4 พฤติกรรมเพิ่มความเสี่ยงเป็น
โรคกระดูกพรุน โรคกระดูกพรุน เกิดจาก ภาวะที่ความหนาแน่นมวลกระดูกของเราไม่เพียงพอต่อการต่อการเจริญเติบโต หรือในผู้สูงอายุ ซึ่งโรคนี้พบได้มากกว่าในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย ขาดความหนาแน่นของมวลกระดูกหลังจากที่เจริญเติบโตเต็มที่แล้ว ทำให้กระดูกไม่สามารถรับน้ำหนักของร่างกายได้ เกิดการบาดเจ็บ แตก หรือหักได้ง่าย แม้เป็นอุบัติเหตุเล็กๆ น้อยๆ เช่นหกล้ม ตกบันได เป็นต้น
สาเหตุที่ทำให้เกิดโรคกระดูกพรุน- 1. พันธุกรรม คนผิวขาวมักมีมวลกระดูกน้อยกว่าคนสีเข้ม และคนที่ครอบครัวมีประวัติเป็นกระดูกพรุนมาก่อน
- 2. ผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน ในวัย 60 ปีขึ้นไปพบมากถึง 25%
- 3. ผู้ที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป ความหนาแน่นของมวลกระดูกจะลดลง 1-3% ทุกๆ ปี
พฤติกรรมที่เพิ่มความเสี่ยงโรคกระดูกพรุน1. การสูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์หรือเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน สารคาเฟอีนนั้นจะทำให้ร่างกายดูดซึมแคลเซียมจากอาหารน้อยลง
2. การทานโซเดียม หรือทานเค็มมากเกินไป เพราะร่างกายจะขับโซเดียมทางปัสสาวะรวมถึงแคลเซียมในร่างกายด้วย
3. ใช้ยาที่มีสเตียรอยด์มากเกินความจำเป็น จะทำให้มวลกระดูกสลายตัวเร็วกว่าที่ควร
4. ป่วยเป็นโรคเรื้อรังที่เกี่ยวกับ ทางเดินอาหาร ระบบย่อยอาหาร กระเพาะ ตับ และไต
นอกจากนี้ พฤติกรรมการนั่งท่าเดิมนานๆ หรือกิจวัตรที่ไม่ค่อยขยับก็เป็นปัจจัยเสี่ยงของโรคกระดูกพรุนได้เช่นกัน
การป้องกันโรคกระดูกพรุนง่ายๆ ไม่ต้องใช้ยา - 1. ทานอาหารให้ครบ 5 หมู่
- 2. การออกกำลังกาย จะช่วยให้กระดูกเราแข็งแรงขึ้น ในทุกๆ ก้าวที่เราวิ่งกระดูกจะดูดซึมแคลเซียมที่ได้จากสารอาหารเสริมสร้างความหนาแน่นให้มวลกระดูกของเรา
- 3. การรับแสงแดดช่วงเช้า ไม่แรงมาก เพราะแสงแดดจะเปลี่ยนไขมันใต้ผิวหนังของเราให้เป็นวิตามิน D ที่เป็นตัวสร้างแคลเซียมเพื่อให้ร่างกายไปใช้สร้างมวลกระดูกอีกที
สำหรับผู้ที่มีความเสี่ยง สามารถป้องกันได้โดยการตรวจมวลกระดูกควบคู่ไปกับการตรวจสุขภาพประจำปีได้เลย เพราะจะได้ทราบถึงความเสี่ยงของตัวเองก่อนที่จะสายเกินแก้

ขอบคุณบทความดีๆ จาก
นายแพทย์วีระยุทธ บุญเกียตริเจริญ
แพทย์ประจำศูนย์ตรวจสุขภาพ โรงพยาบาลเปาโล รังสิต
ปรึกษาปัญหาสุขภาพ
โรงพยาบาลเปาโล รังสิต โทร 0-2577-8111
รับข่าวสารและกิจกรรมทางสุขภาพดีๆ ได้ที่
Facebook : โรงพยาบาลเปาโล รังสิต
Line ID : @paolorangsit
