-
นวัตกรรมการผ่าตัดผ่านกล้อง
โดย ศูนย์ศัลยกรรมเทคโนโลยีชั้นสูง ( Advanced Surgical Interventional Technologies : ASIT )
ปฏิเสธไม่ได้ว่านวตกรรมการผ่าตัดที่ช่วยในการฟื้นตัวได้อย่างรวดเร็ว ได้เข้ามาในบทบาทที่ทำให้ประสิทธิภาพในการรักษาโรคที่ต้องได้รับการผ่าตัดก้าวไปอย่างไม่หยุดยั้ง ศูนย์ศัลยกรรมเทคโนโลยีชั้นสูง ( Advanced Surgical Interventional Technologies) หรือ ASIT จัดตั้งขึ้นเพื่อตอบสนองคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยอย่างเป็นองค์รวม ซึ่งไม่เพียงการผ่าตัดแบบ Minimally Invasive Surgery ( MIS ) หรือการผ่าตัดผ่านกล้องแผลเล็กโดยศัลยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง แต่ยังครอบคลุมถึงการตรวจวินิจฉยและการรักษาโดยเครื่องมือที่ทันสมัยอันดับต้นๆ ในประเทศไทย รวมทั้งการดูและและให้คำแนะนำจากทีมแพทย์ พยาบาล และเจ้าหน้าที่ ที่มีประสบการณ์สูง เพื่อการรักษาที่ครอบคลุมและครบวงจรอย่างแท้จริง
รู้จักการผ่าตัดผ่านกล้องแผลเล็ก Minimally Invasive Surgery ( MIS )
การผ่าตัดผ่านกล้องจะทำโดยการเจาะผิวหนังบริเวณที่จะทำการรักษาเป็นรูขนาดเล็กๆเพื่อสอดใส่กล้องและเครื่องมือผ่าตัดลงไปเพื่อทำการผ่าตัด ซึ่งรอยแผลจะมีขนาดเล็กประมาณ 1-2 ซม เพื่อให้ภาพที่ชัดเจนและลดการบาดเจ็บต่อเนื้อเยื่อและอวัยวะภายในน้อย ลดโอกาสเกิดโรคแทรกซ้อนต่าง ๆ ผู้ป่วยใช้ระยะเวลาพักฟื้นไม่นาน แผลเล็ก เจ็บน้อย
MIS ดีกว่าการผ่าตัดแบบเปิดอย่างไร?
ขนาดของแผลเล็กเพียงแค่ 5-10 มิลลิเมตร แต่การผ่าตัดแบบเดิมจะมีแผลกว้างถึง 12-20 เซนติเมตรระยะเวลาการผ่าตัดไวกว่าระยะเวลาพักฟื้นของผู้ป่วยนั้นเร็วกว่าการผ่าตัดแบบเดิมที่ต้องใช้เวลาถึง 7-14วัน แต่การผ่าตัดผ่านกล้องในบางกรณีนั้นสามารถเดินทางกลับไปพักฟื้นที่บ้านได้เลยเสียเลือดน้อย และปวดแผลน้อยกว่าการผ่าตัดแบบเปิดแผลจากความคมชัดของกล้องที่มีกำลังขยายสูง จึงทำให้แพทย์สามารถมองเห็นรายละเอียดของตำแหน่งภายในร่างกายที่ต้องการผ่าตัดได้ชัดเจนแผลที่ใหญ่จากการผ่าตัดเปิดแบบเดิมอาจทำให้เกิดพังผืดในช่องท้องหลังผ่าตัดได้ลดการเกิดภาวะแทรกซ้อน ภายหลังการผ่าตัดสามารถกลับไปทำงาน และใช้ชีวิตประจำวันได้เร็วขึ้นผลพลอยได้จากการผ่าตัดแผลที่มีขนาดเล็ก คือเรื่องความสวยงาม
โรคใดบ้างที่สามารถใช้การผ่าตัดผ่านกล้อง?
การผ่าตัดโรคที่เกิดในช่องท้อง เกือบทุกชนิดสามารถผ่าตัดผ่านกล้องได้
การผ่าตัดผ่านกล้องทางนรีเวช ได้แก่ การผ่าตัดถุงน้ำช็อคโกแลต การผ่าตัดเนื้องอกของรังไข่และปีกมดลูก การผ่าตัดเนื้องอกมดลูก การตัดมดลูกผ่านทางกล้อง
การผ่าตัดผ่านกล้องทางศัลยกรรมทั่วไป ได้แก่ การผ่าตัดนิ่วในถุงน้ำดีการผ่าตัดเนื้องอกของกระเพาะอาหารและหลอดอาหาร การผ่าตัดม้าม การผ่าตัดไส้เลื่อนขาหนีบ การผ่าตัดไส้เลื่อนกระบังลม การผ่าตัดเลาะผังผืด การผ่าตัดเนื้องอกลำไส้ใหญ่ การผ่าตัดไต ต่อมหมวกไต การผ่าตัดไส้ติ่ง การผ่าตัดต่อมไทรอยด์ การผ่าตัดปอด การผ่าตัดริดสีดวงทวารหนัก การผ่าตัดรักษาโรคกรดไหลย้อน การผ่าตัดถุงน้ำหรือเนื้องอกของตับ การผ่าตัดเนื้องอกตับอ่อน
เจาะลึกวิธีการผ่าตัดผ่านกล้อง
Laparoscopic Cholecystectomy การผ่าตัดผ่านกล้อง นิ่วในถุงน้ำดี โดยกล้องจะถูกนำเข้าช่องท้องส่วนใหญ่ทางแผลใต้สะดือ และจะมีแกสคาร์บอนไดออกไซด์ ปล่อยเข้าช่องท้องเพื่อเปิดช่องว่างในการผ่าตัด เครื่องมือต่าง ๆ จะสอดเข้าทางรูผนังหน้าท้องอีก 2-3 จุด ถุงน้ำดีจะถูกผ่าตัดออกมาโดยตัดท่อถุงน้ำดีและเส้นเลือดถุงน้ำดีและเส้นเลือดถุงน้ำดี โดยวิธี Clip หรือผูกไว้ ถุงน้ำดีจะถูกนำออกมาทางรูช่องหน้าท้องใต้สะดือ ผิวหนังเย็บปิดด้วยไหมละลาย ผู้ป่วยสามารถกลับบ้านได้ประมาณ 24-48 ชั่วโมงหลังผ่าตัด
Laparoscopic Appendectomy การใช้กล้องส่องช่องท้องผ่าตัดไส้ติ่ง ข้อดีของการใช้กล้องส่องช่องท้องผ่าตัดไส้ติ่ง คือ ปวดแผลน้อยกว่า, ฟื้นตัวเร็วกว่า, ภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัดพบน้อยกว่า, ใช้วินิจฉัยโรคอื่น ๆในช่องท้อง วิธีการผ่าตัดโดยใช้กล้องส่องช่องท้องควรให้ศัลยแพทย์เลือกตามความเหมาะสมในผู้ป่วยแต่ละราย
Laparoscopic Herniorrhaphy ไส้เลื่อนรักษาโดยการซ่อมให้กลับบ้านปกติโดยการผ่าตัดแบบปกติหรือแบบใช้กล้อง ส่อง หลักการคือใช้แผ่นสังเคราะห์ไปปิดรูหรือรอยบกพร่องนั้น ถ้าปิดจากด้านในจะให้ผลดีกว่าปิดจากด้านนอก (เหมือนจุกยางอ่างน้ำ)
ข้อดีของการใช้กล้องส่องรักษาไส้เลื่อน
Laparoscopic Colectomy การผ่าตัดลำไส้ใหญ่ออกโดยใช้กล้องส่องช่องท้องซึ่งจะมีแผลหนึ่งแผลที่ยาวประมาณ 4-5 cm. เพื่อนำลำไส้ใหญ่หรือชิ้นเนื้อนั้นออกจากช่องท้อง นอกจากแผลจะยาวประมาณ 0.5-1 cm. มักทำกรณีเนื้องงอกลำไส้ใหญ่
Laparoscopic lysis adhesion การผ่าตัดไปตัดเลาะพังผืดในช่องท้องโดยการใช้กล้องส่องช่องท้อง ซึ่งมักจะทำในกรณีลำไส้อุดตันจากพังผืดรัด
Laparoscopic Gastrectomy การผ่าตัดเพื่อตัดกระเพาะอาหารที่เป็นพยาธิสภาพ โดยใช้กล้องส่องช่องท้อง มักทำในกรณี มะเร็งกระเพาะอาหาร, แผลในกระเพาะ, กระเพาะอาหารทะลุ
Bariatric Surgery การผ่าตัดลดน้ำหนักในผู้ป่วยที่อ้วนมาก โดยมักใช้วิธีกล้องส่องช่องท้อง ผู้ป่วยจะมี BMI-40 หรือ BMI-35 แต่มีโรคอื่นร่วมด้วย โดยต้องได้รับการรักษาทางอายุรกรรมมาก่อนแล้วไม่ดีขึ้นจึงพิจารณาการผ่าตัด การผ่าตัดมี 2 หลักการคือ
การผ่าตัดโดยใช้กล้องส่อง ช่วยลดภาวะแทรกซ้อนลงได้มาก จึงได้รับความนิยม มีอัตราการผ่าตัด bariatric เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
การเตรียมตัวก่อนการเข้ารับการผ่าตัดผ่านกล้อง
ปฎิบัติตามคำแนะนำของแพทย์
หลังผ่าตัดจะมีภาวะแทรกซ้อนหรือไม่?
ส่วนใหญ่ผู้ที่ได้รับการผ่าตัดผ่านกล้องนั้นมักจะไม่เกิดผลแทรกซ้อนแต่อาจจะเกิดอาการเล็กน้อยอย่างเช่นปวดหน่วงๆหรือปวดเมื่อยหลังจากการผ่าตัด ซึ่งสามารถบรรเทาได้ด้วยการรับประทานยาแก้ปวด
สอบถามรายละเอียดข้อมูลเพิ่มเติม
แผนก ศัลยกรรมทั่วไป อาคาร 1 ชั้น 1
โรงพยาบาลเปาโล สมุทรปราการ
โทร 02-363-2000 ต่อ 2145-2146