ตรวจสุขภาพ เพื่อรับมือความเสี่ยงโรคเรื้อรัง NCDs
โรงพยาบาลเปาโลโชคชัย4
20-ก.พ.-2567
โรค NCDs เป็นกลุ่มโรคที่ไม่ติดต่อ แต่ความเรื้อรังของโรคอาจนำไปสู่การเกิดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ซึ่งส่งผลร้ายต่อสุขภาพ และกลายเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับต้น ๆ ของคนไทย โดยเฉพาะคนวัยทำงานที่มักจะขาดการดูแลสุขภาพ และมีพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคต่าง ๆ


กลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง NCDs ที่เกิดจากพฤติกรรม
โรค NCDs หรือ non-communicable diseases คือกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ซึ่งเป็นโรคที่ไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อโรค และไม่สามารถแพร่ไปสู่ผู้อื่นได้ แต่เป็นโรคที่เกิดจากนิสัยหรือพฤติกรรมการดำเนินชีวิต เช่น ความดันโลหิตสูง เบาหวาน ไขมันในเลือดสูง ซึ่งส่วนใหญ่แล้วโรคกลุ่มนี้จะค่อยๆ สะสมอาการมีการดำเนินของโรคไปอย่างช้าๆ มีอาการอย่างต่อเนื่องและเรื้อรังในที่สุด หากไม่ได้รับการตรวจสุขภาพประจำปีมักจะไม่ทราบและไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้องทันเวลา จนอาการรุนแรงขึ้นและกลายเป็นอาการเรื้อรังในที่สุด

ทำไมต้องตรวจสุขภาพโรคเรื้อรัง NCDs ?
  • ค้นหาโรค การตรวจสุขภาพช่วยค้นพบโรคเรื้อรังในระยะเริ่มต้น ซึ่งสามารถวางแผนการรักษาได้ง่าย และเหมาะสมเฉพาะบุคคล
  • ติดตามโรค การตรวจสุขภาพช่วยให้แพทย์ติดตามความคืบหน้าของโรค และปรับการรักษาให้เหมาะสม
  • ป้องกันภาวะแทรกซ้อน การตรวจสุขภาพจะช่วยป้องกันภาวะแทรกซ้อนร้ายแรงจากโรคเรื้อรังได้
  • ส่งเสริมสุขภาพ การตรวจสุขภาพช่วยให้เข้าใจสุขภาพของตน ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อสุขภาพที่ดี



ตรวจสุขภาพโรคเรื้อรัง NCDs ตรวจอะไรบ้าง ?

การตรวจสุขภาพโรคเรื้อรัง เป็นวิธีในการติดตามและจัดการภาวะเรื้อรัง เพราะโรคเรื้อรังมักมาพร้อมกับความเสี่ยงที่สูงขึ้นในการเกิดภาวะแทรกซ้อน  
  • ตรวจร่างกายโดยทั่วไป โดยแพทย์เฉพาะทาง
  • ตรวจวัดความดันโลหิต
  • ตรวจเลือด
  • ตรวจปัสสาวะ
  • ตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือด
  • ตรวจตา และเท้า
ซึ่งความถี่ในการตรวจสุขภาพเรื้อรังจะขึ้นอยู่กับภาวะที่เป็นอยู่  โดยทั่วไปแล้วควรได้รับการตรวจสุขภาพเรื้อรังอย่างน้อยปีละครั้ง หรือบ่อยกว่านั้นตามคำแนะนำของแพทย์

ใครบ้างที่ควรตรวจสุขภาพโรคเรื้อรัง NCDs
  • ผู้ที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป
  • ผู้ที่มีประวัติครอบครัวเป็นโรคเรื้อรัง
  • ผู้ที่มีน้ำหนักเกินหรืออ้วน
  • ผู้ที่มีพฤติกรรมเสี่ยง เช่น สูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์ ไม่ค่อยออกกำลังกาย
  • ผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น เบาหวาน ไขมัน ความดัน

การดูแลสุขภาพในกลุ่มโรคเรื้อรัง NCDs
  • ตรวจเช็กและประเมินโอกาสการเกิดภาวะแทรกซ้อน รวมถึงให้คำแนะนำในการเฝ้าระวังสังเกตอาการของภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้ เช่น เจ็บแน่นหน้าอก หายใจหอบเหนื่อย กล้ามเนื้ออ่อนแรง
  • ดูแลเรื่องยา เพราะยาแต่ละชนิดที่รับประทานอาจมีผลข้างเคียงกับสุขภาพ หรือยาที่รักษาในแต่ละโรคมีความซ้ำซ้อนกัน ในกรณีที่ป่วยหลายโรค หรือรับการรักษาจากหลายโรงพยาบาล
  • ให้ความรู้และแนะนำถึงวิธีการปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิต เช่น เรื่องอาหาร การนอนหลับ และการออกกำลังกาย เพื่อเพิ่มศักยภาพของการรักษาให้ดีขึ้น เนื่องจากในปัจจุบันคนไข้ส่วนใหญ่จะไม่ค่อยใส่ใจในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม แต่จะพึ่งยาเป็นหลัก 

การดูแลผู้ที่มีโอกาสเสี่ยงเป็นโรคเรื้อรัง NCDs
โดยแพทย์จะให้คำแนะนำการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตที่เหมาะสมกับแต่ละบุคคลที่แตกต่างกันออกไป ตามปัจจัยเสี่ยงของแต่ละบุคคล เช่น เพศ อายุ และอาชีพ
  • ปรับเปลี่ยนการรับประทานอาหาร โดยเน้นอาหารที่ทีประโยชน์ให้ครบ 5 หมู่ ผักและผลไม้ และหลีกเลี่ยงอาหารรสหวานจัด เค็มจัด อาหารมัน และปิ้งย่าง
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ อย่างน้อย 30 นาที/ครั้ง สัปดาห์ละ 5 ครั้ง
  • งดดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หรือสูบบุหรี่
  • พักผ่อนให้เพียงพอ และไม่เครียดจนเกินไป
  • รับประทานยาตามแพทย์สั่ง ไม่ซื้อยารับประทานเองโดยไม่ปรึกษาแพทย์
  • ตรวจสุขภาพประจำปีอย่างสม่ำเสมอ เพราะจะช่วยให้ค้นหาโรค และทำการรักษาได้อย่างทันท่วงที รวมถึงป้องกันความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้


ซึ่งโรคไม่ติดเรื้อรัง NCDs เป็นโรคที่จะต้องรับการรักษาอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต และยากที่จะรักษาให้หายขาด แต่หากตรวขก่อน ป้องกันก่อน ก็จะช่วยส่งเสริมการรักษาของโรคให้ดี และมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น


ปรึกษาปัญหาสุขภาพ

คลินิกอายุรกรรม อาคาร 5 ชั้น 1
โรงพยาบาลเปาโล โชคชัย 4
โทร. 02-514-4141 ต่อ 5188 - 5189