หากตรวจพบว่ามีความผิดปกติของหมอนรองกระดูก จากอาการปวดหลังเรื้อรังหรืออาการปวดร้าวลงขา สิ่งสำคัญที่ไม่ควรละเลยก็คือการเข้ามารับคำปรึกษา หรือตรวจวินิจฉัยกับแพทย์เฉพาะทางโดยตรง ไม่ใช่แค่เพียงการรับประทานยาแก้ปวดด้วยตนเอง เเล้วจะหายเองได้ เพราะอาการเหล่านี้อาจเป็นสัญญาณเตือนว่าคุณกำลังเสี่ยงเป็นโรคเกี่ยวกับกระดูกสันหลังอยู่นั่นเอง
การผ่าตัดกระดูกสันหลังผ่านกล้อง (Endoscopic spine surgery)
เพราะคนส่วนใหญ่ยังคงมีความกังวลเกี่ยวกับเรื่องการผ่าตัดอยู่มากพอสมควร แต่ด้วยเทคนิคการผ่าตัดแผลเล็ก ความเชี่ยวชาญทางการแพทย์แบบเฉพาะทาง และเทคโนโลยีการผ่าตัดผ่านกล้อง Endoscope จึงทำให้การผ่านตัดมีความปลอดภัยมากขึ้น มีความเสี่ยงน้อยลง และเป็นทางเลือกหนึ่งของการรักษาที่จะช่วยให้ผู้ป่วยหายดี และกลับมามีชีวิตปกติได้อีกครั้ง โดยเป็นวิธีการรักษาที่ดีกว่าการผ่าตัดกระดูกสันหลังแบบเปิดแผลปกติ
ซึ่งปัจจุบันได้มีการผ่าตัดส่องกล้องมาใช้ในการรักษาโรคเกี่ยวกับกระดูกสันหลัง (Endospine) สำหรับผู้ป่วยที่เป็นหมอนรองกระดูกแตก เคลื่อน และหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท ซึ่งเป็นการผ่าตัดที่เจ็บน้อย (minimally invasive spine surgery) และเป็นการผ่าตัดที่ใช้เทคโนโลยี ร่วมกับเทคนิคในการผ่าตัดสมัยใหม่ เพื่อให้แพทย์สามารถมองเห็นจุดเกิดเหตุ หรือตำแหน่งเกิดโรคได้อย่างชัดเจน โดยที่ไม่จำเป็นต้องเปิดปากแผลใหญ่ และไม่ต้องสร้างความบอบช้ำบริเวณเนื้อเยื่อกล้ามเนื้อให้น้อยที่สุด เพื่อลดโอกาสที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆได้ และให้ผู้ป่วยกลับมาเคลื่อนไหวอย่างมั่นใจได้อีกครั้ง โดยไม่ต้องทนทรมานกับอาการปวดเหล่านี้อีกต่อไป
อาการที่สามารถนำไปสู่โรคเกี่ยวกับกระดูกสันหลัง- ปวดหลังบริเวณเอว
- ปวดหลังร้าวลงขา
- ปวดร้าวลงมาถึงบริเวณก้นกบ ต้นขา น่อง หลังเท้า ฝ่าเท้า หรือนิ้วเท้า
- การอ่อนแรงของกล้ามเนื้อ เหน็บชาบริเวณขา
- มีอาการควบคุมการขับถ่ายไม่ได้ หรือปัสสาวะไม่ออก
กรณีใดบ้าง ? ที่สามารถผ่าตัดแบบ Endospine ได้- หมอนรองกระดูกสันหลังเคลื่อนกดทับเส้นประสาท (Disc Herniation) ซึ่งสามารถทำได้ในทุกชนิด และทุกตำแหน่งโดยสามารถใช้การผ่าตัดด้วยกล้อง Endoscope ในส่วนกระดูกสันหลังส่วนเอวและต้นคอ เพื่อเข้าไปยังเส้นประสาทส่วนที่ถูกกดทับอยู่โดยตรง โดยที่ไม่ต้องตัดเลาะ กล้ามเนื้อส่วนที่ดีออก ซึ่งจะพบได้ในผู้ที่มีอายุ 20-50 ปี หรืออาจเกิดขึ้นได้เฉียบพลันจากการใช้ชีวิต เช่น ก้มยกของหนัก เกิดจากการเล่นกีฬา และการทำกิจกรรมที่หนักๆ
- ข้อกระดูกสันหลังเคลื่อน ที่ต้องการการเชื่อมข้อ (Spondylolisthesis) โดยสามารถใช้การผ่าตัดด้วยกล้อง Endoscope ในส่วนของกระดูกสันหลังส่วนเอว เพื่อตัดเลาะข้อกระดูกบางส่วน และเส้นเอ็นที่มีความหนาผิดปกติออก เพื่อให้โพรงประสาทกว้างขึ้น และไม่ให้เส้นประสาทโดนทับ ซึ่งส่วนใหญ่ใช้เวลาประมาณ 1-2 ชั่วโมง หรืออาจมีความแตกต่างกันบ้างขึ้นกับความรุนแรงของการกดทับเส้นประสาท โดยส่วนใหญ่จะพบในผู้สูงอายุ 50 ปีขึ้นไป
- โพรงประสาทตีบแคบทับเส้นประสาท (Spinal canal stenosis) โดยเฉพาะผู้ป่วยที่มีอาการปวดหลังร้าวลงขาเพียงข้างเดียว และมีพยาธิสภาพชัดเจนที่ระดับเดียว ซึ่งสามารถใช้การผ่าตัดด้วยกล้อง Endoscope ในส่วนกระดูกสันหลังส่วนเอว และต้นคอ โดยแพทย์สามารถเลือกตัดเฉพาะส่วนที่กดทับจากหมอนรองกระดูกที่ปลิ้น หรือการบีบรัดจากกระดูกข้อตรงตำแหน่งของหมอนรองกระดูกที่มีปัญหาได้
ข้อดีของการผ่าตัดกระดูกสันหลัง Endospine- ไม่ต้องผ่าตัดใส่เหล็กดาม
- โอกาสสำเร็จจากการผ่าตัดสูงกว่า 95%
- แผลผ่าตัดมีขนาดเล็กเพียง 8 มิลลิเมตร
- ลดภาวะแทรกซ้อนหลังการผ่าตัด
- เจ็บน้อย เสียเลือดน้อย และลดระยะเวลาการพักฟื้นในโรงพยาบาล
- ลดการทำลายเนื้อเยื่อส่วนดีที่อยู่รอบบริเวณผ่าตัด
เพราะฉะนั้น หากปล่อยให้เรื้อรังจนเกิดอาการเจ็บหรือปวดหนัก ก็อาจทำให้คุณภาพชีวิตลดลง หรือไม่สามารถกลับไปทำกิจวัตรประจำวันได้อย่างมีประสิทธิภาพ และอาจส่งผลให้กระดูก และข้อเสื่อมจนยากเกินที่จะฟื้นฟูให้กลับมาดีดังเดิมได้
ปรึกษาปัญหาสุขภาพ
ศูนย์ศัลยกรรมกระดูกและข้อ อาคาร 1 ชั้น 1
โรงพยาบาลเปาโลโชคชัย 4
โทร. 02-514-4141 ต่อ 1100-1105
Line id : @Paolochokchai4