พญ.ชลิศา ประสาทสกุลชัย

สูตินรีแพทย์ แพทย์เฉพาะทางด้านมะเร็งนรีเวช

วุฒิบัตร

สุขภาพสตรี
วัน เวลา
พญ.ชลิศา ประสาทสกุลชัย  สูตินรีแพทย์ หลังจากจบจากมหาวิทยาลัยมหิดลแล้ว คุณหมอได้ศึกษาต่อเพิ่มเติมในสาขาสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา และด้านมะเร็งนรีเวช จากคณะแพทยศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งปัจจุบันมะเร็งปากมดลูก ยังคงครองแชมป์อันดับหนึ่งของมะเร็งที่คร่าชีวิตผู้หญิง ซึ่งโดยกว่าครึ่งของผู้เสียชีวิต เนื่องมาจากอายและกลัวที่จะพบแพทย์เพื่อตรวจหาเชื้อมะเร็ง ทำให้กว่าจะรู้ว่าป่วยด้วยโรคมะเร็งปากมดลูก ความรุนแรงของโรคก็ลุกลามไปมากแล้ว ทำให้ตลอดเวลาที่ผ่านมาคุณหมอได้ตระหนักถึงการดูแลสุขภาพของคุณสุภาพสตรีอย่างต่อเนื่องมาเป็นเวลากว่า 20 ปี

ความห่วงใย ในสุขภาพคุณผู้หญิง คือ แรงบันดาลใจอันยิ่งใหญ่

ดูแลแบบองค์รวมภายใต้ความเอาใจใส่ Holistic Medicine

หลังการตรวจพบว่าคนไข้เป็นมะเร็งต้องเร่งดำเนินรักษา เพื่อกำหนดระยะของโรคและวางแผนการรักษาต่อไป ซึ่งต้องแยกระยะของคนไข้ เพื่อเลือกวิธีการรักษาที่เหมาะสมตามระยะของคนไข้แต่ละรายปัจจัยของความสำเร็จและผลการผ่าตัดรักษาในผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูก แต่ละรายจะให้ผลต่างกัน เช่น กรณีเป็นระยะที่ 1 การผ่าตัดแค่ตัดตัวของมดลูก ปากมดลูก แต่ถ้าเป็นระยะที่ 1 ตอนปลายๆ ต้องตัดมดลูกพร้อมทั้งเนื้อเยื่อข้างเดียว และช่องคลอดส่วนต้นออก ซึ่งอาจมีผลข้างเคียงหลังผ่าตัดในเรื่องของการขับถ่ายอุจจาระ และปัสสาวะ
ในการรักษาผู้ป่วยทั่วไปที่คุณหมอว่ายากอยู่แล้ว แต่การรักษาผู้ป่วยมะเร็งนั้นกลับมีความยากยิ่งกว่า เพราะส่วนมากผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งโดยเฉพาะในระยะแรก ๆ นั้น จะเจอกับสภาวะจิตใจที่ย่ำแย่กันทั้งสิ้น ดังนั้น สิ่งที่คุณหมอให้ความสำคัญสำหรับคนไข้เคสมะเร็งเป็นพิเศษก็คือเรื่องของเวลา การทำความเข้าใจและความมิตรเพราะเราต้องดูแลกันอย่างยาวนาน ซึ่งคนไข้ส่วนใหญ่จะกังวลทั้งเรื่องของวิธีการรักษา ผลข้างเคียงที่เกิดจากการรักษา รวมถึงการกลับไปใช้ชีวิตภายหลังการรักษาเหล่านี้ คุณหมอจะมีการพูดคุยและทำความเข้าใจเพื่อให้คนไข้คลายความกลัว วิตกกังวล หรือเศร้าเสียใจให้การดูแลทั้งร่างกายและจิตใจไปพร้อมๆกัน


รักษาด้วยความเข้าใจ และรักษาด้วยหัวใจ

“สิ่งหนึ่งที่ช่วยให้การรักษาประสบความสำเร็จ นอกจากข้อมูลทางการรักษาที่แพทย์มอบให้ คือกำลังใจจากตัวคนไข้เอง จากญาติ และครอบครัว เวลา ความเข้าใจ ความจริงใจ ในการรักษาเป็นเรื่องสำคัญ ต้องพยายามให้คนไข้รู้สึกมีกำลังใจในการต่อสู้กับโรค บางครั้งโรคไม่หาย แต่ก็สามารถอยู่กับโรคได้อย่างมีความสุข ยอมรับความจริง ยอมรับในสิ่งที่เกิดขึ้นกับตัวเขาได้ ด้วยการดูแลเอาใจใส่อย่างจริงใจ เข้าใจ และเป็นมิตร ความชัดเจนในการอธิบาย

เพราะเราไม่ได้รักษาคนไข้แค่ครั้งเดียว มะเร็งเป็นโรคที่ต้องรักษาต่อเนื่อง เราต้องให้เขาเชื่อมั่นว่าเราช่วยเขาได้ บางครั้งการช่วยของเราอาจจะไม่ได้รักษาให้เขาหายเสียทีเดียว แต่ต้องยึดมั่นว่าจะเป็นที่พึ่งของคนไข้ จะช่วยพวกเขาให้หายจากโรค สิ่งที่หวังมากที่สุดคือ ไม่ต้องการเห็นคนไข้เจ็บป่วยทรมาน”