วัคซีน HPV ป้องกันมะเร็งได้ทั้งชาย หญิง
โรงพยาบาลเปาโลเกษตร
01-ก.พ.-2567

วัคซีน HPV ป้องกันมะเร็งได้ทั้งชาย หญิง

มะเร็งปากมดลูกพบบ่อยในสตรีไทยเป็นอันดับที่ 5 ของมะเร็งที่พบในสตรีไทย (ข้อมูลจาก Cancer in Thailand Vol.x, 2016-2018 จัดทำและเผยแพร่โดยสถาบันมะเร็งแห่งชาติ) ส่วนใหญ่พบในช่วงอายุ 30-60 ปี
และมีผู้ป่วยเสียชีวิตดด้วยโรคมะเร็งปากมดลูกเฉลี่ยวันละ 6 คน


สาเหตุการเกิดโรคมะเร็งปากมดลูก

เกิดจากการติดเชื้อไวรัส HPV (Human papilloma virus) สายพันธ์ุความเเสี่ยงสูงซึ่งมีประมาณ 14 สายพันธ์ุ สายพันธ์ุที่ 16 และ 18 เป็นสาเหตุของการเกิดมะเร็งปากมดลูกร้อยะ 70 ของทั่วโลก ในประเทศไทยได้มีการศึกษาระบาดวิทยาการติดเชื้อ HPV ในสตรีไทย 5906 รายที่มารับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกในปี 2011-2012  พบการติดเชื้อ HPV สายพันธ์ุความเสี่ยงสูงสายพันธ์ุที่ 52 พบมากที่สุด รองลงมาคือ สายพันธ์ุ 16, สายพันธ์ุ 51, สายพันธ์ุ 58 และสายพันธ์ุ 18 (Genotypic distribution of human papilloamavirus (HPV) and cervical cytology findings in 5906 Thai women undergoing cervical cancer screening programs)

การติดเชื้อ HPV สามารถติดได้แม้มีเพียงคู่นอนเพียงคนเดียว แต่ส่วนใหญ่การติดเชื้อจะหายได้เองร้อยละ 90 มีเพียงส่วนน้อยที่มีการติดเชื้อเป็นระยะเวลานาน และก่อให้เกิดเยื่อบุผิวปากมดลูกผิดปกติ

การติดเชื้อ HPV นอกจากก่อให้เกิดมะเร็งปากมดลูกแล้ว ยังก่อให้เกิดมะเร็งช่องคลอด มะเร็งปากช่องคลอด มะเร็งที่อวัยวะเพศชาย มะเร็งที่รูทวารหนัก มะเร็งลำคอ และก่อให้เกิดหูดหงอนไก่ที่อวัยวะเพศ

การป้องกันมะเร็งปากมดลูก
1.
การให้สุขศึกษา หลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงต่าง ได้แก่ การมีเพศสัมพันธ์ตั้งแต่อายุน้อย การมีคู่นอนหลาน การสูบบุหรี่และมีภาวะภูมิคุ้มกันต่ำ
2.
การฉีดวัคซีนป้องกันการติดเชื้อ HPV โดยวัคซีนมีส่วนประกอบเป็น Antigen ของไวรัสที่ผลิตจากการสังเคราะห์เฉพาะเปลือก (L1 Protein) โดยไม่มีสารพันธุกรรมที่ก่อมะเร็งของเชื้อไวรัส ตัววัคซีนกระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันต่อเชื้อ HPV ปัจจุบันผลิตจำหน่ายแล้ว 3 ชนิด ได้แก่

✔ วัคซีนชนิด 2 สายพันธ์ุ ป้องกันการติดเชื้อไวรัส HPV สายพันธ์ความเสี่ยงสูงสายพันธุ์ 16, 18

✔ วัคซีนชนิด 4 สายพันธ์ุ ป้องกันการติดเชื้อไวรัส HPV สายพันธ์ุความเสี่ยงสูงสายพันธุ์ 16, 18 และป้องกันการติดเชื้อไวรัส HPV สายพันธ์ุความเสี่ยงต่ำ ที่มักก่อให้เกิดหูดสายพันธ์ุ 6,11

✔ วัคซีนชนิด 9 สายพันธ์ุ ป้องกันการติดเชื้อไวรัส HPV สายพันธ์ุความเสี่ยงสูงที่พบบ่อยทั่วโลกและในสตรีไทยได้แก่ สายพันธุ์ 16, 18, 31, 33, 45, 52, 58 และป้องกันการติดเชื้อไวรัส HPV สายพันธ์ความเสี่ยงต่ำ ที่มักก่อให้เกิดหูดสายพันธ์ุ 6,11

ใครควรได้รับวัคซีนป้องกันการติดเชื้อ HPV บ้าง

CDC ของประเทศสหรัฐอเมริกาแนะนำให้ทุกคนที่ช่วงอายุ 11-12 ปี และได้รับ 2 เข็มในกลุ่มอายุน้อยกว่า 15 ปี โดยเข็มแรกและเข็มที่สองห่างกันอย่างน้อย 6 เดือน ในช่วงอายุตั้งแต่ 15-26 ปีควรรับ 3 เข็ม ในผู้ป่วยที่มีภาวะภูมิคุ้มกันร่างกายต่ำตั้งแต่อายุ 9-26 ปี ควรได้รับ 3 เข็ม เช่นเดียวกัน

ในช่วงอายุ 27— 45 ปี หากยังไม่เคยรับวัคซีนป้องกันการติดเชื้อ HPV สามารถรับวัคซีนได้ แต่ควรปรึกษาแพทย์ถึงประโยชน์จากการรับวัคซีน ซึ่งอาจได้ประโยชน์น้อยกว่ากลุ่มอายุน้อย เนื่องจากมักเคยติดเชื้อ HPV มาแล้ว


คำแนะนำการรับวัคซีนป้องกันการติดเชื้อ HPV ในประเทศไทย (อ้างอิงราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์และสมาคมมะเร็งนรีเวชไทย)

กลุ่มเป้าหมายหลัก ได้แก่ เด็กหญิงอายุ 11-12 ปี โดยฉีด 2 เข็มห่างกัน 6-12 เดือน

กลุ่มอื่น ๆ ที่แนะนำให้ฉีดวัคซีน ได้แก่

✔ หญิงและชาย ช่วงอายุ 9-26 ปี โดยฉีด 3 เข็ม ที่ 0,1-2,6 เดือน หากอายุน้อยกว่า 15 ปี ให้ฉีด 2 เข็มได้ ยกเว้นผู้ที่มีภาวะภูมิคุ้มกันต่ำ ต้องฉีดให้ครบ 3 เข็ม
✔ หญิงและชายที่มีภาวะภูมิคุ้มกันต่ำ เช่น ติดเชื้อไวรัส HIV
✔ หญิงที่เคยมีผลตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกผิดปกติ หรือมีประวัติผลตรวจ HPV testing ผิดปกติ หรือเคยเป็นรอยโรคก่อนมะเร็งที่ปากมดลูก หรือเคยเป็นหูดหงอนไก่
✔ หญิงที่เคยมีเพศสัมพันธ์แล้ว หรืออายุ 26-45 ปี ให้พิจารณาเป็นราย ถึงประโยชน์ของการฉีดวัคซีน
✔ หากต้องการฉีดวัคซีนก่อนตั้งครรภ์ ควรคุมกำเนิดอย่างน้อย 1 เดือน หลังจากฉีดวัคซีนครบ 3 เข็ม
ไม่แนะนำให้ฉีดวัคซีนในสตรีตั้งครรภ์ แต่ถ้าฉีดไปแล้ว ทราบว่าตั้งครรภ์ แนะนำให้ฉีดเข็มที่เหลือต่อหลังคลอดจนครบ 3 เข็ม ไม่พบ รายงานว่าวัคซีนมีผลเสียต่อการตั้งครรภ์
สตรีให้นมบุตร สามารถรับวัคซีนได้
✔ ผู้ที่ไม่ได้รับการฉีดวัคซีนตามระยะเวลาที่กำหนดให้ฉีดต่อจนครบ 3 เข็ม โดยไม่ต้องเริ่มต้นเข็มที่ 1 ใหม่ และแนะนำให้ฉีดวัคซีนชนิดเดียวกันทั้ง 3 เข็ม
✔ ไม่มีข้อบ่งชี้ในการฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้น
หลังจากฉีดวัคซีนครบแล้ว ยังคงต้องรับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกตามคำแนะนำของการตรวจคัดกรองเช่นเดียวกับสตรีทั่วไป

 ผู้ที่ไม่ควรรับวัคซีนป้องกันการติดเชื้อไวรัส HPV

1. มีประวัติแพ้ส่วนประกอบของวัคซีนอย่างรุนแรง
2. มีประวัติแพ้ Yeast (วัคซีนยี่ห้อ Gardasil, Gardasil9)
3. ตั้งครรภ์ ควรเลื่อนกำหนดการฉีดวัคซีนออกไปหลังคลอด
อาการข้างเคียงการฉีดวัคซีนที่พบบ่อยได้แก่ ปวดบวมบริเวณที่ฉีด หรือมีไข้ ผลข้างเคียงรุนแรงกว่านี้พบได้น้อยมาก




🔹บทความสุขภาพ🔹
➮ โรคเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ ENDOMETRIOSIS 
➮ ถุงน้ำรังไข่ โรคใกล้ตัวที่คุณผู้หญิงต้องใส่ใจ 
➮ กลุ่มโรคมะเร็งสตรี ที่พบบ่อย 
➮ "มะเร็งเต้านม" ปัญหาสุขภาพที่ไม่ควรมองข้าม ตรวจเจอเร็วรักษาได้ทัน 
สัญญาณเตือนอาการปวดท้องประจำเดือนในวัยรุ่น




สอบถามรายละเอียดข้อมูลเพิ่มเติม

แผนกสูตินรีเวช โรงพยาบาลเปาโล เกษตร
โทร. 02 1500 900 ต่อ 5
420
Facebook : โรงพยาบาลเปาโล เกษตร
Line official account : Paolo Hospital Kaset
Line ID : @paolokaset