คลายทุกความกังวล เมื่อต้องผ่าตัดมดลูก
โรงพยาบาลเปาโลโชคชัย4
19-ส.ค.-2566
การผ่าตัดมดลูก เป็นการผ่าตัดเอามดลูกออกจากร่างกาย โดยส่วนใหญ่ที่เข้าการรักษามักจะเกิดจากเนื้องอกมดลูก หรือในบางรายอาจมีอาการประจำเดือนมามากผิดปกติ ปวดท้องน้อย ตัวซีด ปัสสาวะบ่อย และภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ ที่ลักษณะอาการจะคล้ายกับเนื้องอกมดลูก ซึ่งเป็นภาวะที่ไม่ควรปล่อยไว้นานจนรุนแรง เพราะอาจส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิต หรือและอาจเสี่ยงเป็นโรคร้ายได้


ทำไมต้องตัดมดลูกทิ้ง ?
ผ่าตัดมดลูกเพื่อรักษาโรค
เพราะผู้ป่วยบางรายอาจรักษาด้วยวิธีอื่นๆไม่ได้ผล หรือมีอาการรุนแรงแล้ว จึงจำเป็นต้องตัดเพื่อป้องกันไม้ให้ลุกลามหรือรุนแรง และเกิดภาวะแทรกซ้อนต่อระบบต่างๆในร่างกาย เช่น ตรวจเจอเนื้องอกมดลูก ตรวจเจอมะเร็งระบบอวัยวะสืบพันธุ์ มดลูกหย่อน ปวดประจำเดือนมาก และในกรณีที่ต้องผ่าตัดมดลูกฉุกเฉินหลังคลอด เพื่อป้องกันไม่ให้โรคต่างๆเหล่านี้สร้างความรำคาญในชีวิตประจำวันได้

ผ่าตัดมดลูกเพื่อป้องกันโรค
หากผู้ป่วยต้องการมีลูกอยู่ แพทย์จะพิจารณาให้การรักษาด้วยการผ่าตัด เพื่อจำกัดเซลล์เนื้อเยื่อที่ผิดปกติ และทะเลาะพังผืดที่ผิดปกติออกไป ซึ่งโอกาสที่จะกลับมาเป็นซ้ำอาจมีได้สูง แต่ในบางรายที่มีความรุนแรง หรือไม่ต้องการมีลูกแล้วแพทย์จะพิจารณาตัดรังไข่ และมดลูกออก เพื่อตัดปัญหาการกลับมาเป็นซ้ำ หรือก่อให้เกิดความลำบากในการใช้ชีวิต


โรคทางนรีเวช ที่จำเป็นต้องรักษาด้วยการผ่าตัดมดลูก
  • เนื้องอกของกล้ามเนื้อมดลูก เป็นก้อนเนื้อที่เกิดขึ้นและเจริญเติบโตภายในมดลูก ซึ่งอาจทำให้มีประจำเดือนมามากผิดปกติ
  • เยื่อบุโพรงมดลูดเจริญผิดที่ ซึ่งจะมีอาการปวดเมื่อประจำเดือนมา
  • เลือดออกผิดปกติจากโพรงมดลูก ซึ่งไม่สามารถรักษาได้ด้วยวิธีอื่น
  • พังผืดในมดลูก
  • ภาวะอุ้งเชิงกรานหย่อน มดลูกหย่อนหรือมดลูกต่ำ ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้ไม่สามารถควบคุมระบบขับถ่ายปัสสาวะหรืออุจจาระได้
  • ตรวจพบมะเร็งปากมดลูก หรือมะเร็งที่เกี่ยวกับมดลูก และมะเร็งรังไข่
  • ภาวะติดเชื้อในอุ้งเชิงกราน ซึ่งเป็นการติดเชื้อที่รุนแรงและสร้างความเสียหายให้กับอวัยวะในระบบสืบพันธุ์ได้ โดยจะผ่าตัดรักษาต่อเมื่อผ่านการรักษาด้วยวิธีอื่นแล้วไม่ได้ผล


วิธีการผ่าตัดมดลูก (Techniques of hysterectomy) ในปัจจุบันมี 4 วิธี
การเลือกวิธีการรักษาที่เหมาะสมจะขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์ โดยจะพิจารณาตามระยะของโรค ความรุนแรงของอาการ และความพร้อมของร่างกายของผู้ป่วยในแต่ละราย เพื่อเลือกเทคนิคการรักษาที่เหมาะสม และมีประสิทธิภาพต่อผู้ป่วย โดยจะคำนึงถึงความปลอดภัยของผู้ป่วยเป็นอันดับแรก

1. การผ่าตัดมดลูกผ่านกล้อง (Laparoscopic Hysterectomy)
การผ่าตัดส่องกล้อง จะเป็นการผ่าตัดที่มีแผลขนาดเล็ก บริเวณหน้าท้องประมาณ 3-4 แผล โดยแพทย์จะสอดเครื่องมือ และกล้องเข้าไปทางหน้าท้อง เพื่อทำการผ่าตัดนำเนื้องอกหรือมดลูกออกมา ซึ่งแพทย์สามารถมองเห็นส่วนที่เป็นมดลูกได้อย่างชัดเจน ผ่านทางกล้องที่มีความละเอียดสูง ทำให้การผ่าตัดมีความแม่นยำ และไม่ส่งผลกระทบกับอวัยวะในส่วนที่ไม่เกี่ยวข้องเหมือนกับการผ่าตัดแบบเปิดหน้าท้อง

2. การผ่าตัดมดลูกผ่านหน้าท้อง (Abdominal Hysterectomy)
การผ่าตัดมดลูกแบบเปิดเป็นวิธีการแบบดั้งเดิมในการผ่าตัดมดลูก เป็นการผ่าตัดขนาดใหญ่ในช่องท้อง ผ่าเปิดหน้าท้องในแนวตั้งหรือแนวนอน เพื่อตัดนำมดลูกออกมา ซึ่งการผ่าตัดวิธีนี้แผลจะค่อนข้างใหญ่ ผู้ป่วยจึงมีอาการเจ็บแผลหลังผ่าตัดมาก ใช้เวลาพักฟื้นนาน และเสี่ยงติดเชื้อมากกว่าวิธีอื่น

3. การผ่าตัดมดลูกผ่านทางช่องคลอด (Vaginal Hysterectomy)
ปัจจุบันถือเป็นทางเลือกที่แนะนำให้พิจารณาเป็นลำดับแรก เพราะไม่มีแผลหน้าท้อง เจ็บปวดน้อย ฟื้นตัวเร็ว เหมาะสำหรับผู้ที่มีมดลูกหย่อนและมีขนาดไม่โตมากนัก แต่ไม่เหมาะกับผู้ป่วยที่ไม่มีมดลูกหย่อน หรือมีเนื้องอกขนาดใหญ่ หรือมีพังผืดในอุ้งเชิงกราน หรือมีพยาธิสภาพที่ปีกมดลูกร่วม หรือกระดูกอุ้งเชิงการแคบและช่องคลอดด้านบนแคบ เพราะอาจทำให้ผ่าตัดยาก และเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนมากขึ้น และเป็นวิธีนี้จะไม่มีรอยแผลภายนอกที่มองเห็นได้

ทั้งนี้ หลังผ่าตัด ประมาณ 4-6 สัปดาห์ แพทย์จะมีการตรวจนัดติดตามผลเป็นระยะ เพื่อตรวจสอบการฟื้นตัวของร่างกาย และภาวะอาการแทรกซ้อนต่างๆหลังผ่าตัด ซึ่งหากผู้ป่วยมีอาการที่ผิดปกติหรือเกิดความกังวลก็สามารถเข้ามาปรึกษาแพทย์เฉพาะทางได้ทันที


ผลข้างเคียงจากการผ่าตัดมดลูก
  • ไม่มีประจำเดือน
  • แต่ในกรณีที่ผ่าตัดรังไข่ออก พร้อมมดลูก จะเกิดภาวะพร่องฮอร์โมนเพศ เช่น อาการวัยทอง ช่องคลอดแห้ง ภาวะกระดูกพรุน และอารมณ์ทางเพศลดน้อยลง
ซึ่งหลังผ่าตัดมดลูก อาจจะต้องปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์ให้ส่งเสริมสุขภาพมากขึ้น เพื่อป้องกันการเกิดโรคแทรกซ้อนหลังผ่าตัดมดลูก เช่น ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ดีต่อสุขภาพ รับประทานอาหารให้หลากหลาย พักผ่อนให้เพียงพอ ไม่เครียดจนเกินไป และออกกำลังกายเป็นประจำ


ดังนั้น การป้องที่ดีที่สุด คงเป็นการใส่ใจสุขภาพ และการตรวจสุขภาพภายในเป็นประจำทุกปี เพราะสิ่งเหล่านี้สามารถทำให้คุณรู้ทันโรคร้ายร้ายที่อาจเกิดขึ้นได้ หรือหาแนวทางการรักษาที่เหมาะสม เพื่อไม่ให้กระทบต่อไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิต หรือความมั่นใจในเรื่องสุขภาพภายในของตัวเอง


ปรึกษาปัญหาสุขภาพ

ศูนย์สุขภาพสตรี อาคาร 5 ชั้น 2
โรงพยาบาลเปาโล โชคชัย 4
โทร.02-514-4141 ต่อ 5148 - 5220
Line : Paolochokchai4