-
เอชไพโลไร (H.Pylori) แบคทีเรียร้ายทำลายกระเพาะ
ใครก็ตาม ที่มีอาการปวดท้องแบบเป็นๆ หายๆ อิ่มก็ปวดหิวก็ปวด นั่นอาจหมายถึง การเป็น “โรคกระเพาะ” ซึ่งในอดีตเรามักยกความผิดของการเป็นโรคกระเพาะว่า เกิดจากการกินอาหารไม่ตรงเวลา แต่ปัจจุบันเราพบว่า “โรคกระเพาะอาหาร” มีสาเหตุสำคัญอันดับหนึ่ง... จากการติดเชื้อแบคทีเรียที่มีชื่อว่า เอชไพโลไร (H. Pylori) ที่หลายคนอาจยังไม่รู้จัก วันนี้เราจึงจะพาไปทำความรู้จักกับ แบคทีเรียตัวร้ายที่ชอบทำลายกระเพาะอาหาร ชนิดนี้กัน
ทำความรู้จักกับ “แบคทีเรียเอชไพโลไร (H. Pylori)”
H. Pylori (Helicobacter Pylori) หรือเชื้อแบคทีเรียเอชไพโลไร คือเชื้อแบคทีเรียชนิดหนึ่งที่เมื่อเข้าสู่ร่างกายจะอาศัยอยู่บริเวณเยื่อบุกระเพาะอาหาร โดยตัวเชื้อจะไปกระตุ้นการคัดหลั่งของน้ำย่อยในกระเพาะอาหารให้มีมากขึ้น ส่งผลให้เกิดโรคแผลในกระเพาะอาหาร แผลโรคกรดไหลย้อน รวมถึงโรคมะเร็งกระเพาะอาหาร ทั้งนี้ เชื้อแบคทีเรีย H. Pylori สามารถอาศัยอยู่ในกระเพาะของผู้ติดเชื้อได้นานนับ 10 ปี โดยไม่แสดงอาการใดๆ ก็ได้เช่นกัน
อาการหรือสัญญาณเตือน เมื่อมีการติดเชื้อ H. Pylori
เมื่อมีการติดเชื้อเอชไพโลไร โดยส่วนใหญ่มักไม่ก่อให้เกิดอาการใดๆ แต่จะมีในบางรายที่อาจมีอาการแสดงออกมา เช่น
อาการเหล่านี้ ล้วนรบกวนและส่งผลเสียต่อการใช้ชีวิตประจำวัน ดังนั้นเมื่อมีอาการดังกล่าว แพทย์จึงมักแนะนำให้ตรวจวินิจฉัยอย่างละเอียด รวมถึงการตรวจหาเชื้อแบคทีเรียเอชไพโลไร เพื่อจะได้รักษาอย่างถูกจุดตั้งแต่เนิ่นๆ เพราะยิ่งพบเชื้อเร็ว ยิ่งง่ายต่อการรักษา และยังลดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคร้ายแรงที่เกี่ยวข้องได้ด้วย
เช็คให้ไว! ท่านอยู่ในกลุ่มเสี่ยงต่อการติดเชื้อ H. Pylori หรือไม่?
หากท่านมีความกังวล สงสัย หรือมีอาการเตือน การปรึกษาแพทย์จะเป็นทางออกที่ดีที่สุด และนี้คือ 5 ความเสี่ยงของการติดเชื้อเอชไพโลไร
อยากตรวจหาเชื้อ H. Pylori มีวิธีไหนที่ทำได้บ้าง?
การตรวจหาเชื้อ H. Pylori สามารถทำได้หลายวิธีดังนี้
ข้อดีของการตรวจหาเชื้อเอชไพโลไรแบบเป่าลมหายใจ
ป้องกันง่ายๆ ให้ห่างไกลเชื้อ
แม้การได้รับ เชื้อแบคทีเรีย H. Pylori เข้าสู่ร่างกายจะไม่แสดงอาการในทันที แต่เชื้อตัวนี้ก็สามารถอาศัยอยู่ในกระเพาะอาหารของเราได้เป็นเวลาหลายปี ซึ่งการปล่อยทิ้งไว้อาจส่งผลให้เกิดโรคที่เกี่ยวกับกระเพาะอาหาร รวมถึงเป็นการเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคมะเร็งกระเพาะอาหารได้
ดังนั้นหากเริ่มมีอาการดังกล่าว หรือท่านเป็นกลุ่มเสี่ยงต่อการติดเชื้อแบคทีเรีย H. Pylori แนะนำว่าควรพบแพทย์เพื่อตรวจหาเชื้ออย่างละเอียด และเข้ารับการรักษาอย่างถูกวิธีให้หายขาด ก็จะให้ผลดีทั้งในปัจจุบันและในอนาคต
บทความโดย
นายแพทย์ อัครวุฒิ จันทราพิรัตน์
แพทย์ประจำอายุรกรรมทางเดินอาหาร
โรงพยาบาลเปาโล สมุทรปราการ