การตรวจหาแคลเซียมในหลอดเลือดหัวใจ (Coronary Calcium Score)
หนึ่งในโรคร้ายที่ทำให้คนไทยเสียชีวิตจำนวนมาก ทั้งยังมีแนวโน้มพบผู้ป่วยเพิ่มขึ้นทุกปี นั่นก็คือ โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ ซึ่งผู้ป่วยจะมีมีอาการเจ็บหน้าอก เหนื่อย ไม่สามารถใช้แรงมากๆ หรือออกกำลังกายได้ รวมถึงทำกิจวัตรประจำวันอื่นใดก็จะเหนื่อยง่าย โดยกลุ่มที่เสียชีวิตจากโรคนี้มักมี "ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายฉับพลัน" ซึ่งมีสาเหตุมาจาก มีการสะสมของไขมันและแคลเซียมหรือหินปูนในผนังหลอดเลือดรวมอยู่ด้วย ทำให้หลอดเลือดมีลักษณะแข็งและตีบตัน ซึ่งไม่ได้เกิดจากการมีอายุมากขึ้นหรือภาวะหลอดเลือดเสื่อมเพียงอย่างเดียว
เราสามารถตรวจวัดปริมาณแคลเซียมที่ผนังหลอดเลือดได้ด้วยการทำเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ความเร็วสูง (CT Scan) ซึ่งมีข้อดีคือ ตรวจง่าย ใช้เวลาน้อย และมีความแม่นยำสูง
อาการของโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ
1.เจ็บแน่นหน้าอก
2.เหนื่อยง่ายขณะออกแรง
3.หัวใจล้มเหลวเฉียบพลัน
4.ความดันโลหิตต่ำเฉียบพลัน
5.หมดสติหรือหัวใจหยุดเต้น
การตรวจ CT Calcium score จะใช้เวลาประมาณ 10 นาที ไม่มีความเจ็บปวด และไม่ต้องนอนโรงพยาบาล อีกทั้งไม่ต้องฉีดสีสวนหัวใจ แต่ได้ภาพที่มีความคมชัด เพราะตัวเครื่องจะจับภาพด้วยความเร็วสูงและจับภาพขณะที่หัวใจเต้นได้เป็นอย่างดี ทำให้บอกได้ถึงปริมาณหินปูนที่สะสมอยู่ในผนังหลอดเลือดหัวใจว่ามีปริมาณมากน้อยเพียงใด มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจหรือไม่ สามารถใช้เป็นข้อมูลวิเคราะห์ และประเมินความเสี่ยงของผู้ป่วย เพื่อตัดสินใจให้การรักษาให้เหมาะสมสําหรับผู้ป่วยแต่ละรายได้
ผลตรวจแบบไหนถึงมีความเสี่ยงโรคหลอดเลือดหัวใจตีบตัน
หากผลตรวจได้ค่าระหว่าง 0-400 มีโอกาสต่ำ ถึงปานกลางที่จะเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ หากได้ค่าตั้งแต่ 400 ขึ้นไป ผู้เข้ารับการตรวจอาจมีภาวะหลอดเลือดตีบแฝงอยู่ ซึ่งภายในระยะเวลา 2-5 ปี จะมีความเสี่ยงที่จะเกิดหลอดเลือดหัวใจตีบสูงมาก แม้ว่าผู้ตรวจจะมีอาการหรือไม่ก็ตาม
1. ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อลดปัจจัยเสี่ยง เช่น งดสูบบุหรี่ หรือลดปริมาณลง รับประทานอาหารที่มีพลังงานต่ำกากใยสูง (ผัก ผลไม้) หลีกเลี่ยงอาหารหรืองดอาหารไขมันอิ่มตัวสูง เช่น ไข่นกกระทา หอยทุกชนิด กุ้งทุกชนิด มายองเนส เนยเหลว ครีม มาการีนแข็ง ลดอาหารที่มีกะทิ และอาหารทอดทุกชนิด จำกัดการดื่มชา กาแฟ น้ำอัดลม เพียง 1-2 ครั้งต่อสัปดาห์ เป็นต้น
2. ปรึกษาแพทย์เพื่อดูแลสุขภาพ โดยเฉพาะรายที่มีความดันโลหิตสูง เบาหวาน รวมถึงในรายที่มีอาการเจ็บแน่นหน้าอกเกิดขึ้นบ้างแล้ว ควรปรึกษาแพทย์เฉพาะทางหัวใจเพื่อรับคำปรึกษา ตรวจประเมินหลอดเลือดหัวใจด้วยการเดินสายพานอย่างน้อย ปีละ 1 ครั้ง
3. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ อย่างน้อยวันละ 20-30 นาที/ครั้ง สัปดาห์ละ 3-4 ครั้ง
4. ดูแลสุขภาพจิตใจ พยายามทำใจให้รื่นเริงไม่เคร่งเครียด หงุดหงิดง่าย
อย่างไรก็ตาม หากมีอาการผิดปกติให้สังเกตเห็น เช่น เจ็บหน้าอกแล้วหายใจไม่สะดวก เวียนศีรษะ มึนงง เหมือนจะเป็นลม ใจสั่น เจ็บหน้าอกจนเหงื่อแตก หมดแรง ควรรีบปรึกษาแพทย์เพื่อตรวจคัดกรองความเสี่ยงโรคหัวใจก่อนสาย
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม
แผนก อายุรกรรมหัวใจและหลอดเลือด อาคาร 1 ชั้น 3
โรงพยาบาลเปาโล สมุทรปราการ
โทร 02-363-2000 ต่อ 2325-2326
รับข่าวสารและกิจกรรมทางสุขภาพดีๆได้ที่
Line official account : Paolo Hospital Samutprakarn