ปวดคอแบบไหน? ที่ส่งสัญญาณว่า… ได้เวลาไปหาหมอ!
โรงพยาบาลเปาโลโชคชัย4
09-ต.ค.-2561
title คอเป็นอวัยวะหนึ่งที่มีการใช้มากที่สุด ยิ่งการทำงานในยุคปัจจุบันคนต้องทำงานกับคอมพิวเตอร์ ต้องก้มหน้า เงยหน้าอยู่ตลอด ต้องใช้สมองมากทำให้เกิดความเครียด จึงเกิดอาการปวดคอได้ง่าย

ความบอบบาง…ที่ต้องการการดูแล

คอเรียกว่าเป็นอวัยวะที่บอบบางเมื่อเทียบกับขนาดสมองและลำตัว อีกทั้งยังเป็นศูนย์รวมของเส้นประสาทที่รับคำสั่งจากสมองไปยังส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย อาการปวดคอที่พบได้บ่อยที่สุดคือกล้ามเนื้อคอหดเกร็งทำให้เอี้ยวคอหรือเคลื่อนไหวศีรษะไม่ได้ หรือที่เรียกว่าอาการนอนตกหมอนนั่นเองซึ่งอาการของการปวดคอแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะคือแบบเฉียบพลันและแบบเรื้อรัง

แบบไหนที่เรียกว่า “เฉียบพลัน”

ในระยะเฉียบพลันส่วนใหญ่จะเกี่ยวกับกล้ามเนื้อ จะมีจุดกดเจ็บอยู่ชัดเจนบริเวณสะบัก หรือบริเวณคอด้านหลัง

ส่วนใหญ่จะสัมพันธ์กับกลุ่มออฟฟิศซินโดรม กลุ่มคนที่ต้องนั่งนาน ๆ อยู่ในอิริยาบถของคองุ้มไหล่งุ้มไม่ถูกสุขลักษณะ จึงมีอาการล้าของกล้ามเนื้อสะบักกล้ามเนื้อคอได้ง่าย แต่เบื้องต้นสามารถดูแลตนเองด้วยการฝึกยืดกล้ามเนื้อเองหรือใช้ยานวดยาทาหรือใช้ยาแก้อักเสบกินเบื้องต้นได้

คลายอาการปวด… ด้วยการบริหาร

โดยวิธีที่จะป้องกันและบรรเทาอาการปวดคอนั้นควรทำกายบริหาร โดยพยายามออกกำลังกล้ามเนื้อบริเวณโดยรอบคอให้แข็งแรงขึ้นเนื่องจากในชีวิตประจำวัน คนส่วนใหญ่แทบจะไม่ได้ขยับกล้ามเนื้อบริเวณคอเลย สามารถบริหารกล้ามเนื้อคอได้โดยการยืดและการเกร็งกล้ามเนื้อดังนี้

- การยืดกล้ามเนื้อก้มให้คางชิดอกค้างไว้นับ 10 วินาทีแล้วเงยหน้าขึ้นในทิศทางตรงข้าม ค้างไว้ 10 วินาทีจากนั้นก็ทำเช่นเดียวกันแต่ให้หันหน้าและเอียงศีรษะไปในทิศทางซ้ายและขวาค้างไว้ข้างละ 10 วินาทีเพื่อเป็นการยืดกล้ามเนื้อและข้อต่อให้มีการเคลื่อนไหว

การเกร็งกล้ามเนื้อเพื่อเสริมความแข็งแรงและความทนทาน ให้กล้ามเนื้อคอด้วยการเอามือดันศีรษะไว้ในทิศทางใดทิศทางหนึ่งขณะเดียวกัน ก็พยายามเกร็งคอเพื่อต้านแรงดันจากมือที่ดันศีรษะไว้ให้ทำทุกทิศทาง ทั้งดันขมับด้านซ้ายและขวา หน้าผากและท้ายทอยการทำเช่นนี้จะช่วยให้คอได้ออกกำลังกาย

ทั้งนี้ในปัจจุบันมีวิธีการรักษาหลายทาง เช่นการกินยาทำกายภาพบำบัด จี้ด้วยเข็ม การฝังเข็มปัจจุบันวิวัฒนาการในการรักษาโรคนี้ไม่จำเป็นต้องอาศัยวิธีการผ่าตัดเท่านั้น และที่สำคัญที่สุดควรจะหมั่นออกกำลังกล้ามเนื้อคอทุก ๆ วันและพยายามลดความเครียดจากชีวิตประจำวัน โดยการออกกำลังกายเพื่อให้สุขภาพแข็งแรงอยู่เสมอ

สอบถามรายละเอียด
ศูนย์กระดูกและข้อ อาคาร 2 ชั้น 2
โรงพยาบาลเปาโล โชคชัย 42
โทร.02-514-4141 ต่อ 1102 – 1105