-
หัวใจเต้นผิดจังหวะ…ภัยเงียบที่น่ากลัวกว่าที่คิด
โดยทั่วปกติหัวใจของคนเราสามารถปล่อยกระแสไฟฟ้าได้เอง โดยมีอัตราการปล่อยกระแสไฟฟ้าอยู่ที่ประมาณ 60-100 ครั้งต่อนาที เมื่อเซลล์กล้ามเนื้อหัวใจถูกกระแสไฟฟ้าก็จะเกิดการหดตัวขึ้น จึงเกิดเป็นจังหวะการเต้นของหัวใจขึ้นมา แต่เมื่อเกิดความผิดปกติต่อการปล่อยกระแสไฟฟ้าออกมา อาจทำให้เกิดภาวะที่เรียกว่า “หัวใจเต้นผิดจังหวะได้”
หัวใจเต้นผิดจังหวะ คืออะไร?
เป็นการที่จังหวะการเต้นของหัวใจผิดปกติ จากภาวะที่ตำแหน่งบางตำแหน่งในหัวใจปล่อยกระแสไฟฟ้าออกมาผิดปกติ ส่งผลให้การเต้นของหัวใจมีอาการเต้นเร็วผิดปกติ (เร็วกว่า 100 ครั้งต่อนาที) หรือเต้นช้าผิดปกติ (น้อยกว่า 60 ครั้งต่อนาที) หรือเต้นเร็วสลับช้าไม่สม่ำเสมอ ทำให้การสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงยังส่วนต่างๆ ของร่างกายไม่มีประสิทธิภาพตามไปด้วย จนเกิดเป็นลิ่มเลือดที่สามารถไปอุดตามอวัยวะต่างๆ ในร่างกายได้
สาเหตุของ “หัวใจเต้นผิดจังหวะ” มีหลายปัจจัย
สัญญาณเตือน! โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ
จากการที่จังหวะการเต้นของหัวใจผิดปกติ ทำให้เลือดสูบฉีดไปยังอวัยวะต่างๆ ในร่างกายไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร จึงส่งผลให้เกิดอาการเหล่านี้
หากพบว่าตนเองมีอาการดังกล่าว ควรรีบไปพบแพทย์โดยด่วน แม้อาจเป็นอาการที่ไม่เกี่ยวข้องกับโรคหัวใจเต้นผิดปกติเสมอไป แต่ก็สามารถเป็นอาการที่บ่งบอกถึงความผิดปกติที่เกี่ยวกับหัวใจได้ ดังนั้นหากพบว่าตนเองมีอาการดังกล่าว ควรรีบไปพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางโดยด่วน เพื่อรับการตรวจวินิจฉัยอย่างละเอียด
การวินิจฉัยโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ
หากพบว่าตนเองมีอาการที่เกี่ยวข้องกับโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ สามารถตรวจวินิจฉัยได้หลายวิธี ดังนี้
อันตรายที่อาจตามมากับโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ!
ความน่ากลัวของโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะคือ หากเกิดภาวะที่เรียกว่า ภาวะหัวใจห้องบนสั่นพริ้ว ที่เป็นความผิดปกติของการบีบตัวของหัวใจห้องบน ส่งผลให้หัวใจเต้นผิดปกติทำให้สูบฉีดเลือดได้น้อยลง จนอาจนำไปสู่ ภาวะหัวใจวาย ที่เป็นเหตุที่ทำให้เสียชีวิตได้ อีกทั้งเมื่อจังหวะการเต้นของหัวใจผิดปกติมักจะเกิดลิ่มเลือดที่สามารถไปอุดตันบริเวณต่างๆ ในร่างกาย โดยเฉพาะหลอดเลือดในสมอง ที่เป็นสาเหตุที่ทำให้ผู้ป่วยมีโอกาสเสียชีวิตได้
หัวใจเต้นผิดจังหวะ...รักษาอย่างไร?
การรักษาโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะจะเป็นการรักษาเพื่อให้หัวใจกลับมาเต้นปกติ โดยวิธีการรักษามีด้วยกันหลายวิธี เช่น การรักษาด้วยยา การรักษาด้วยไฟฟ้า การรักษาด้วยการใช้คลื่นเสียง หรือการรักษาด้วยเครื่องกระตุกหัวใจ เป็นต้น รวมถึงในบางรายอาจมีการให้ยาละลายลิ่มเลือดร่วมด้วย
ทั้งนี้ผู้ป่วยในแต่ละรายมักมาด้วยอาการที่มีความรุนแรงแตกต่างกัน การใช้วิธีรักษาโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะจึงแตกต่างกันไปในแต่ละราย อีกทั้งการเลือกวิธีการรักษาจะขึ้นอยู่กับผลวินิจฉัยที่พบและดุลยพินิจของแพทย์ด้วย
ป้องกันอย่างไร? ให้ห่างไกลโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ
หากไม่ต้องการให้ตนเองเสี่ยงเป็นโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ ควรที่จะหลีกเลี่ยงปัจจัยที่อาจก่อให้เกิดโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ เช่น งดสูบบุหรี่หรือดื่มแอลกอฮอล์ งดเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของคาเฟอีน รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ หลีกเลี่ยงความเครียดหรือวิตกกังวล หมั่นออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และควรตรวจเช็คสุขภาพเพื่อเช็คความผิดปกติของร่างกายอย่างสม่ำเสมอ
บทความโดย
แพทย์หญิง กิติยวดี พิริยะพงศ์
แพทย์ประจำสาขาอายุรกรรมหัวใจและหลอดเลือด
โรงพยาบาลเปาโล สมุทรปราการ
สอบถามรายละเอียด
แผนก อายุรกรรมหัวใจและหลอดเลือด อาคาร 1 ชั้น 3
โรงพยาบาลเปาโล สมุทรปราการ
โทร 02-363-2000 ต่อ 2325-2326