อาการที่บ่งบอกว่าเสี่ยงซึมเศร้า
หากอาการซึมเศร้าไม่มาก คุณแม่จะเป็น ๆ หาย ๆ เองได้ ไม่ต้องทำการรักษา ทั้งนี้คนในครอบครัวต้องคอยดูแลเอาใจใส่อย่างใกล้ชิด แต่หากมีพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปหรืออยู่ในกลุ่มเสี่ยงเกินกว่า 2 สัปดาห์ ควรเข้ามาปรึกษาแพทย์ โดยสมาชิกภายในบ้านควรดูแลไม่ให้คุณแม่รู้สึกเครียดหรือวิตกกังวล ดูแลเอาใจใส่คุณแม่อย่างใกล้ชิด เข้าอกเข้าใจ พูดคุยกัน หากิจกรรมทำร่วมกัน
กิจกรรมที่จะทำให้คุณแม่ห่างไกลจากภาวะซึมเศร้า
ถ้าคุณแม่มีภาวะซึมเศร้าขนาดตั้งครรภ์จะส่งผลที่เป็นอันตรายต่อลูกในครรภ์หรือไม่
ภาวะเครียดหรือซึมเศร้าทำให้ความสนใจต่อครรภ์ลดลง อาจทำให้คุณแม่เบื่ออาหาร หรือทานอาหารที่ไม่มีประโยชน์หรืออาจทำให้คลอดก่อนกำหนดได้เพราทำให้ลูกตัวเล็กกว่าปกติ พักผ่อนน้อยหรือมากจนเกินไปขาดการออกกำลังกาย ทำให้คุณแม่ร่างกายอ่อนแอ ลูกน้อยอาจกระทบหรือมีผลกับการพัฒนาสมองของทารกในครรภ์
การดูแลคุณแม่ที่มากฝากครรภ์ของ รพ.เปาโล โชคชัย 4
แพทย์ผู้ดูแลของ รพ.เปาโล โชคชัย 4 มีการดูแลคุณแม่ที่มาฝากครรภ์อย่างใกล้ชิดมีการสังเกตพฤติกรรมในแต่ละครั้งที่คุณแม่มาพบแพทย์ตามนัด พูดคุยสร้างมุมมองการดูแลทารกในครรภ์แบบมองโลกในมุมบวก เพราะคุณแม่ที่ตั้งครรภ์บอบบางและต้องการกำลังใจเป็นอย่างมาก แต่หากอาการยังไม่ดีขึ้นขั้นตอนต่อไปแพทย์จะแนะนำยาที่เหมาะสมไม่เป็นอันตรายแต่คุณแม่และทารกในครรภ์ เพื่อช่วยบรรเทาในอีกทางหนึ่ง
บทความสำหรับคุณเเม่ คลิก
เเพ็กเกจฝากครรภ์ คลิก
ข้อมูลโดย นพ.วันชัย นาถตระกูลพิทักษ์
สูตินรีแพทย์
ศูนย์สุภาพสตรี อาคาร 5 ชั้น 2
โทร. 02-514-4141 ต่อ 5148 - 5220
Line id : @Paolochokchai4