เช็คอาการเสี่ยงโรคใหลตาย
โรงพยาบาลเปาโลรังสิต
24-มี.ค.-2565
เช็คอาการเสี่ยงโรคใหลตาย


          รคใหลตาย (Brugada Syndrome) คืออาการ  หัวใจห้องล่างเต้นผิดจังหวะชนิดรุนแรง จนทำให้หัวใจหยุดเต้นและเสียชีวิตกะทันหัน ทั้งที่เดิมสุขภาพแข็งแรงดีมาตลอด โรคนี้ไม่มีสาเหตุที่แน่ชัด มักถ่ายทอดมาทางกรรมพันธุ์หรือมียีนที่ควบคุมการเข้าออกของเกลือแร่โซเดียมไปสู่เซลล์ของหัวใจที่ผิดปกติ มีโอกาสเกิด 1:1,000-10,000 มักเกิดในเพศชายมากกว่าเพศหญิง และพบในช่วงอายุ 26-56 ปี มักเกิดตอนนอนหลับช่วงกลางคืน (โดยเฉพาะถ้ากินอาหารมื้อหนักจำพวกแป้งก่อนนอน) หรือ ดื่มแอลกอฮอล์หนัก หรือเป็นไข้

          แม้จะไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดได้ แต่เราสามารถตรวจคัดกรองหาความผิดปกติที่เป็นโอกาสเสี่ยงได้ก่อน ด้วยวิธีการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (EKG) ได้เลยโดยไม่ต้องรอให้มีอาการ เพื่อป้องกันการเสียชีวิตกะทันหันจากโรคใหลตายได้

          วิธีการป้องกันนั่นก็คือ การฝังเครื่องกระตุกไฟฟ้าหัวใจ (AICD) ไว้ในตัวคนไข้ เมื่อคนไข้เกิดหัวใจเต้นผิดจังหวะขึ้นและหัวใจกำลังจะหยุดเต้น เครื่องนี้จะปล่อยกระแสไฟฟ้าออกมากระตุ้นหัวใจของคนไข้ให้กลับมาเต้นเป็นปกติได้อีกครั้ง ทำให้มีโอกาสรอดชีวิตจากโรคใหลตายที่อาจเกิดขึ้นโดยไม่รู้ตัวได้ นอกจากนี้ยังมีวิธีป้องกันอีกวิธีนั่นคือ การหลีกเลี่ยงการกินอาหารมื้อหนักก่อนนอนหรือ ดื่มแอลกอฮอล์ ในกรณีที่มีไข้ให้รีบกินยาลดไข้ และพบแพทย์ 



โรคใหลตาย


 นอกจากโรคใหลตายที่ทำอันตรายถึงชีวิตโดยไม่รู้ตัวแล้วยังมีโรคอื่น ๆ ที่อาจเป็นสาเหตุการเสียชีวิตกะทันหันได้ อาทิ
  1. โรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน หรือ โรคหลอดเลือดหัวใจอุดตันชนิดเฉียบพลัน (Acute MI)
  2. โรคกล้ามเนื้อหัวใจหนา (HOCM)
  3. โรคหัวใจ"ห้องล่างขวา" สร้างกระแสไฟฟ้าผิดปกติ (ARVD)
  4. โรคหัวใจกล้ามเนื้อหัวใจพิการ (DCM)
  5. โรคลิ้นหัวใจตีบหรือรั่ว
  6. โรคไฟฟ้าลัดวงจรในหัวใจ
  7. โรคหัวใจ"ไหปลาหมึก"(Takotsubo cardiomyopathy)


          ซึ่งหลาย ๆ โรคสามารถตรวจพบได้ก่อน ด้วยวิธีการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (EKG) และอัลตราซาวด์หัวใจ (Echo) เพื่อตรวจคัดกรองหาความเสี่ยงก็สามารถป้องกันการเสียชีวิตได้เช่นกัน

"วิธีป้องกันหัวใจหยุดเต้นกะทันหันที่ดีที่สุด" ก็คือ การตรวจสุขภาพหัวใจประจำปี ด้วยรายการดังต่อไปนี้ 
  1. การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ(EKG) 
  2. การอัลตราซาวด์หัวใจ(Echo)
  3. ตรวจระดับน้ำตาลในเลือด 
  4. ระดับไขมันเลวLDL
  5. วัดความดันโลหิต


โรคใหลตาย


          และพฤติกรรมเสี่ยงต่าง ๆ เช่น งดสูบบุหรี่ , ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ นอกจากนี้การฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ (Flu vaccine) วัคซีนป้องกันปอดอักเสบจากเชื้อแบคทีเรีย (pneumococal vaccine) ก็สามารถป้องกันการเกิดโรคหัวใจได้อีกด้วย
          เพราะ "การเสียชีวิตกะทันหันจากโรคหัวใจ" ป้องกันได้


ขอบคุณบทความดี ๆ จาก
พญ. มนธวัล เวชอนันนุรักษ์
แพทย์เฉพาะทาง อายุรศาสตร์โรคหัวใจ (Cadiology Medicine)
ประจำโรงพยาบาลเปาโล รังสิต




Startup Check 999 บาท



ปรึกษาปัญหาสุขภาพ
โรงพยาบาลเปาโล รังสิต โทร 0-2577-8111
รับข่าวสารและกิจกรรมทางสุขภาพดีๆ ได้ที่
Facebook : โรงพยาบาลเปาโล รังสิต
Line ID : @paolorangsit

เพิ่มเพื่อน