-
อาการไหนที่บ่งบอกว่าใช่ “ภาวะไส้เลื่อน”
คำว่า “ไส้เลื่อน” มักเป็นคำที่ใครหลายคนเคยได้ยินกันมาตั้งแต่ตอนยังเด็ก แต่อาจไม่ได้ให้ความสำคัญกับภาวะนี้ซักเท่าไหร่ แต่จริงๆ แล้วภาวะไส้เลื่อนเป็นภาวะที่ใครหลายคนมักประสบพบเจอ โดยเฉพาะผู้ชายที่มีอายุมากขึ้น ก็จะยิ่งมีความเสี่ยงต่อภาวะไส้เลื่อนได้ ดังนั้น เราจึงมาให้คำแนะนำเกี่ยวกับ “ภาวะไส้เลื่อน” ให้ได้เข้าใจและรับมือกับมันได้อย่างถูกต้องหากเกิดขึ้นกับตนเองหรือบุคคลใกล้ตัวของท่าน
ทำความรู้จักกับ “ภาวะไส้เลื่อน”
ไส้เลื่อน (hernia) เป็นภาวะที่ลำไส้หรืออวัยวะในช่องท้องบางส่วนเลื่อนตัวออกมานอกช่องท้อง ผ่านผนังช่องท้องที่บอบบางหรืออ่อนแอ โดยตำแหน่งที่มักพบไส้เลื่อนได้บ่อย คือ บริเวณขาหนีบ สะดือ กระบังลม ผนังหน้าท้อง หรือแผลผ่าตัด โดยจะสังเกตเห็นเป็นลักษณะก้อนๆ ตุง นูนออกมาจากอวัยวะที่ไส้เลื่อน ซึ่งหากปล่อยไว้อาจส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ ตามมาได้ เช่น ลำไส้อุดตัน หรือลำไส้ขาดเลือด ซึ่งเป็นสาเหตุให้ถึงแก่ชีวิต ซึ่งต้องเข้ารับการผ่าตัดฉุกเฉินเท่านั้น
ปัจจัยที่ส่งผลให้เสี่ยงต่อ...ภาวะไส้เลื่อน
ทั้งนี้ยังรวมถึงแรงดันในช่องท้องที่เพิ่มขึ้น จากพฤติกรรมต่างๆ เช่น การยกของหนักหรือออกกำลังกายหนักๆ เป็นประจำ การเบ่งอุจจาระเป็นประจำเนื่องจากมีภาวะท้องผูก ต่อมลูกหมากโตทำให้ต้องเบ่งเมื่อปัสสาวะ หรือการไอเรื้อรัง เช่น การไอของผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง โรคถุงลมโป่งพอง หรือโรคหลอดลมอักเสบเรื้อรัง
อาการแบบไหน...ที่บ่งบอกว่าเป็น “ไส้เลื่อน”
เมื่อเกิดภาวะไส้เลื่อนขึ้นกับผู้ป่วย ผู้ป่วยจะสามารถคลำได้ก้อนนูนๆ บริเวณที่เกิดโรค อาจมีอาการปวดหน่วงๆ ขณะที่มีก้อนยื่นออกมา โดยเฉพาะขณะก้มตัว ยกสิ่งของ และไอจาม ในบางกรณีหากมีอาการไม่มาก ผู้ป่วยสามารถดันถุงไส้เลื่อนให้กลับเข้าไปในช่องท้องได้
แต่ในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการโป่งของผนังหน้าท้อง ไม่สามารถดันไส้เลื่อนกลับเข้าช่องท้องได้ หรือรู้สึกถึงอาการปวดมากขึ้น อาจเป็นอาการของลำไส้บวมและขาดเลือด จนเกิดอาการเน่าทำให้ลำไส้ตาย และติดเชื้อในกระแสเลือดในที่สุด
วิธีการตรวจวินิจฉัยภาวะไส้เลื่อน
การตรวจวินิจฉัยสำหรับผู้ป่วยที่มีภาวะไส้เลื่อน จะขึ้นอยู่กับตำแหน่งของไส้เลื่อน เช่น หากเป็นที่ตำแหน่งผนังหน้าท้องอาจใช้เพียงการตรวจร่างกายเบื้องต้นเท่านั้น แต่ในกรณีที่มีภาวะไส้เลื่อนในบริเวณที่มองไม่เห็นหรือคลำจากภายนอกไม่พบ อาจจำเป็นต้องรับการตรวจด้วยวิธีอื่นๆ เพิ่มเติม เช่น การตรวจอัลตร้าซาวด์ (Ultrasound) การเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT Scan) การตรวจด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) หรือวิธีการส่องกล้องระบบทางเดินอาหาร เพื่อให้เห็นอวัยวะภายในที่มีภาวะไส้เลื่อนได้อย่างชัดเจนยิ่งขึ้น
รักษาภาวะไส้เลื่อนให้หายได้...ด้วยการผ่าตัด
ในปัจจุบันการรักษาหลักสำหรับภาวะไส้เลื่อน คือ การผ่าตัด ในส่วนของการรักษาโดยวิธีไม่ผ่าตัด จะเป็นการรักษาสำหรับก้อนนูนที่มีขนาดเล็กและผู้ป่วยที่ไม่มีอาการ เพื่อเฝ้าดูอาการและระวังภาวะแทรกซ้อน ซึ่งใช้กับผู้ป่วยในบางรายเท่านั้น แต่ในวิธีการรักษาด้วยการผ่าตัด จะเป็นการรักษาสำหรับไส้เลื่อนที่มีขนาดใหญ่ แพทย์จะแนะนำให้รักษาโดยวิธีการผ่าตัด ซึ่งสามารถแบ่งวิธีการผ่าตัดได้เป็น 2 วิธี คือ
วิธีดูแลตัวเองหลังผ่าตัดไส้เลื่อน
ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมก่อนเป็นไส้เลื่อน
การเป็นไส้เลื่อน ไม่ควรละเลยและปล่อยไว้อย่างนั้น เนื่องจากหากปล่อยไว้อาจทำให้มีอาการที่รุนแรง และยากต่อการรักษาให้หายขาด รวมถึงอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนร้ายแรงต่างๆ ที่อาจเป็นอันตรายต่อชีวิตได้
สิ่งสำคัญคือเมื่อคลำได้ก้อนหรือรู้สึกว่าตนเองมีความเสี่ยงที่จะเป็นภาวะไส้เลื่อน ควรเข้ารับการตรวจกับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อทำการวินิจฉัยและรักษาอย่างถูกต้อง และป้องกันไม่ให้ส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวัน
บทความโดย
นายแพทย์กำพล เติมอัครถาวร
แพทย์ประจำสาขาศัลยกรรมทั่วไป
โรงพยาบาลเปาโล สมุทรปราการ
สอบถามรายละเอียดข้อมูลเพิ่มเติม
แผนก ศัลยกรรมทั่วไป อาคาร 1 ชั้น 1
โรงพยาบาลเปาโล สมุทรปราการ
โทร 02-363-2000 ต่อ 2145-2146