-
การตรวจ Echo หัวใจคืออะไร...ทำไมต้องตรวจ?
“โรคหัวใจ” ไม่ใช่แค่เพียงโรคที่พบแค่ในผู้สูงอายุ แต่แท้จริงแล้วไม่ว่าจะวัยไหนๆ ก็สามารถเป็นโรคหัวใจได้ทั้งนั้น และสาเหตุของการเสียชีวิตจากโรคหัวใจส่วนใหญ่มักมาจากการไม่รู้ว่าตัวเองกำลังเป็นโรคหัวใจ ดังนั้นการตรวจคัดกรองโรคหัวใจจึงเป็นสิ่งที่สำคัญแม้ในผู้ที่อายุยังน้อย และหนึ่งในวิธีที่มีประสิทธิภาพในการตรวจหัวใจนั่นคือ...การทำ Echo หัวใจ
ตรวจประเมินหัวใจด้วย “การทำ Echo”
การทำ Echo หัวใจ หรือการตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง (Echocardiogram) เป็นการตรวจวัดประสิทธิภาพการทำงานของหัวใจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง (ultrasound) ที่ถูกปล่อยออกมาจากหัวตรวจ (transducer) ผ่านทรวงอกไปยังหัวใจ จากนั้นคลื่นเสียงจะสะท้อนสัญญาณกลับมาและประมวลผลออกมาเป็นภาพ
โดยการตรวจ Echo หัวใจสามารถตรวจประเมินประสิทธิภาพของหัวใจ เช่น รูปร่างหรือขนาดของห้องหัวใจ การบีบและคลายตัวของกล้ามเนื้อหัวใจ การทำงานของกล้ามเนื้อหัวใจและลิ้นหัวใจ การไหลเวียนเลือดในหัวใจ รวมถึงตำแหน่งของหลอดเลือดที่เข้าและออกจากหัวใจว่ามีความผิดปกติหรือไม่
ขั้นตอนการตรวจ Echo หัวใจ
ตรวจ Echo หัวใจ...ต้องเตรียมตัวอย่างไร?
การเตรียมตัวก่อนการตรวจ ผู้เข้ารับบริการไม่จำเป็นต้องเตรียมตัวก่อนล่วงหน้า ไม่ต้องงดน้ำหรืองดอาหาร แต่หากผู้เข้ารับบริการมียาที่ทานเป็นประจำ ต้องแจ้งแพทย์ พยาบาล หรือเจ้าหน้าที่ก่อนการตรวจ เนื่องจากฤทธิ์ของยาอาจมีผลต่อการทำงานของหัวใจได้
ข้อดีของการตรวจ Echo หัวใจ
ตรวจ Echo หัวใจ...เหมาะกับใคร?
การตรวจ Echo หัวใจ ถือเป็นการตรวจคัดกรองหัวใจที่มีความเฉพาะเจาะจง การได้รับการตรวจวินิจฉัยจึงเหมาะแก่ผู้ที่มีอาการตัวอย่างดังนี้
การตรวจคัดกรองหัวใจด้วยการตรวจ Echo เป็นหนึ่งในวิธีที่มีประสิทธิภาพและได้ผลดีต่อการตรวจหาความเสี่ยงทางโรคหัวใจ ทั้งยังเป็นวิธีที่รวดเร็วและไม่ซับซ้อน และหากมีโอกาสหรือเป็นผู้สงสัยเกี่ยวกับโรคหัวใจก็ควรเข้ารับการตรวจอย่างน้อยปีละครั้ง
บทความโดย
นายแพทย์สรศักดิ์ เอกอมรพันธ์
แพทย์ประจำสาขาอายุรกรรมหัวใจและหลอดเลือด
โรงพยาบาลเปาโล สมุทรปราการ
สอบถามรายละเอียด
แผนก อายุรกรรมหัวใจและหลอดเลือด อาคาร 1 ชั้น 3
โรงพยาบาลเปาโล สมุทรปราการ
โทร 02-363-2000 ต่อ 2325-2326