การใช้ฮอร์โมน เพื่อการข้ามเพศ
โรงพยาบาลเปาโลเกษตร
16-ส.ค.-2566

Gender – affirming hormone therapy

การปรับฮอร์โมน เพื่อการข้ามเพศ LGBTQ+

การปรับฮอร์โมน ในกลุ่มคนข้ามเพศ หรือ ทรานเจนเดอร์ (Transgender) เป็นการนำฮอร์โมน เพศที่ต้องการ เข้าสู่ร่างกายเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง หรือข้ามเพศไปยังเพศที่ต้องการในเบื้องต้น

การใช้ฮอร์โมนหรือยาฮอร์โมน เพื่อปรับลักษณะ ทางกายภาพในกลุ่มคนข้ามเพศ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่
1. ฮอร์โมนสำหรับชายเป็นหญิง
(Feminizing hormone therapy) สำหรับผู้ที่เพศกำเนิดเป็นเพศชายแต่ต้องการปรับสรีระร่างกายให้มีความเป็นเพศหญิง ซึ่งทำได้โดย
-
การเสริมฮอร์โมนเพศหญิงหรือเอสโตรเจน (Estrogen)
- ยายับยั้งฮอร์โมนเพศชาย
(Anti androgen agent)

2. ฮอร์โมนสำหรับหญิงเป็นชาย (Masculinizing hormone therapy) สำหรับผู้ที่มีเพศกำเนิดเป็นเพศหญิงแต่ต้องการปรับสรีระร่างกายให้มีความเป็นเพศชาย สามารถทำได้โดย
-
การเสริมฮอร์โมนเพศชายหรือแอนโดรเจน (Androgen) ซึ่งฮอร์โมนหลัก ๆ คือ ฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน

การใช้ฮอร์โมนเพื่อการข้ามเพศ
การใช้ฮอร์โมนบำบัดเพื่อการข้ามเพศสามารถทำได้หลายวิธี ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของร่างกายแต่ละคน ซึ่งสามารถทำได้หลายวิธี ดังนี้
1. การกินในรูปแบบยาเม็ด
2. รูปแบบยาฉีด โดยยาสามารถเข้าสู่กระแสเลือดโดยตรง
3. การให้ยาทางผิวหนัง ด้วยวิธีการแปะ หรือทายาฮอร์โมนชนิดเจล เพื่อให้ยาซึมผ่านผิวหนังเข้าสู่กระแสเลือดและออกฤทธิ์ได้โดยตรง



หากคุณกำลังเป็นคนหนึ่งที่กำลังวางแผนเพื่อการข้ามเพศแล้วไม่รู้ว่าจะเริ่มต้นอย่างไร
ต้องเตรียมตัวดังนี้

1. ด้านร่างกาย ดูแลสุขภาพให้สมบูรณ์แข็งแรง ผลเลือดอยู่ในเกณฑ์ดี ซึ่งในกรณีนี้สามารถเข้ารับการปรึกษาจากแพทย์และรับการตรวจร่างกายก่อนการให้ฮอร์โมนได้
2. ด้านจิตใจ จำเป็นต้องได้รับการสัมภาษณ์จากจิตแพทย์ และควรผ่านแบบทดสอบทางจิตวิทยา อย่างไรก็ตาม คลินิกสุขภาพเพศ 
Intimacy Care Clinic Paolo Kaset มีบริการให้คำปรึกษาโดยแพทย์เวชศาสตร์ทางเพศที่มีความเชี่ยวชาญโดยเฉพาะ
3. ด้านสังคม สภาพสังคม และหน้าที่การงานของคุณเปิดโอกาสให้กับการเปลี่ยนแปลงหรือไม่ สถานที่ทำงานมีกฎเกณฑ์ในด้านเครื่องแบบตามคำนำหน้า (นางสาว , นาย) หรือไม่


อยากใช้ฮอร์โมนเพื่อการข้ามเพศ ต้องเริ่มอย่างไร
1. ศึกษาหาข้อมูล เพื่อเตรียมพร้อมที่จะเกิดการเปลี่ยนแปลง
2. ติดต่อ คลินิก สุขภาพเพศ Intimacy Care Clinic Paolo Kaset เพื่อปรึกษาแพทย์เฉพาะทาง
3. เข้ารับการให้ฮอร์โมนตามที่แพทย์นัดหมาย ไม่ควรให้ฮอร์โมน/เทคฮอร์โมนด้วยตัวเอง เนื่องจากจะมีปัญหาเรื่องความปลอดภัย
4. ตรวจเลือดและตรวจสุขภาพตามที่แพทย์นัดหมาย

อย่างไรก็ตาม การให้ฮอร์โมนให้ปลอดภัย และเห็นผล ควรทำภายใต้การดูแลของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านฮอร์โมนโดยเฉพาะ เพื่อลดการเกิดผลข้างเคียงที่เป็นอันตราย ไม่ควรซื้อยาฮอร์โมนมารับประทานด้วยตนเอง




🔹บทความสุขภาพ🔹
ภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศ
สัญญาณเตือนภาวะฮอร์โมนผิดปกติ
การให้ฮอร์โมนทดแทน




สอบถามรายละเอียดข้อมูลเพิ่มเติม
คลินิก Health Care Paolo Kaset
Facebook : โรงพยาบาลเปาโล เกษตร

Line official account : health care Paolo Kaset