้ป่วยได้รับการรักษาด้วยยา กายภาพบำบัด ใช้อุปกรณ์ช่วยพยุงเดิน หรือปรับเปลี่ยนท่าทางการใช้งานสะโพกแล้ว แต่อาการยังไม่ดีขึ้น หรือบรรเทาได้เพียงเล็กน้อยหรือชั่วคราว แพทย์อาจแนะนำให้ผู้ป่วยพิจารณาการรักษาด้วยการผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียม
ข้อจำกัดเมื่อต้องผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียม
แม้ว่าจะเป็นการรักษาที่ได้ผลดี แต่ก็ยังมีข้อจำกัดที่ไม่สามารถทำการผ่าตัดในผู้ป่วยบางรายได้ อาทิ
การเตรียมตัวก่อนเข้ารับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียม
อาการผิดปกติที่อาจเกิดขึ้นหลังผ่าตัด ที่ต้องรีบพบแพทย์ทันที
ทั้งนี้ การผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพก เป็นการผ่าตัดที่ต้องอาศัยทั้งความละเอียด และความเชี่ยวชาญจากแพทย์เฉพาะทางที่มีประสบการณ์ ซึ่งผู้ป่วยจะต้องพิจารณาร่วมกันกับแพทย์เพื่อเลือกแนวทางการผ่าตัดที่เหมาะสม ซึ่งการรักษาที่ดีจะช่วยให้ผู้ป่วยกลับมาใช้ชีวิตได้ตามปกติโดยเร็ว