อาการ “ปวดหลัง” “ปวดเอว” ถือเป็นปัญหาสุขภาพที่มักพบบ่อยในคนวัยทำงาน โดยเฉพาะกลุ่มคนทำงานออฟฟิศที่ต้องนั่งอยู่กับที่ และจ้องจอคอมพิวเตอร์เป็นเวลานานๆ ที่ส่วนใหญ่มักจะต้องเผชิญกับอาการที่เกิดจากการอักเสบ และเกร็งตัวของกล้ามเนื้อ ทำให้เกิดอาการปวดคอ ปวดตามตัว รวมถึงปวดหลังเรื้อรังตามมา ซ้ำร้ายอาการปวดบางประเภทยังเป็นสัญญาณเตือนว่าอาจจะมีโรคร้ายอื่นๆ ตามมาได้อีกด้วย
อาการปวดเอวเรื้อรังมีลักษณะอาการอย่างไรบ้าง
ความเจ็บปวดที่เกิดขึ้นบริเวณเอว หรือด้านหลังส่วนล่าง โดยจะเกิดอาการปวดตรงใต้ซี่โครงและเหนือกระดูกเชิงกราน ซึ่งคนทุกเพศ ทุกวัย ไม่ว่าเด็ก วัยรุ่น หนุ่มสาว หรือผู้สูงอายุ ก็สามารถที่จะเกิดปัญหาปวดเอวได้ทั้งสิ้นหากรูปแบบการใช้ชีวิตขาดความระมัดระวัง ถ้าหากความเจ็บปวดที่เกิดขึ้นนั้นเป็นเพียงชั่วคราว ก็สามารถที่จะทำการดูแล แก้ไข ไปตามลักษณะของอาการเพื่อให้ความเจ็บปวดเลือนหายไปได้ไม่ยากนัก แต่ถ้าหากมีอาการปวดเอวต่อเนื่องกันนานกว่า 3 เดือนขึ้นไป อาการปวดเอวเรื้อรังนี้ก็อาจจะรักษาด้วยตัวเองได้ยาก และควรที่จะไปทำการปรึกษากับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อรักษาต้นตอของปัญหาอย่างเหมาะสมและถูกวิธีสาเหตุของอาการปวดเอว แบ่งได้เป็น 3 สาเหตุหลักด้วยกัน คือ
1. เนื่องมาจากไตอักเสบ หรืออาจมีนิ่วที่ไต มักจะมีอาการอย่างอื่นร่วมด้วย เช่น มีไข้ เวลาปัสสาวะอาจมีแสบ ขัด ขุ่น ถ้าเคาะเบาๆ ที่เอวด้านที่ปวดจะเจ็บมากจนทนไม่ไหว
2. เกิดจากกระดูกสันหลัง หรือหมอนรองกระดูกสันหลังที่เอวเคลื่อนกดทับเส้นประสาท หรือกระดูกสันหลังเคลื่อน เมื่อกระดูกสันหลังเสื่อมและเสียความมั่นคงแข็งแรงไป จะทำให้กระดูกสันหลังเคลื่อนได้ ส่งผลให้เกิดอาการปวดหลังปวดเอวเมื่อมีการขยับ และอาจมีการปวดร้าวลงขาได้เมื่อมีการกดทับเส้นประสาท
3. เกิดจากกล้ามเนื้อหลังผิดปกติ จากท่าทาง อิริยาบถ การเคลื่อนไหวร่างกาย และการใช้งานกล้ามเนื้อหลังที่ไม่ถูกต้องเป็นเวลานาน มักเกิดจากการทำงานก้มๆ เงยๆ ยกของหนัก นั่ง ยืน นอน หรือยกของในท่าที่ไม่ถูกต้อง การใส่รองเท้าส้นสูงมากเกินไป นั่งเล่นเกมหรือทำงานนานเกินไป หรือนอนที่นอนนุ่มเกินไปทำให้เกิดแรงกดตรงกล้ามเนื้อสันหลังส่วนล่าง ซึ่งจะมีอาการเกร็งตัวของกล้ามเนื้อหลัง ส่งผลให้เกิดอาการปวดตรงกลางหลังส่วนล่าง รวมถึงคนที่มีน้ำหนักตัวมากหรือหญิงที่กำลังตั้งครรภ์ ก็อาจมีอาการปวดลักษณะนี้ได้ลดอาการปวดเอวอย่างง่ายๆ ด้วยตัวเองที่บ้าน
- ใช้ยาแก้ปวดชนิดรับประทานเพื่อต้านและบรรเทาอาการอักเสบ ความเจ็บปวด ด้วยการผ่อนคลายกล้ามเนื้อ ซึ่งอาจช่วยลดอาการปวดเอวแบบฉับพลันให้ลดน้อยลงได้
- พักผ่อนร่างกายเมื่อเกิดอาการปวดเอว เพื่อลดการเคลื่อนไหวของเอวให้น้อยลง
- ออกกำลังกายบริหารกล้ามเนื้ออย่างเบาๆ เช่น การว่ายน้ำ หรือออกกำลังกายในสระน้ำอุ่น
- จัดอุปกรณ์สนับสนุนการทำงานอย่างเหมาะสม เช่น เก้าอี้ที่สามารถช่วยลดอาการปวดเอว หรือโต๊ะทำงานที่สูงในระดับที่เพียงพอ
- หาเวลาเอนหลังพักผ่อนบ้างในขณะทำงาน เพื่อช่วยลดอาการเกร็งของกล้ามเนื้อบริเวณเอว ที่มักเกิดขึ้นบ่อยๆ ในขณะที่ทำงานระหว่างวัน
หลังจากที่ได้ปฎิบัติตัวตามขั้นตอนเหล่านี้อย่างถูกต้องเหมาะสม ในระยะเวลาเพียงไม่นาน อาการปวดเอวจะหายไปเองตามธรรมชาติภายในระยะเวลาเพียงไม่กี่วัน หรือประมาณหนึ่งสัปดาห์ แต่ถ้าอาการปวดยังคงอยู่อย่างยาวนานถึงสามเดือน ถือเป็นสัญญาณเตือนของอาการปวดเอวเรื้อรังซึ่งอาจสร้างความรำคาญจนไม่สามารถใช้ชีวิตประจำวันได้ตามปกติ หรืออาจจะส่งผลเสียต่อร่างกายให้ทรุดลงก็ได้ แนะนำให้รีบไปพบแพทย์เพื่อเข้ารับการรักษาที่ถูกต้องหากคุณกังวลเกี่ยวกับสุขภาพของตัวเองหรือคนที่คุณรัก? วางแผนล่วงหน้าด้วยแผนประกันสุขภาพ คุณจะได้รับการคุ้มครองอย่างครอบคลุม ทั้งค่ารักษาพยาบาล (กรณีป่วยแอดมิทเป็นผู้ป่วยในโรงพยาบาล) ค่าห้อง ค่าบริการทางการแพทย์และค่ายา การมีประกันสุขภาพสามารถช่วยให้การจัดการกับผลข้างเคียงราบรื่นและมีประสิทธิภาพ แล้วคุณจะได้ใช้ชีวิตอย่างมั่นใจและสบายใจทุกวัน
หากสนใจศึกษาข้อมูลการวางแผนทำประกันสุขภาพ แผน Exclusive Care @ BDMS สามารถโทรปรึกษาฟรีได้ทันที 02-822-1155 หรืออ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ Allianz Ayudhya
สอบถามรายละเอียด
ศูนย์กระดูกและข้อ อาคาร 1 ชั้น 1
โรงพยาบาลเปาโล โชคชัย 4
โทร.02-514-4141 ต่อ 1101 – 1103
Line : @Paolochokchai4