ภาวะเหงื่อออกมากบริเวณฝ่ามือ(Hyperhidrosis)
เหงื่อออก (Sweating) เป็นกลไกของร่างกายในการลดความร้อนโดยออกมาในรูปของเหงื่อที่นำพาความร้อนออกจากร่างกาย ผ่านทางต่อมเหงื่อเมื่ออุณหภูมิร่างกายสูงขึ้น เช่น หลังการออกกำลังกายหรืออยู่ในสภาพแวดล้อมที่อุณหภูมิสูง อย่างไรก็ตามเหงื่อที่ออกเฉพาะที่ฝ่ามือ เกิดเมื่อเวลาเราตื่นเต้นตกใจได้
อาการดังต่อไปนี้ซึ่งถือเป็นความผิดปกติจำเป็นต้องได้รับการรักษา ได้แก่
1.เหงื่อออกมากมีการส่งผลต่อชีวิตประจำวัน
2.ส่งผลต่อสภาพจิตใจ ทำให้เกิดความเครียดเวลาเข้าสังคมหรือทำงาน
3.เกิดภาวะเหงือออกมากผิดปกติ จนเห็นได้ชัดแตกต่างจากเมื่อก่อน
4.มีเหงื่อออกโดยเฉพาะตอนกลางคืน โดยไม่ทราบสาเหตุ
การรักษานั้นขึ้นกับสาเหตุโรค โดยจะแบ่งเป็นประเภทต่างๆดังนี้
1. Primary hyperhidrosis : ภาวะเหงื่อออกมากจากการที่เส้นประสาทที่ไปเลี้ยงต่อมเหงื่อถูกกระตุ้นมากเกินไป มักจะเกิดบริเวณผ่ามือ ผ่าเท้า รักแร้ และใบหน้า โดยไม่เกี่ยวข้องกับโรคประจำตัวอื่น
2. Secondary hyperhidrosis: ภาวะเหงื่ออกที่มีสาเหตุจากโรคอื่นๆที่เป็นอยู่หรือโรคประจำตัวได้แก่
2.1 โรคไทรอยด์เป็นพิษ หรือมีการทำงานมากผิดปกติของต่อมไทรอยด์ ผู้ป่วยกลุ่มนี้จะมีภาวะเมตาบอลิซึมสูงกว่าปกติ จะมีอาการใจสั่น มือสั่น เหนื่อยง่าย น้ำหนักลด ท้องเสีย ขี้ร้อน เหงื่อออกฝ่ามือสองข้างได้ง่าย บางรายคลำพบก้อนไทรอยด์ที่โตได้
2.2 ภาวะวัยทอง (Menopause ) มีอาการร้อนวูบวาบ บริเวณใบหน้าคออก หนาวสั่น ใจสั่น เหงื่อออก ผิวหนังแห้ง ช่องคลอดแห้ง มีอาการทางจิตใจเช่นหงุดหงิดง่าย วิตกกังวลง่าย ซึมเศร้า
2.3 ผู้ป่วยเบาหวาน
2.4 ผู้ป่วยโรคมะเร็งบางชนิด
· Non-Hodgkin lymphoma (มะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิด Non-Hodgkin)· Hodgkin lymphoma (มะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิด Hodgkin)
· Carcinoid tumours (มะเร็งคาร์ซินอยด์)
· Leukaemia (มะเร็งเม็ดเลือดขาว)
· Mesothelioma เป็นมะเร็งชนิดหนึ่งที่เกิดกับเซลล์มีโซทีเลียม (Mesothelium) ซึ่งเป็นเนื้อเยื่อที่ปกคลุมอวัยวะต่าง ๆ ภายในร่างกาย อย่างเยื่อหุ้มปอด ช่องท้อง หน้าอก หัวใจ หรืออัณฑะ โดยเยื่อหุ้มปอดจะเป็นบริเวณที่พบการเกิดมะเร็งได้บ่อยมากกว่าบริเวณอื่น
· Bone cancer (มะเร็งกระดูก)
· Liver cancer (มะเร็งตับ)
2.5 ผู้ป่วยที่มีโรคความผิดปกติของระบบประสาท
ภาพการทดสอบเหงื่อมือ sweat test
โดยใช้แป้ง iodine หาตำแหน่งเหงื่ออกมือ
สำหรับการรักษาแพทย์จะหาสาเหตุและรักษาตามสาเหตุนั้นๆ โดยการรักษามีตั้งแต่ยาสเปรย์ลดเหงื่อ ยาทาลดเหงื่อบริเวณใบหน้า ยากินลดการกระตุ้นการหลั่งเหงื่อ (แต่อาจเกิดภาวะข้างเคียงจากยาได้แก่ ปากแห้ง ตามัว และปัสสาวะคั่งได้) ยาต้านซึมเศร้า การฉีดBotox ลดการกระตุ้นเส้นประสาทที่ทำให้เกิดเหงื่อออกซึ่งต้องฉีดหลายๆครั้งทุก 6 เดือน ผลข้างเคียงอาจเกิดกล้ามเนื้ออ่อนแรงบริเวณที่ฉีดได้
ระยะเวลาผ่าตัดประมาณ 40 นาที-60 นาที
ระยะเวลานอนโรงพยาบาล 2 วัน 1 คืน (วันผ่าตัดและวันหลังผ่าตัด)
หลังผ่าตัดแผลมีขนาดเล็กใกล้กับบริเวณรักแร้สองแผลขนาดแผลประมาณ 0.5-1ซม