-
ตรวจ HPV DNA ลดความเสี่ยง เลี่ยงมะเร็งปากมดลูก
หนึ่งในมะเร็งที่พบมากเป็นอันดับ 1 และเป็นสาเหตุอันดับต้นๆ ของการเสียชีวิตของหญิงไทย คือ “มะเร็งปากมดลูก” ซึ่งเป็นมะเร็งไม่กี่ชนิดที่เราทราบถึงสาเหตุของการเกิดโรค และยังเป็นมะเร็งที่สามารถตรวจคัดกรองและรักษาได้ก่อนเป็น เนื่องจากตัวการสำคัญนั้นมาจากเชื้อไวรัสที่เรียกว่า “HPV”
รู้จักกับเชื้อ HPV ต้นเหตุของมะเร็งปากมดลูก
เชื้อ HPV หรือ Human Papilloma Virus เป็นเชื้อไวรัสชนิดหนึ่งที่เป็นสาเหตุของการเกิดมะเร็งชนิดต่างๆ เช่น มะเร็งปากมดลูก มะเร็งช่องคลอด มะเร็งปากช่องคลอด มะเร็งอวัยวะเพศชาย มะเร็งทวารหนัก หรือมะเร็งช่องปากและลำคอ และโรคหูดหงอนไก่ โดยเชื้อไวรัส HPV แบ่งออกเป็นชนิดที่ความเสี่ยงต่ำและชนิดความเสี่ยงสูง
สาเหตุของการติดเชื้อ HPV
สาเหตุของการติดเชื้อ HPV ส่วนใหญ่มักติดต่อผ่านการมีเพศสัมพันธ์ ไม่ว่าจะเป็นเพศสัมพันธ์ทางช่องคลอด ทวารหนัก ปาก หรือการใช้อุปกรณ์เพื่อสนองความต้องการทางเพศร่วมกัน ทำให้ผู้ที่เคยมีเพศสัมพันธ์มาก่อนแม้จะครั้งเดียว ก็มีโอกาสติดเชื้อไวรัส HPV ได้ รวมถึงการสัมผัสระหว่างผิวหนังต่อผิวหนัง
ตรวจหาเชื้อ HPV อย่างแม่นยำด้วยการตรวจ HPV DNA
ปัจจุบันมีการตรวจหาเชื้อ HPV แบบเจาะลึกระดับดีเอ็นเอหรือที่เรียกว่า “การตรวจ HPV DNA” ซึ่งเป็นเทคนิคการตรวจระดับชีวโมเลกุลที่สามารถค้นหาเชื้อ HPV ได้ในระยะก่อนที่จะเกิดเป็นมะเร็งปากมดลูก ทำให้สามารถป้องกันและรักษาได้ก่อนที่เซลล์จะเปลี่ยนแปลงเป็นมะเร็งปากมดลูก โดยมีวิธีตรวจคล้ายกับการตรวจภายใน คือการเก็บตัวอย่างบริเวณปากมดลูกและช่องคลอดด้านใน จากนั้นจึงส่งตรวจเพื่อหาเชื้อ HPV
ซึ่งการตรวจ HPV DNA สามารถตรวจหาสายพันธุ์ของเชื้อไวรัส HPV ชนิดความเสี่ยงสูงได้ รวมถึงสายพันธุ์ที่ 16 และ 18 ซึ่งเป็นสายพันธุ์ที่ก่อให้เกิดมะเร็งปากมดลูกมากที่สุด
การตรวจร่วมกัน ย่อมให้ผลที่แม่นยำกว่า
การตรวจเซลล์ปากมดลูกมีความไวที่ไม่มากนัก แต่เมื่อตรวจร่วมกับ HPV DNA จะเพิ่มความไว และความแม่นยำของการตรวจ หากตรวจพบการติดเชื้อชนิดความเสี่ยงสูง ก็สามารถวางแผนการตรวจติดตามและรักษาเพื่อป้องกันการพัฒนาต่อเป็นมะเร็งปากมดลูกให้เหมาะสมกับบุคคล
HPV DNA ควรตรวจตั้งแต่เมื่อไหร่ และบ่อยแค่ไหน
การเตรียมตัวก่อนตรวจ HPV DNA
แม้ว่ามะเร็งปากมดลูกจะเป็นมะเร็งที่ร้ายแรง แต่มะเร็งปากมดลูกก็เป็นมะเร็งไม่กี่ชนิดที่สามารถตรวจคัดกรองพบระยะก่อนเป็นมะเร็ง ดังนั้นจึงไม่ควรตรวจคัดกรองตามคำแนะนำ ไม่ว่าจะเป็นการตรวจเซลล์หรือ Co-testing เพื่อลดความเสี่ยงมะเร็งปากมดลูก
นอกจากนี้ การป้องกันอีกหนึ่งวิธี ที่สามารถช่วยลดความเสี่ยงได้ คือ การฉีดวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก ซึ่งเป็นวิธีการป้องกันที่มีประสิทธิภาพ โดยสามารถฉีดได้ตั้งแต่อายุ 9 ปีขึ้นไป
บทความโดย
โรงพยาบาลเปาโล สมุทรปราการ
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม
ศูนย์ส่งเสริมสุขภาพสตรี
โรงพยาบาลเปาโล สมุทรปราการ
โทร. 02-363-2000 ต่อ 2201-2202
รับข่าวสารและกิจกรรมทางสุขภาพดีๆได้ที่