-
วินิจฉัยความเสี่ยงของหัวใจให้ปลอดภัย...ด้วยการตรวจ EST
อาการเจ็บหน้าอกที่มักเกิดขึ้นตอนที่ร่างกายกำลังได้ใช้กำลัง อาจบ่งบอกถึงความผิดปกติที่เกิดขึ้นจาก “โรคหัวใจ” ซึ่งจัดอยู่ในกลุ่มโรคที่มักไม่แสดงอาการชัดเจน ดังนั้นจึงมีการตรวจคัดกรองโรคหัวใจที่เป็นการตรวจสมรรถภาพหัวใจขณะออกกำลังกาย หรือที่รู้จักกันในชื่อ EST
เจ็บหน้าอก หรือเหนื่อยหอบไม่ทราบสาเหตุ...รู้ได้ด้วยการตรวจ EST !
การตรวจ EST หรือการตรวจสมรรถภาพหัวใจขณะออกกำลังกาย (Exercise Stress Test) เป็นการทดสอบสมรรถภาพของหัวใจโดยการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจขณะออกกำลังกาย เพื่อดูว่าหัวใจมีภาวะขาดเลือดหรือไม่ เนื่องจากขณะที่ร่างกายกำลังออกกำลังกายอย่างหนัก ร่างกายจะสร้างแรงเค้นต่อกล้ามเนื้อหัวใจ ทำให้หัวใจจะต้องการเลือดและออกซิเจนมาหล่อเลี้ยงให้เพียงพอ หากหัวใจมีเลือดและออกซิเจนมาหล่อเลี้ยงไม่เพียงพอ ผู้ที่ป่วยเป็นโรคหัวใจจะมีอาการแน่นหน้าอก ความดันเลือดลดลง หัวใจเต้นผิดปกติ หรือมีความผิดปกติของคลื่นไฟฟ้าหัวใจ
ขั้นตอนการตรวจ EST
การตรวจ EST มีวิธีทดสอบหลักๆ อยู่ 2 วิธี คือ การเดินสายพาน (Treadmill) และการปั่นจักรยาน (Cycling) แต่วิธีที่ได้รับความนิยมส่วนใหญ่คือ การเดินสายพาน (Treadmill) โดยขั้นตอนการตรวจมีดังนี้
หากพบว่าขณะทดสอบ ผู้เข้ารับบริการมีความผิดปกติทั้งอาการทางกายภาพ เช่น แน่นหน้าอก เวียนศีรษะ หรือหอบเหนื่อยรุนแรง หรือผลจากคลื่นไฟฟ้าหัวใจมีความผิดปกติ การทดสอบจะสิ้นสุดลงโดยใช้ระยะเวลาประมาณ 20-30 นาที
การเตรียมตัวก่อนการตรวจ EST
ประโยชน์ของการตรวจ EST
ใครบ้าง...ที่ควรตรวจ EST
การตรวจ EST เป็นการตรวจคัดกรองโรคหัวใจที่มีความจำเพาะ มักเหมาะสำหรับผู้ที่มีอาการผิดปกติซึ่งอาจมีความสงสัยว่ามีสาเหตุมาจากภาวะหัวใจขาดเลือด เช่น เจ็บแน่นหน้าอก เหนื่อยง่ายกว่าปกติ หรือเหนื่อยมากเมื่อออกกำลังกาย รวมถึงผู้ที่มีความเสี่ยงต่อโรคหัวใจขาดเลือด เช่น
เพราะหัวใจเป็นอวัยวะที่มีความสำคัญเป็นอย่างมากต่อร่างกาย ซึ่งมีการทำงานตลอดเวลา หากเกิดความผิดปกติอย่างเฉียบพลันอาจทำให้เกิดอันตรายที่ถึงแก่ชีวิตได้ ดังนั้นการตรวจคัดกรองโรคหัวใจในผู้ที่สมควรได้รับการตรวจ หรือผู้ที่สงสัยว่ามีความผิดปกติทางระบบหัวใจ จึงเป็นเหมือนการสร้างเกราะป้องกันให้ร่างกาย เพราะรู้ไว้ก่อนสามารถแก้ไขปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตได้
บทความโดย
นายแพทย์สรศักดิ์ เอกอมรพันธ์
แพทย์ประจำสาขาอายุรกรรมหัวใจและหลอดเลือด
โรงพยาบาลเปาโล สมุทรปราการ
สอบถามรายละเอียด
แผนก อายุรกรรมหัวใจและหลอดเลือด อาคาร 1 ชั้น 3
โรงพยาบาลเปาโล สมุทรปราการ
โทร 02-363-2000 ต่อ 2325-2326