เสริมพัฒนาการความฉลาด 10 ด้าน อย่างไร ให้ลูกรัก
พัฒนาการด้านความฉลาดของลูก สามารถส่งเสริมและสร้างได้ ตั้งแต่ในท้องจนถึงช่วง 3 ขวบปีแรก ซึ่งถือเป็นช่วงเวลานาทีปีทองที่ต้องใส่ใจดูแลให้ความสำคัญเป็นพิเศษ เพื่อให้ลูกรักเติบโตขึ้นอย่างมีคุณภาพ พร้อมด้วยการมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง มีอารมณ์แจ่มใส สุขภาพจิตดี และมีสติปัญญา
พัฒนาการความฉลาด 10 ด้าน
1.HQ หรือ Health Quotient ความฉลาดทางสุขภาพ
ความรู้ความสามารถในดูแลตนเอง ให้ความสำคัญถึงการมีสุขภาพดี ส่งเสริมและแนะนำให้ลูกรู้จักการเลือกทานอาหารที่มีประโยชน์ ถูกหลักโภชนาการ การออกกำลังกายที่เหมาะสม และการพักผ่อนที่เพียงพอ
2.IQ หรือ Intelligence Quotient : ความฉลาดทางด้านสติปัญญา
ความสามารถในการเรียนรู้ทั้งด้านวิชาการ ดนตรี ศิลปะ และกีฬา สามารถส่งเสริมได้ด้วยการใช้เวลาใกล้ชิด เล่นและ พูดคุยกับลูกบ่อยๆ การใช้ภาษามือควบคู่เวลาสื่อสารกับลูก
3.EQ หรือ Emotional Quotient : ความฉลาดทางอารมณ์
ความสามารถในการบริหารจัดการอารมณ์ของตนเองได้อย่างเหมาะสม และพร้อมรับมือได้เมื่อเผชิญกับภาวะสถานการณ์ต่างๆที่ไม่คุ้นเคย สามารถเสริมพัฒนาการด้านนี้ให้ลูกได้ด้วยการ ส่งเสริมให้ลูกเล่นใช้จินตนาการ เรียนรู้สิ่งแวดล้อมรอบตัว ตอบสนองความต้องการของลูกอย่างถูกต้อง ไม่ตามใจ ไม่เข้มงวดเกินไป
4.CQ หรือ Creativity Quotient : ความคิดสร้างสรรค์
การที่ลูกมีความริเริ่มสร้างสรรค์ จินตนาการและแนวคิดต่างๆ เช่น การประดิษฐ์ การออกแบบงานศิลปะประเภทต่างๆ สามารถส่งเสริมกระตุ้นพัฒนาการด้านนี้ด้วยการ ละเล่น ทำกิจกรรมต่างๆ การเล่านิทาน การนำของใกล้ตัวมาทำเป็นของเล่น
5.PQ หรือ Play Quotient : ความฉลาดจากการเล่น
การที่ลูกมีความฉลาดด้านสติปัญญา อารมณ์ และด้านอื่นๆ เพิ่มขึ้น สามารถการกระตุ้นและส่งเสริม ได้ด้วยการที่พ่อแม่เล่นกับลูกบ่อยๆ
6.AQ หรือ Adversity Quotient : ความฉลาดในการรับมือกับปัญหา
เป็นทักษะที่ลูกจะสามารถแก้ไขปัญหา มีความมานะไม่ย่อท้อเมื่อเจอปัญหา มองปัญหาเป็นเรื่องท้าทาย สามารถส่งเสริมพัมฒนาการด้านนี้ด้วยการ ฝึกความพยายามให้ลูก เช่น การเล่นต่อเลโก้ จิ้กซอร์ การให้กำลังใจและคำชมเชย
7.TQ หรือ Thinking Quotient : ความฉลาดในการคิด
คือความสามารถที่ลูกจะคิด วิเคราะห์ข้อมูลต่างๆ ได้อย่างมีเหตุผล ถูกต้อง มีวิจารณาญาณ สิ่งใดมีประโยชน์ และไม่มีประโยชน์ต่อตนเองและผู้อื่น สามารถส่งเสริมได้ด้วยการ พาลูกออกไปเที่ยว อ่านหนังสือกับลูก การทำงานบ้าน การฝึกให้ลูกแก้ปัญหาด้วยตนเอง
8.MQ หรือ Moral Quotient : ความฉลาดด้านคุณธรรม จริยธรรม
คือความฉลาดที่ลูกรักรู้จักผิดชอบ ประพฤติดี มีความซื่อสัตย์ มีความกตัญญู สามารถส่งเสริมด้วยการอบรมสั่งสอน และเรียนรู้ผ่านพฤติกรรม หรือตัวอย่างที่พ่อแม่ทำ
9.OQ หรือ Optimist Quotient : ความฉลาดด้านการมองโลกในแง่ดี
การที่ลูกมีสุขภาพจิตดี อารมณ์แจ่มใส มองโลกในแง่ดี มีความคิดเชิงบวก สามารถรับมือกับปัญหา ฝ่าฟันอุปสรรคได้โดยไม่เครียดจนเกินไป ซึ่งสามารถฝึกพัฒนาการด้านนี้ให้ด้วย การฝึกทำงานบ้าน การฝึกการล้างหน้าแปรงฟันเก็บที่นอน ปิดไฟ การถอดเสื้อผ้าลงตะกร้าด้วยตัวเอง และควรชื่นชมลูกทุกครั้ง
10.SQ หรือ Social Quotient : ความฉลาดในการเข้าสังคม
การมีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี สามารถปรับตัวเข้ากับสังคมที่มีการเปลี่ยนแปลงและหลากหลายในปัจจุบันได้ พ่อแม่สามารถฝึกทักษะด้านนี้ให้ลูกด้วยการแสดงให้เห็นเป็นตัวอย่าง ยกตัวอย่างจากนิทานที่อ่านให้ลูกฟังกิจกรรมเสริมกระตุ้นพัฒนาการเรียนรู้ให้ลูกรัก
ช่วง 3 ขวบปีแรก
อายุ 0- 3 เดือน ในช่วงวัยนี้แนะนำการเล่นที่กระตุ้นระบบประสาทสัมผัส ได้แก่ การเห็น การได้ยิน การสัมผัส การดมกลิ่น การรับรส ชอบสีสันที่สดใส สีตัดกัน ชอบมองการเคลื่อนไหว ชอบฟัง พ่อแม่ควรพูดคุยกับลูกทุกกิจกรรม1.กรุ๊งกริ๊งที่มีเสียง 2.โมบายสีสันที่สดใส3.หนังสือผ้า หนังสือนิทาน4.ร้องเพลงกล่อง 5.เล่นปูไต่6.พ่อแม่ คุยกับลูกบ่อยๆ
อายุ 4-6 เดือน ในช่วงวัยนี้ลูกจะเริ่มสังเกตมากขึ้น สนใจการเคลื่อนไหวได้ของแขนขาของตัวเอง เริ่มคว้าของใกล้ตัว ชอบดูดนิ้ว อมมือ สำรวจอวัยวะตัวเอง มีความสนใจสิ่งรอบตัว เริ่มรู้จักส่งเสียงโต้ตอบ อืออาในลำคอ
1.เพลงที่มีจังหวะ2.ยางกัดต่างๆ3.เพลย์ยิม ตุ๊กตาผ้า4.เล่นกับพ่อแม่
อายุ 6-9 เดือน ช่วงวัยนี้ถือเป็นวัยที่ลูกรักจะกระดึ๊บ คืบ คลาน เกาะยืน เริ่มเข้าใจการหายไปของวัตถุที่เคยเห็น การเล่นจ๊ะเอ๋ สำหรับวัยนี้จะสนุกและง่ายที่สุด สนุกกับการที่แม่ประคองให้กระโดดเบาๆ บนตัก ชอบเคลื่อนไหวตามจังหวะดนตรี หรือเพลงที่แม่ร้องให้ฟัง ให้เด็กได้โยนของที่โยนได้ เพราะเป็นวัยที่ชอบโยน ชอบขว้างสิ่งของ ทดสอบกล้ามเนื้อตัวเอง
1.ขว้างบอลลงตะกร้า2.เล่นจ๊ะเอ๋ เล่นหาของใต้ผ้า3.เล่นตบแปะ4.เล่นบัตรคำ 5.อ่านนิทาน
อายุ 9-12 เดือน ช่วงวัยนี้ลูกพร้อมที่จะเรียนรู้และเริ่มสื่อสาร สั้นๆ ง่ายๆ ได้ แม้ยังพูดได้ไม่เก่ง แต่สามารถเข้าใจคำสั่งง่ายๆของพ่อแม่ได้ กล้ามเนื้อเริ่มมีความแข็งแรง
1.เล่นเลโก้ชิ้นใหญ่ๆ 2.ต่อบล็อกไม้ 3.ม้าไม้โยกเยก4.รถลากจูง5.อ่านนิทาน6.ของเล่นพัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็ก
อายุ 1-2 ปี ในช่วงวัยนี้ลูกเริ่มจะมีความเป็นตัวของตัวเอง อยากทำอะไรด้วยตัวเอง เข้าใจคำสั่ง พูดเก่งขึ้น เคลื่อนไหวได้อย่างเป็นอิสระ
1.ต่อบล็อกไม้ 2.เล่นทราย3.วิ่งเล่นในสนาม4.ทำงานบ้าน5.อ่านนิทาน6.ลากเส้นระบายสี7.เล่นขาไถ (Balance bike)
อายุ 2-3 ปี ช่วงวัยนี้ลูกจะมีการต่อต้าน งอแง เอาแต่ใจ ช่วยเหลือตัวเองเบื้องต้นได้ พูดเก่ง อยากรู้ อยากลอง เป็นเจ้าหนูจำไม
1.เล่นทราย2.ต่อบล็อกไม้ ,เลโก้3.เล่นบทบาทสมมุติ4.ปั้นแป้งโดว์5.ต่อจิ้กซอร์6.ทำงานบ้าน
7.วิ่งเล่นอย่างอิสระ
บทความ โดย พญ.รวงฤทัย ฉิ้มสังข์
กุมารแพทย์
โรงพยาบาลเปาโลเกษตร
สอบถามรายละเอียดข้อมูลเพิ่มเติม
ศูนย์สุขภาพเด็ก โรงพยาบาลเปาโล เกษตร
โทร. 02 1500 900 ต่อ 5121
Line official account : Paolo Hospital Kaset
Line ID : @paolokaset