เส้นเอ็นข้อเข่าฉีกขาด…จำเป็นต้อง “ผ่าตัด” หรือไม่
โรงพยาบาลเปาโลโชคชัย4
08-พ.ย.-2561
title ในแต่ละวันเราใช้งานข้อเข่ากันไปไม่น้อยเลย ไม่ว่าการเดินเร็ว การวิ่ง การขึ้น-ลงบันได หรือในกลุ่มของนักกีฬาที่เสี่ยงต่อการบาดเจ็บสูง ซึ่ง “ภาวะเส้นเอ็นข้อเข่าฉีกขาด”

ถือว่าเป็นอาการที่สร้างความเจ็บปวดและกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันอย่างมาก และในผู้ป่วยแทบทุกรายมักเกิดคำถามว่า “ฉันต้องผ่าตัด” หรือไม่? เพื่อไขข้อสงสัย…เราจึงค้นหาคำตอบมาบอกคุณ!

อาการบ่งชี้…”ภาวะเส้นเอ็นข้อเข่าฉีกขาด”

- รู้สึกถึงอาการเข่าบิดพลิกอย่างรุนแรงและปวดเข่าในทันที
- เดินลงน้ำหนักไม่ได้ หรือได้ไม่เต็มที่
- ข้อเข่าบวม สาเหตุมาจากการมีเลือดออกในข้อเข่า
- อาการค่อยๆดีขึ้น แต่มักมีอาการเวลาที่ทำกิจกรรมที่หัวเข่าต้องบิดหมุน เช่น เดินเร็ว, วิ่ง หรือเล่นกีฬา

เมื่อเส้นเอ็นข้อเข่าฉีกขาด…ต้องผ่าตัดทุกรายหรือไม่

หากมีภาวะเส้นเอ็นไขว้หน้าขาด อาจยังสามารถใช้ชีวิตประจำวันได้ แต่อาจเกิดข้อเข่าเคลื่อนเมื่อผู้ป่วยทำกิจกรรมที่ต้องมีการบิดหมุนหัวเข่า และยังเพิ่มโอกาสเสี่ยงในการเกิดการบาดเจ็บต่อหมอนรองเข่าและผิวกระดูกอ่อนข้อเข่า ซึ่งถือว่าเป็นภาวะที่รุนแรงกว่า ดังนั้นการรักษาภาวะเส้นเอ็นข้อเข่าฉีกขาด อาจรักษาเบื้องต้นด้วยการบริหารเพื่อฝึกข้อต่อและกล้ามเนื้อ ควบคู่ไปกับการให้ยา และเลี่ยงกิจกรรมที่ต้องเกิดการบิดหมุนของหัวเข่า


การรักษาเส้นเอ็นข้อเข่าฉีกขาดด้วยการผ่าตัด…ดีอย่างไร

เพราะเส้นเอ็นข้อเข่าที่ฉีกขาดไม่สามารถเย็บให้กลับมาติดกันใหม่ได้ แพทย์จึงต้องทำการสร้างเส้นเอ็นใหม่ โดยในปัจจุบันมีการผ่าตัดเส้นเอ็นไขว้หน้าด้วยการส่องกล้อง พร้อมกับใช้เส้นเอ็นจากตำแหน่งอื่นมาทำเอ็นไขว้หน้าใหม่ โดยเส้นเอ็นที่นิยมนำมาทดแทนนั้น คือ เส้นเอ็นสะบ้า ซึ่งอยู่ระหว่างสะบ้ากับกระดูกแข้ง และ เส้นเอ็น Hamstrings ซึ่งอยู่ด้านในของข้อเข่า


หลังผ่าตัดรักษาเส้นเอ็นข้อเข่าฉีกขาด ควร “ดูแลตนเอง” อย่างไร?

- หลังผ่าตัดตลอด 1 เดือน ควรใช้ไม้เท้าและสนับเข่า
- หลังผ่าตัด 1 เดือนครึ่ง ให้หยุดใช้ไม้เท้าและสนับเข่า
- หลังผ่าตัด 3 เดือน ให้ค่อยๆ เพิ่มความเร็วในการเดิน
- หลังผ่าตัด 6-9 เดือน ทำกายภาพบำบัดอย่างต่อเนื่องก่อนกลับมาใช้งานข้อเข่าตามปกติ

สอบถามรายละเอียด

ศูนย์กระดูกและข้อ อาคาร 2 ชั้น 2
โรงพยาบาลเปาโล โชคชัย 4
โทร.02-514-4141 ต่อ 1102 – 1105