คำถามยอดฮิตเกี่ยวกับอาการปวดท้องประจำเดือน
โรงพยาบาลเปาโลเกษตร
19-พ.ค.-2566

เช็ก ! คำถามยอดฮิตเกี่ยวกับอาการปวดท้องประจำเดือน

1. เราจะสังเกตได้อย่างไรว่า อาการปวดท้องประจำเดือนของเราน่าจะมีความผิดปกติ จนต้องมาพบแพทย์

มีลักษณะอาการปวดท้อง เช่น ปวดท้องประจำเดือนมากขึ้น และปวดนานขึ้น จนต้องทานยาเพิ่มมากขึ้น ซึ่งจากเดิมอาจจะไม่ต้องใช้ยา หรือปวดรุนแรงมากจนต้องมา รพ. เพื่อฉีดยาบรรเทาอาการปวด โดยการปวดที่มีลักษณะร้าว เช่น มีอาการปวดร้าวทะลุไปด้านหลัง ก้นกบ รูทวารหนัก หรือร้าวลงไปที่หน้าขาทั้งสองข้าง และนอกจากนี้ อาจจะมีอาการปวดนอกรอบประจำเดือนร่วมด้วย เช่น ปวดหลังจากที่หมดรอบประจำดือนแล้วที่ไม่สัมพันธ์กับประจำเดือน หรือปวดท้องน้อยเรื้อรังร่วมด้วย และอาจจะมีอาการอื่นๆ นอกเหนือจากอาการปวดร่วมด้วย เช่น ปริมาณประจำเดือนมามากกว่าปกติ เช่น จากที่เคยใช้ผ้าอนามัยวัน 2-3 แผ่น ต่อวันแต่ต้องเปลี่ยนเป็นมาใช้ 5-7 แผ่นต่อวัน หรือมีลิ่มเลือดเป็นก้อนใหญ่ ๆ หลุดออกมา

มีการขับถ่ายที่ผิดปกติ และมักจะเป็นเฉพาะช่วงเวลาที่มีประจำเดือน เช่น ปัสสาวะที่ผิดปกติ อาจจะเป็นปัสสาวะบ่อยหรือปัสสาวะไม่สุด ถ่ายลำบากในช่วงที่มีประจำเดือนหรือว่าถ่ายปนเลือด

 คลำก้อนได้ที่บริเวณท้องน้อย ทำให้สังเกตได้ว่าปัสสาวะถี่ขึ้น บ่อยขึ้น


มีตกขาวเรื้อรัง

 
มีประวัติเคยตรวจพบโรคทางนรีเวชมาก่อน เช่น เคยมีอุ้งเชิงกรานอักเสบมา หรือเคยมีการตรวจเจอก้อนเนื้องอกมดลูก หรือถุงน้ำรังไข่ ซึ่งเคยรักษาไปแล้วหายแล้ว แต่กลับมาเป็นซ้ำอีก ทำให้มีอาการปวดท้องประจำเดือนได้



2. เมื่อมาพบแพทย์ จะมีวิธีการตรวจค้นหา รักษาเบื้องต้นอย่างไรเพื่อทราบถึงโรค

 
การซักประวัติ โดยสูตินรีแพทย์จะซักถามถึงอาการปวด และอาการอื่นๆ ตามอาการในข้อ 1. ประมาณ 70-80 % ของประวัติที่จะคาดคะเนถึงโรคที่ทำให้มีอาการปวดท้องประจำเดือนได้

 
ตรวจร่างกายและตรวจภายในสำหรับผู้ป่วยที่มีเพศสัมพันธ์แล้ว เพื่อตรวจหาความผิดปกติของมดลูกและรังไข่ที่สองข้างตรวจอุ้งเชิงกรานด้านหลังมดลูก  รอยต่อกับลำไส้ส่วนล่าง ที่อาจคลำพบรอยโรคในตำแหน่งนั้น ซึ่งโรคที่พบได้บ่อยคือ ภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่

 
ตรวจอัลตร้าซาวด์อุ้งเชิงกราน เพื่อตรวจหาความผิดปกติของมดลูกและรังไข่ทั้งสองข้าง ซึ่งจะมีการอัลตร้าซาวด์ทางหน้าท้อง และ ทางช่องคลอด

3.โรคที่พบบ่อยที่สุด คือโรคอะไร มีอาการเด่นคืออะไรบ้าง และมีการรรักษาแบบไหนได้บ้าง
        ภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ ซึ่งพบได้ประมาณ 10 -20 % ในวัยวัยรุ่น วัยทำงานหรือวัยเจริญพันธ์ที่มีอาการปวดท้องน้อยเรื้อรัง แต่สำหรับคนที่ปวดท้องประจำเดือน โรคภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ ยิ่งทำให้เปอร์เซ็นต์หรือมีโอกาสเป็นขึ้นไป ประมาณ 50-70% ซึ่งอาการเด่นของโรคภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ ก็คือ นอกเหนือจากอาการปวดแล้วจะมีภาวะมีบุตรยาก ปวดร้าวไปหลัง ปวดเวลามีเพศสัมพันธ์ เป็นอาการที่พบบ่อยในภาวะของโรคภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ ซึ่งการรักษาเริ่มแรกจะเป็นการรักษาด้วยยา สามารถทำได้โดยไม่ต้องมีผลชิ้นเนื้อยืนยันหรือการผ่าตัดรักษาก่อน โดยยาที่ใช้จะรักษาจะเป็นกลุ่มยาคุมกำเนิด  หรือ ฮอร์โมนโปรเจสตินชนิดรับประทานไปก่อน และนัดตรวจติตตามอาการอย่างต่อเนื่อง เพื่อติดตามดูผลการรักษา ถ้าหากอาการดีขึ้น แพทย์ก็จะแนะนำให้ผู้ป่วยรับประทานยาต่อเนื่องอย่างน้อย 18- 24 เดือน แต่ถ้าหากอาการไม่ดีขึ้น ก็จะพิจารณาเปลี่ยนเป็นยากลุ่มอื่น หรือรักษาโดยการผ่าตัด

แต่อย่างไรก็ตาม การรักษาภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ จุดประสงค์หลักคือการลดอาการปวด การยับยั้งรอยโรคเพื่อไม่ให้ขยายเพิ่มขึ้นซึ่งคือการยับยั้งหรือลดอาการปวดรอบประจำเดือนและการคงไว้การเจริญพันธุ์ ซึ่งโดยทั่วไปจะไม่มีทางเลือกการรักษาที่ดีที่สุด แต่จะขึ้นกับผู้ป่วยแต่ละรายโดยคำนึงถึงปัจจัยต่างๆ เช่น การต้องการคุมกำเนิด ความต้องการมีบุตร ข้อห้ามในการใช้ยา และผลข้างเคียงของยา ประวัติการใช้ยามาก่อน เป็นสำคัญ




➮บทความสุขภาพ
สัญญาณเตือนอาการปวดท้องประจำเดือนในวัยรุ่น
โรคเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ ENDOMETRIOSIS
ถุงน้ำรังไข่ โรคใกล้ตัวที่คุณผู้หญิงต้องใส่ใจ
กลุ่มโรคมะเร็งสตรี ที่พบบ่อย








สอบถามรายละเอียดข้อมูลเพิ่มเติม

แผนกสูตินรีเวช โรงพยาบาลเปาโล เกษตร
โทร. 02 1500 900 ต่อ 5
420
Facebook : โรงพยาบาลเปาโล เกษตร
Line official account : Paolo Hospital Kaset
Line ID : @paolokaset