กระดูกหัก (Bone Fracture) อาการบาดเจ็บที่ต้องรักษาอย่างถูกวิธี
โรงพยาบาลเปาโลเกษตร
21-มิ.ย.-2565

กระดูกหัก (Bone Fracture) ปัญหาสุขภาพที่ควรได้รับการวินิจฉัยให้ถูกต้องและได้รับการรักษาอย่างถูกวิธี เพื่อป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดตามมา เช่น กระดูกติดผิดรูป การเคลื่อนไหวของอวัยวะนั้นลดลง หรือแม้แต่พิการ เป็นต้นซึ่งปัญหากระดูกหัก นี้เกิดขึ้นได้กับทุกช่วงวัย สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มทั่วไปที่อายุน้อยกระดูกยังคงมีความแข็งแรงของกระดูก สาเหตุที่พบบ่อยมักมาจากการเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนหรือตกที่สูงซึ่งเป็นการบาดเจ็บที่เกิดจากความรุนแรง และในผู้กลุ่มผู้สูงอายุ ซึ่งผู้ป่วยกลุ่มนี้จะมีความแข็งแรงของกระดูกที่น้อย และมีภาวะกระดูกพรุนร่วมด้วย ส่งผลให้กระดูกแตกหักได้ง่าย จากการใช้ชีวิตประจำวันปกติเช่นเดินแล้วลื่นล้ม อีกทั้งยังเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนตามมาได้ง่าย ทั้งนี้การบาดเจ็บจากอุบัติเหตุ ทำให้เกิดอาการบาดเจ็บของร่างกายได้หลายอย่าง เช่น กระดูกหักหรือเนื้อเยื่ออ่อนบาดเจ็บ

อาการที่ต้องสังเกตกรณีสงสัยกระดูกหัก

หลังได้รับอุบัติเหตุ ที่มีแนวโน้มของการกระดูกหักที่สูงมาก ควรได้รับการตรวจวินิจฉัยเพิ่มเติม เพื่อประเมินอาการบาดเจ็บ เช่น  เอกซเรย์ (x-ray)  เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT Scan) ก่อนวางแผนการรักษาให้เหมาะสม คือ

        1. แขนหรือขาผิดรูป

        2. ไม่สามารถขยับ หรือเคลื่อนไหว อวัยวะที่ได้รับบาดเจ็บได้

        3. มีเสียงดังกรอบแกรบบริเวณกระดูก (crepitance)

การรักษากระดูกหัก

แพทย์จะพิจารณาตามข้อบ่งชี้ของการรักษาของการหักของกระดูกนั้นๆ ว่าควรรักษาเป็นไปในทางใด

1. การรักษาแบบไม่ผ่าตัด

การรักษาแนวทางนี้ส่วนใหญ่ก็คือใช้วิธีการเข้าเฝือก หรือ การ immobilization ของอวัยวะนั้นๆ

2. การรักษาแบบผ่าตัด

การผ่าตัดก็มีทั้งยึดตรึงกระดูกโดย แผ่นเหล็ก(plate) หรือ แท่งเหล็กในกระดูก (nail) หรือแม้แต่การยึดตรึงกระดูกภายนอกโดยใช้แท่งเหล็ก(external fixator) ซึ่งแพทย์จะเลือกใช้วิธีการใดนั้นก็จะพิจารณาตามข้อบ่งชี้จากกระดูกที่หัก โดยเฉพาะกรณีของการใช้แผ่นเหล็กยึดตรึงกระดูกในอดีต ต้องทำการเปิดแผลที่ใหญ่ และทำลายเนื้อเยื่อและเส้นเลือดที่มาเลี้ยงกระดูกนั้นๆ ส่งผลเสียหลายอย่างตามมามากมาย อาทิเช่น กระดูกไม่สมานกัน หรือสมานกันได้ยาก (delayed union or nonunion) หรือ เพิ่มความเสี่ยงต่อการติดเชื้อได้จากการทำลายเนื้อเยื่อบริเวณนั้นๆที่เยอะเกินความจำเป็น

ด้วยเหตุนี้ จึงมีแนวทางการผ่าตัดยึดตรึงกระดูกแบบแผลเล็ก Minimally Invasive Plate Osteosynthesis (MIPO) เป็นการยึดตรึงกระดูกหัก (Internal Fixation of Fractures) โดยมีวัสดุช่วยในการดามคือแผ่นเหล็ก (Plate and screw) โดยใช้เทคนิควิธีการเปิดบาดแผลเพื่อผ่าตัดเพียงเล็กน้อย โดยเปิดแผลเฉพาะตำแหน่งที่มีความจำเป็น สำหรับสอดแผ่นเหล็กเข้าไปใต้ชั้นกล้ามเนื้อเพื่อยึดตรึงกระดูกที่หักเท่านั้น  โดยลดการทำลายกล้ามเนื้อ และเนื้อเยื่ออื่นๆโดยเฉพาะเส้นเลือด โดยไม่จำเป็นทำให้บาดแผลมีขนาดเล็ก บาดเจ็บน้อย ฟื้นตัวได้ไว เมื่อเทียบกับการผ่าตัดชนิดเปิดบาดแผลโล่งตามขนาดความยาวของวัสดุที่ใช้ยึดตรึงกระดูกในแบบปกติ

 
เตรียมพร้อมป้องกัน ดูแลสุขภาพเพื่อลดความเสี่ยงการเกิดกระดูกหัก

เมื่อเริ่มเข้าสู่ช่วงอายุ 40 - 50 ปี ขึ้นไป การสะสมแคลเซียมในกระดูกเริ่มลดลงโดยธรรมชาติทำให้ความแข็งแรงของกระดูกเริ่มลดลง อาจส่งผลทำให้เกิดภาวะกระดูกบางหรือพรุนตามมาได้ ทำให้เพิ่มโอกาสมีความเสี่ยงของการเกิดกระดูกหักได้สูงขึ้น

ดังนั้น คนช่วงวัยนี้สามารถดูแลสุขภาพได้นอกเหนือจากการระมัดระวังการเกิดอุบัติเหตุและการออกกำลังกาย ก็คือการเพิ่มปริมาณแคลเซียมทางร่างกายให้เหมาะสม ก็จะช่วยเสริมความแข็งแรงให้กับกระดูกได้ วิธีการง่ายๆก็คือการรับประทานอาหารให้ครบทั้ง 5 หมู่ อย่างเพียงพอในทุกวัน โดยเฉพาะ นมหรือผลิตภัณฑ์จากนมไขมันต่ำ กระดูกปลาเล็กๆ ซึ่งถือเป็นกลุ่มอาหารที่มีแคลเซียมสูง  หรือสามารถเลือกเสริมปริมาณแคลเซียม และวิตามินดีซึ่งมีส่วนช่วยเพิ่มการดูดซึมแคลเซียมสู่ร่างกายได้ดีขึ้น เพิ่มเติมได้



" หากมีปัญหาการบาดเจ็บของกระดูก เอ็นกล้ามเนื้อ หรือกล้ามเนื้อ ควรได้รับการวางแผนดูแลรักษาอย่างถูกวิธี ทำให้เพิ่มโอกาสกระดูกที่หักกลับมาสมานกันได้สูงขึ้น และยังช่วยเพิ่มผลลัพธ์การรักษาที่ดีขึ้นได้"













🔹บทความสุขภาพ🔹 
➮ระมัดระวังอุบัติเหตุ หลีกเลี่ยงการเกิดภาวะกระดูกหัก
➮เทคนิคการผ่าตัด โรคกระดูกและข้อ
➮เอ็นไขว้หน้าข้อเข่าฉีก
➮โรคกระดูกพรุน





สอบถามรายละเอียดข้อมูลเพิ่มเติม
แผนกศัลยกรรม กระดูกและข้อ โรงพยาบาลเปาโล เกษตร
โทร. 02 1500 900 ต่อ 5114
Facebook : โรงพยาบาลเปาโล เกษตร
Line official account : Paolo Hospital Kaset
Line ID : @paolokaset