วัคซีนกับการเปลี่ยนแปลงตามช่วงวัยของเด็ก
วัคซีนเป็นวิธีป้องกันโรคอีกหนึ่งวิธี ที่จะช่วยให้เด็กๆมีภูมิคุ้มกันต่อโรคต่างๆ ได้ในระดับหนึ่ง โดยวัคซีนสำหรับเด็กมีหลายชนิด ซึ่งแต่ละชนิดมีช่วงเวลาในการฉีดที่แตกต่างกันไป คุณพ่อคุณแม่ควรพาเด็กไปฉีดวัคซีนตามกำหนด เพื่อปกป้องลูกน้อยจากโรคร้าย
วัคซีนกับช่วงอายุที่เด็กควรฉีด
➤ ช่วงอายุแรกเกิด
วัคซีนหลักที่ควรได้รับ
1. วัคซีนบีซีจี (BCG)
ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น วัคซีนบีซีจี (BCG) อาจทำให้เป็นฝีชั้นใต้ผิวหนัง ต่อมน้ำเหลืองโตเฉพาะที่
2. วัคซีนไวรัสตับอักเสบ (HEPBV₁)
ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น วัคซีนไวรัสตับอักเสบ (HEPBV₁) อาจมีไข้ เบื่ออาหาร อ่อนเพลีย
➤ ช่วงอายุ 2 เดือน
วัคซีนหลักที่ควรได้รับ
1. วัคซีนคอตีบ-บาดทะยัก-ไอกรน-เยื่อหุ้มสมองอักเสบจากเชื้อฮิบ (DTP₂-HIB₂)
ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น มีไข้ ร้องกวน บางรายอาจมีอาการปวด บวม
แดงร้อนบริเวณที่ฉีด
2. โปลิโอชนิดฉีด (IPV₂)
ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น อาจเกิดภาวะกล้ามเนื้ออ่อนแรงหรืออัมพาตคล้ายโรคโปลิโอได้
(ส่วนใหญ่พบได้น้อย)
3. วัคซีนป้องกันโรคอุจาระร่วง โรต้า (Rota Virus)
ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น
ลูกอาจมีอาการงอแง มีไข้ เบื่ออาหาร อาเจียน
วัคซีนเสริมที่สามารถฉีดได้ในช่วงอายุ 4 เดือน
1. วัคซีนไอพีดี (IPD) *กรณีที่ยังไม่ได้ฉีดเสริมตอนช่วงอายุ 2 เดือน*
➤ ช่วงอายุ 6 เดือน
วัคซีนหลักที่ควรได้รับ
1. วัคซีนคอตีบ-บาดทะยัก-ไอกรน-เยื่อหุ้มสมองอักเสบจากเชื้อฮิบ -ตับอักเสบบี (DTP₃-HIB₃-HEPBV₃)
ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น มีไข้ ร้องกวน บางรายอาจมีอาการปวด บวม
แดงร้อนบริเวณที่ฉีด
2. โปลิโอชนิดฉีด (IPV₃)
ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น อาจเกิดภาวะกล้ามเนื้ออ่อนแรงหรืออัมพาตคล้ายโรคโปลิโอได้
(ส่วนใหญ่พบได้น้อย)
3. วัคซีนป้องกันโรคอุจาระร่วง โรต้า (Rota Virus)
ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น
ลูกอาจมีอาการงอแง มีไข้ เบื่ออาหาร อาเจียน
วัคซีนเสริมที่สามารถฉีดได้ในช่วงอายุ 6
เดือน
1. วัคซีนไอพีดี (IPD) *กรณีที่ยังไม่ได้ฉีดเสริมตอนช่วงอายุ 2 หรือ 4 เดือน*
2.
วัคซีนไข้หวัดใหญ่ (Influenza)
ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น
ปวดบวมแดงบริเวณที่ฉีด ปวดเมื่อยตามตัว
3. วัคซีนมือเท้าปาก (HFMD)
➤ ช่วงอายุ 9 เดือน – 12 เดือน
วัคซีนหลักที่ควรได้รับ
1. วัคซีนหัด-คางทูม-หัดเยอรมัน (MMR₁)
ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น ผื่นขึ้นแบบลมพิษ หายใจลำบาก ตามบวม
2. วัคซีนไข้สมองอักเสบเจอี (LAJE₁)
ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น มีไข้ อ่อนเพลีย ปวดศีรษะ คลื่นไส้ เกิดผื่นแบบลมพิษ
➤ช่วงอายุ 1 ปี ขึ้นไป
วัคซีนหลักที่ควรได้รับ
1. วัคซีนสุกใส (Chicken pox)
ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น ปวดบวมแดงบริเวณที่ฉีด มีตุ่มน้ำใสเล็ก ๆ ขึ้นทั่วตัว มักมีอาการคันร่วมด้วย ต่อมาผื่นจะตกสะเก็ดและหลุดออกหมด
2. วัคซีนตับอักเสบ เอ
วัคซีนเสริมที่สามารถฉีดได้ในช่วงอายุ 1 ปี 3 เดือน
1. วัคซีนไอพีดี (IPD) *กรณีที่ยังไม่ได้ฉีดเสริมตอนช่วงอายุ 2 , 4 หรือ 6 เดือน*
➤ช่วงอายุ 1 ปี 6 เดือน
วัคซีนหลักที่ควรได้รับ
1. วัคซีนคอตีบ-บาดทะยัก-ไอกรน-เยื่อหุ้มสมองอักเสบจากเชื้อฮิบ (DTP₄-HIB₄)
ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น มีไข้ ร้องกวน บางรายอาจมีอาการปวด บวม แดงร้อนบริเวณที่ฉีด
2. โปลิโอชนิดฉีด (IPV₄)
ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น อาจเกิดภาวะกล้ามเนื้ออ่อนแรงหรืออัมพาตคล้ายโรคโปลิโอได้ (ส่วนใหญ่พบได้น้อย)
3. วัคซีนหัด-คางทูม-หัดเยอรมัน (MMR₂)
ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น ผื่นแบบลมพิษ หายใจลำบาก ตาบวม
➤ ช่วงอายุ 2 ปี 6 เดือน
วัคซีนหลักที่ควรได้รับ
1. วัคซีนไข้สมองอักเสบเจอี (LAJE₂)
ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น มีไข้ อ่อนเพลีย ปวดศีรษะ เกิดผื่นแบบลมพิษ
➤ ช่วงอายุ 3 ปี – 3 ปี 4 เดือน
วัคซีนเสริมที่สามารถฉีดได้ในช่วงอายุ 3 ปี – 3 ปี 4 เดือน
1. วัคซีนไวรัสตับอักเสบเอ (Hepatitis A₂) *เข็มที่ 2 ห่างจากเข็มแรก 6 เดือน – 1 ปี*
ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น ไข้ ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย
2. วัคซีนไข้หวัดใหญ่ (Influenza)
ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น ปวดบวมแดงบริเวณที่ฉีด ปวดเมื่อยตามตัว
➤ช่วงอายุ 4 ปี ขึ้นไป
วัคซีนที่ควรได้รับ : 1. วัคซีนไข้เลือดออก
2. วัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า (ก่อนสัมผัสโรค)
นอกจากวัคซีนเหล่านี้แล้ว เด็กบางกลุ่มอาจจำเป็นต้องฉีดวัคซีนเพิ่มเติม เช่น เด็กที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง เด็กที่เดินทางไปต่างประเทศ เป็นต้น พ่อแม่ควรปรึกษาแพทย์เพื่อรับคำแนะนำในการฉีดวัคซีนที่เหมาะสมกับลูกน้อย
ประโยชน์ของการฉีดวัคซีน
1. ช่วยป้องกันโรคร้ายต่างๆ ที่อาจทำให้เด็กเสียชีวิตหรือพิการได้
ข้อควรปฏิบัติก่อนและหลังฉีดวัคซีน
ก่อนฉีดวัคซีน พ่อแม่ควรแจ้งให้แพทย์ทราบเกี่ยวกับประวัติทางการแพทย์ของลูกน้อย เช่น แพ้ยา แพ้อาหาร หรือมีโรคประจำตัวใดๆ เป็นพิเศษ
หลังฉีดวัคซีน เด็กอาจมีอาการข้างเคียง เช่น ปวด บวม แดง บริเวณที่ฉีด อ่อนเพลีย ไข้ ปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน ผู้ปกครองควรสังเกตอาการเหล่านี้ หากมีอาการรุนแรง ควรรีบพาเด็กไปพบแพทย์
📚บทความสุขภาพ📚
📖โรคไข้เลือดออก
📖โรคไวรัส RSV ในเด็ก
📖ภูมิคุ้มกัน สำคัญต่อลูกน้อยอย่างไร
📖รับมืออย่างไร เมื่อลูกเป็นไข้หวัดใหญ่