ผ่าตัดกระเพาะอาหารลดน้ำหนัก รักษาโรคอ้วน
โรงพยาบาลเปาโลโชคชัย4
13-ธ.ค.-2566
เพราะด้วยไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิตที่เปลี่ยนไป ทำให้คนเราออกกำลังกายน้อยลง และบริโภคอาหารจำพวกแป้ง น้ำตาลมากขึ้น ส่งผลให้เกิดภาวะอ้วนโดยไม่รู้ตัว และปัญหาเรื่องการลดน้ำหนักที่เชื่อว่าหลายคนต้องเคยมีประสบการณ์ลดความอ้วนในหลากหลายวิธีมาแล้ว ไม่ว่าจะเป็นการออกกำลังกาย การคุมอาหาร และการใช้ยาลดน้ำหนัก ซึ่งหลายคนอาจลดน้ำหนักได้ แต่อีกหลายคนอาจจะกลับมาอ้วนใหม่อีกรอบได้ หากไม่ได้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกิน และการใช้ชีวิตที่เป็นต้นเหตุของการเกิดโรคอ้วน จึงทำให้การผ่าตัดกระเพาะอาหารเพื่อลดน้ำหนัก กลายมาเป็นอีกหนึ่งทางเลือกในยุคนี้สำหรับการลดน้ำหนัก เพื่อรักษาสุขภาพ


ความอ้วน จุดเริ่มต้นของสารพัดโรค
เพราะหลายคน อาจจะบอกว่าพรุ่งนี้ค่อยลดก็ยังได้ กินไปก่อนเพราะมีของอร่อยรออยู่ตรงหน้า และทำแบบนี้วนไป กว่าจะรู้ตัวก็ตอนอิ่ม หรือตอนที่มีน้ำหนักเพิ่มมากขึ้นแล้ว และอาจหาวิธีต่างๆในการลดน้ำหนักแล้ว แต่กลับไม่ได้ผล และส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประวันจำวัน หรืออาจนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนต่างๆได้ ส่งผลให้การผ่าตัดกระเพาะอาหารอาจเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่จะทำให้คุณกลับมาแข็งแรง และมีสุขภาพดีได้อีกครั้ง
  • โรคเบาหวานชนิดที่ 2
  • ความดันโลหิตสูง
  • ไขมันในเลือดสูง
  • โรคหัวใจ โดยเฉพาะโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ
  • ภาวะการนอนกรน และการหยุดหายใจในขณะนอนหลับ
  • ภาวการณ์มีบุตรยาก
  • โรคมะเร็งบางชนิด
  • โรคหัวใจ

ผ่าตัดกระเพาะอาหารเพื่อลดน้ำหนัก (Bariatric Surgery) คืออะไร
การผ่าตัดกระเพาะอาหารเพื่อลดน้ำหนัก เป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการลดความอ้วนสำหรับผู้ที่มีน้ำหนักตัวเกินมาตรฐานและกลัวความเสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพ เพื่อลดขนาดของกระเพาะอาหารให้เล็กลง หรือลดการดูดซึมของกระเพาะอาหาร เพื่อช่วยให้อิ่มเร็ว ลดความอยากอาหาร และทานอาหารได้ในปริมาณที่น้อยลง เพราะในกระเพาะอาหารมีฮอร์โมนกรีลิน (Ghrelin) ซึ่งเป็น “ฮอร์โมนความหิว” ที่กระตุ้นความอยากอาหาร แต่เมื่อผ่าตัดลดขนาดกระเพาะลง ก็จะตัดส่วนที่มีฮอร์โมนนี้ออกไปด้วย และเมื่อฮอร์โมนนี้ลดลง ก็จะส่งผลให้ความอยากอาหารลดลงไปด้วย


วิธีการรักษาโรคอ้วน ด้วยวิธีผ่าตัดส่องกล้องกระเพาะอาหาร
เพราะในปัจจุบันการผ่าตัดกระเพาะอาหารได้มีนวัตกรรมการผ่าตัดส่องกล้องเข้ามาช่วยในการรักษา ซึ่งเราเรียกการผ่าตัดนี้ว่า MIS หรือ Minimally Invasive Surgery โดยการผ่าตัดส่องกล้องด้วยวิธีนี้จะช่วยลดโอกาสติดเชื้อหรือโรคแทรกซ้อน และลดอาการบาดเจ็บที่อาจเกิดขึ้นจากภายใน รวมถึงใช้เวลาในการพักฟื้นในโรงพยาบาลไม่นาน และสามารถกลับมาใช้ชีวิตได้ตามปกติเร็วขึ้น ซึ่งวิธีการผ่าตัดส่องกล้องจะแบ่งออกเป็น 2 วิธี
  • ผ่าตัดลดขนาดเอาของกระเพาะอาหารออก (sleeve gastrectomy) เป็นการผ่าตัดกระเพาะอาหารเพื่อลดน้ำหนักโดยการตัดกระเพาะบางส่วนออกไปเพื่อให้ความจุของกระเพาะอาหารลดลง หลังจากผ่าตัดเสร็จแพทย์จะใช้ลวดเย็บปิดกระเพาะอาหาร
  • ผ่าตัดบายพาสกระเพาะอาหาร (gastric bypass) เป็นการปรับขนาดกระเพาะอาหารให้เล็กลง ร่วมกับ Bypassกระเพาะอาหารลงสู่ลำไส้เล็กส่วนปลาย เพื่อให้รับประทานได้ลดลง และลดการดูดซึมอาหารบางส่วน นอกจากนี้ยังช่วยปรับฮอร์โมนเกี่ยวกับความหิว และความอิ่มของร่างกาย ซึ่งจะช่วยให้คนไข้รู้สึกอิ่มไวขึ้น และช่วยให้น้ำหนักลงเร็ว หรือรักษาน้ำหนักได้คงที่ โดยการผ่าตัดด้วยวิธีการผ่าตัดส่องกล้องจะช่วยให้ผู้ป่วยฟื้นตัวได้เร็วขึ้น และสามารถลดโรคร่วมจากความอ้วนได้ดีกว่า โดยเฉพาะเบาหวาน

ใครสามารถทำการผ่าตัดกระเพาะเพื่อลดน้ำหนักได้บ้าง?
  • ผู้ที่มีอายุมากกว่า 18 ปี แต่ในกรณีอายุน้อยกว่านั้น ต้องคุยกับแพทย์ถึงความจำเป็นและความเสี่ยงอย่างไร
  • ผู้ที่พยายามลดน้ำหนักด้วยตัวเอง ทั้งควบคุมอาหาร และออกกำลังกายมาแล้วแต่กลับไม่ได้ผล และกลับมาอ้วนอีก
  • ผู้เป็นผู้ที่ไม่ได้มีข้อห้ามในการผ่าตัด หรือผู้ที่ไม่สามารถดูแลตัวเองได้หลังผ่าตัด เช่น เป็นโรคทางจิตเวช โรคมะเร็ง และภาวะติดสุราหรือสารเสพติด
  • ผู้ที่มีภาวะอ้วน คือค่า BMI มากกว่า 32.5

วิธีคำนวณค่าดัชนีมวลกาย BMI
เราใช้ค่ามาตรฐานในการวัดภาวะอ้วน คือ ใช้ดัชนีมวลกาย (Body Mas Index : BMI) โดยหาได้จากการนำน้ำหนัก (กิโลกรัม) หารด้วยส่วนสูง (เมตร) ยกกำลังสอง เช่น หนัก 90 กิโลกรัม สูง 160 เซนติเมตร ค่า IBM คำนวนได้ คือ (90 / (1.6 x 1.6)) และได้ BMI = 35.15 กก./ตร.ม. ซึ่งเริ่มมีความเสี่ยงสูง และต้องรีบมาเข้ามาปรึกษาแพทย์เพื่อหาแนวทางการรักษาที่เหมาะสม


เกณฑ์ดัชนีมวลกาย (BMI) ที่จำเป็นผ่าตัดกระเพาะอาหาร
1. มีค่า BMI 37.5 กก./ตร.ม ขึ้นไปที่ไม่มีโรคร่วม
2. มีค่า BMI 32.5 กก./ตร.ม ขึ้นไปที่มีโรคร่วม โดยเป็นผู้ป่วยโรคอ้วนที่เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 หรือภาวะเมตาบอลิกชินโดรม (Metabolic Syndrome) มีอาการข้อใดข้อหนึ่ง
  • ความดันโลหิตสูง
  • ภาวะไขมันในเลือดสูง
  • ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ (OSA)
  • ภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ (PCOS)
  • ภาวะไขมันเกาะตับ
  • โรคหัวใจและหลอดเลือด (Cardiovascular Diseases)
  • ภาวะหัวใจล้มเหลว (Congestive Heart Failure)
  • ภาวะหลอดเลือดดำบกพร่องเรื้อรัง (CVI)
  • โรคหลอดเลือดสมอง (CVD)
  • น้ำหนักผิดปกติจากผลของฮอร์โมน หรือดเกิดจากโรคกล้ามเนื้อและกระดูก
  • ผู้ที่ควบคุมเบาหวานไม่ได้ และมีค่า BMI 27.5-30 กก./ตร.ม ขึ้นไป


ข้อดีของการผ่าตัดกระเพาะ
  • สุขภาพร่างกายจะดีขึ้นหลังการผ่าตัดลดน้ำหนักแล้ว และช่วยให้หายจากโรคประจำตัวหรือลดความรุนแรงของโรคเช่น โรคเบาหวาน โรคหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง โรคหลอดเลือดสมอง
  • มีรูปร่างดีขึ้น โดยไม่ต้องใช้ยาลดน้ำหนักอีกต่อไป และสามารถเลือกเสื้อผ้าสวมใส่ได้ง่ายขึ้น ทำให้เกิดความมั่นใจในการเข้าสังคม
  • น้ำหนักลดลง และไม่กลับมาอ้วนอีก
  • ช่วยให้เกิดความคล่องตัวในการทำกิจกรรมต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันได้เป็นอย่างดี
  • ไม่มีแผลที่หน้าท้อง เจ็บน้อย ลดโอกาสเสี่ยงต่อการติดเชื้อจากการผ่าตัด และใช้เวลาพักฟื้นไม่นาน


อย่างไรก็ตามการผ่าตัดเพื่อลดน้ำหนักนั้นก็เป็นเพียงตัวช่วย เพราะสิ่งสำคัญในการทำให้สุขภาพที่ดีขึ้นหลังจากนั้น ก็จะขึ้นอยู่กับวินัย และการดูแลตัวเองของแต่ละคน ควบคู่ไปกับการปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ หลังการผ่าตัดในช่วง 1-2 ปีแรก เพื่อให้น้ำหนักลดลงมากที่สุดตามความเหมาะสมของร่างกาย


ปรึกษาปัญหาสุขภาพ
ศูนย์ศัลยกรรม อาคาร 1 ชั้น 1
โรงพยาบาลเปาโล โชคชัย 4
โทร. 02-5144141 ต่อ 1101-1100