-
ตรวจสุขภาพก่อนแต่งงาน เรื่องที่คู่รักต้องใส่ใจ
สำหรับการแต่งงาน สิ่งที่สำคัญไม่น้อยไปกว่าการจัดงานแต่ง คงเป็นเรื่องสุขภาพของคู่บ่าวสาวหรือคู่รัก เพราะถือเป็นพื้นฐานสำคัญอย่างหนึ่งของการใช้ชีวิตคู่ ที่จะช่วยให้มีความมั่นใจและมีความปลอดภัยในด้านสุขภาพ ทั้งยังเปรียบเสมือนการป้องกันปัญหาและเตรียมพร้อมสำหรับการมีบุตรในอนาคตอีกด้วย
แต่การตรวจสุขภาพก่อนแต่งงานมีข้อดีอย่างไร ต้องหรือควรตรวจอะไรบ้าง โรงพยาบาลเปาโล สมุทรปราการ มีข้อมูลและคำแนะนำดีๆ ในการ ‘ตรวจสุขภาพก่อนแต่งงาน’ มาฝาก
เรื่องดีๆ ของคู่ที่ตรวจสุขภาพก่อนแต่งงาน
หลายคนอาจคิดว่าการตรวจสุขภาพก่อนแต่งงานไม่มีความจำเป็น แต่จริงๆ แล้วถือเป็นเรื่องสำคัญที่ไม่ควรมองข้าม เพราะจะได้สิ่งดีๆ และมีประโยชน์มากมาย เช่น
ควรตรวจอะไรบ้าง...ก่อนแต่งงาน
ซักประวัติและตรวจร่างกายเบื้องต้นโดยสูตินรีแพทย์ (Physical Examination by OB-GYN) : เพื่อตรวจดูความสมบูรณ์และความพร้อมของร่างกายทั้งฝ่ายชายและฝ่ายหญิง เช่น วัดความดันโลหิต ตรวจชีพจร และตรวจหาดัชนีมวลกาย (BMI)
ความสมบูรณ์ของเลือด (CBC) : เพื่อตรวจดูว่ามีโรคบางอย่างที่เป็นอันตรายต่อการตั้งครรภ์หรือไม่ หากพบว่ามีความผิดปกติที่อาจส่งผลต่อการตั้งครรภ์ ก็จำเป็นต้องได้รับการดูแลจากแพทย์อย่างใกล้ชิด
ตรวจหมู่เลือด (ABO group) : ให้ทราบถึงกรุ๊ปเลือดของตนเอง หากเกิดเหตุฉุกเฉินที่ต้องการเลือด จะได้จัดกรุ๊ปเลือดได้ทันท่วงที
ตรวจหมู่เลือด (Rh Factor) : เพื่อดูชนิดเลือดของคุณแม่ ว่ามีค่า Rh Factor เป็น Rh+ หรือ Rh- เนื่องจากมีผลต่อความเสี่ยงในการแท้งลูกหรือมีปัญหาต่อลูกในครรภ์ และคุณแม่ได้
ตรวจหาภูมิคุ้มกันและเชื้อไวรัสตับอักเสบบี (Anti HBs / HBs Ag) : หากพบว่ามีเชื้อ แสดงว่าคุณสามารถแพร่กระจายเชื้อผ่านทางเลือดและการมีเพศสัมพันธ์ได้ และอาจทำให้ลูกน้อยในครรภ์มีโอกาสติดเชื้อได้อีกด้วย ซึ่งหากพบการติดเชื้อก็สามารถรับวัคซีนชนิดต่างๆ เพื่อช่วยปกป้องคู่รักและลูกของคุณได้
ตรวจหาความผิดปกติของเม็ดเลือดแดง (Hb Typing) : เป็นการตรวจหาความผิดปกติของฮีโมโกลบินในเม็ดเลือดแดงที่เป็นสาเหตุของโรคธาลัสซีเมีย ซึ่งเป็นโรคที่สามารถถ่ายทอดทางพันธุกรรมที่อาจส่งผลกระทบถึงลูกได้ รวมถึงโรคที่รุนแรงที่อาจทำให้ทารกเสียชีวิตในครรภ์ และเป็นอันตรายกับมารดาได้หากไม่ทราบก่อน
ตรวจหาภูมิคุ้มกันหัดเยอรมัน (Rubella IgG) : เป็นการตรวจภูมิคุ้มกันหัดเยอรมันเฉพาะในผู้หญิง เนื่องจากหากไม่มีภูมิคุ้มกัน และเกิดติดเชื้อในระหว่างตั้งครรภ์อาจทำให้ทารกที่เกิดมามีความผิดปกติ เช่น หูหนวก ตาผิดปกติ การเจริญเติบโตและพัฒนาการผิดปกติ หรืออาจถึงขั้นเสียชีวิตได้ ดังนั้นเมื่อพบว่าไม่มีภูมิคุ้มกัน ควรฉีดวัคซีนและคุมกำเนิดไว้อย่างน้อย 3 เดือน
ตรวจหาเชื้อกามโรค VDRL (RPR) : หรือการตรวจหาเชื้อซิฟิลิส ที่เป็นการโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ที่เป็นสาเหตุให้เกิดภาวะแทรกซ้อนระหว่างการตั้งครรภ์ ทำให้ลูกในครรภ์มีกลุ่มอาการผิดปกติ หรือมีผลต่อการตั้งครรภ์ในอนาคตได้
ตรวจหาภูมิคุ้มกันเชื้อไวรัสเอดส์ (Anti HIV) : เป็นการตรวจภูมิคุ้มกันของร่างกายที่สร้างขึ้นมาเมื่อมีเชื้อ HIV เข้าสู่ร่างกาย หากพบเชื้อจะได้หาทางรักษาและป้องกันได้ทันท่วงที เช่น การใช้ถุงยางอนามัย หรือการรับประทานยาป้องกันโรคชนิด PrEP เพื่อป้องกันคู่รักหรือลูกในครรภ์ได้ รวมถึงการวางแผนมีบุตรโดยวิธีที่เสี่ยงกับคู่น้อยที่สุด
นอกจากนี้การตรวจภายในเพิ่มเติมในฝ่ายหญิง เช่น ตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก อัลตร้าซาวด์มดลูก รังไข่ ช่องท้อง ตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม ก็มีส่วนช่วยในการวางแผนอนาคตสำหรับคู่รักที่ต้องการสร้างครอบครัวได้ ทั้งยังช่วยสร้างความปลอดภัยและความมั่นใจสำหรับการมีลูกน้อยในวันข้างหน้าด้วย
บทความโดย
โรงพยาบาลเปาโล สมุทรปราการ
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม
ศูนย์ส่งเสริมสุขภาพสตรี
โรงพยาบาลเปาโล สมุทรปราการ
โทร. 02-363-2000 ต่อ 2201-2202
รับข่าวสารและกิจกรรมทางสุขภาพดีๆได้ที่