ทำความรู้จักกับโรคซึมเศร้า สุขภาพของคนเรานั้นไม่ได้หมายถึงด้านกายภาพหรืออวัยวะเพียงอย่างเดียว แต่สภาพจิตใจ พฤติกรรมความคิด ภาวะความรู้สึกนั้นก็นับรวมเป็นสุขภาพของเราด้วยเช่นกัน หากร่างกายของเราแข็งแรงดีทั้งกายและใจแล้ว จะสามารถสร้างประสิทธิภาพสูงสุดในการริเริ่ม สร้างสรรค์สิ่งต่างๆ ได้อย่างมากมาย อย่างที่ใจต้องการ อย่างที่อยากจะทำ แต่หากร่างกายของเราปราศจากโรคภัยบ แต่จิตใจ ความคิด ความรู้สึกของเรานั้นไม่คงที่ มีความวิตกกังวล หรืออารมณ์แปรปรวน ไปจนถึงเกิดพฤติกรรมที่แตกต่างจากเดิม ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันแล้ว เราคงปฏิเสธไม่ได้ว่า ภาวะจิตใจของเรานั้นไม่แข็งแรงเหมือนเดิม
- โรคซึมเศร้า เกิดขึ้นกับทุกเพศ ทุกวัย ทุกฐานะ
ในปัจจุบันเรามีปัจจัยเสี่ยงหลายอย่างที่ทำให้เกิดโรคซึมเศร้าได้อย่างไม่น่าเชื่อ ทั้งการเลี้ยงดูแล สภาพสังคม ความคาดหวัง ความกดดัน การถูกเปรียบเทียบ ความสัมพันธ์กับคนในครอบครัว คนรัก เพื่อน และเพื่อนร่วมงาน ไปจนถึงความผิดปกติของสารเคมีในสมอง ล้วนก่อให้เกิดโรคซึมเศร้าได้ทั้งนั้น
โรคซึมเศร้ามักเกิดขึ้นทีละเล็กทีละน้อย เราสามารถเป็นโรคซึมเศร้านี้ได้โดยไม่รู้ตัว กว่าจะรู้ตัว อาการก็ลุกลามส่งผลตต่อชีวิตประจำวัน พฤติกรรม ความคิด ภาวะความรู้สึกไปเสียแล้ว
ปัจจัย/สาเหตุ
- ความเครียด ปัจจัยนี้เกิดขึ้นได้กับทุกคน ทั้งความเครียดจากเรื่องการเรียน การทำงาน ความคาดหวังจากพ่อแม่ที่อยากให้ลูกเรียนเก่งอวดเพื่อนๆ ได้ ทำตัวดีเด่นให้เป็นหน้าเป็นตา หรือการทำงานที่ต้องแข่งขันกันในภาวะสังคมที่ต้องทำงานหนักเพื่อประสบความสำเร็จ ให้โดดเด่นในหมู่เพื่อนฝูง ไปจนถึงความเพียบพร้อมของชีวิต เมื่อเปรียบเทียบกับเพื่อนในรุ่นเดียวกัน สังคมเดียวกัน ที่มีบ้าน รถ ครอบครัว ได้ไปเที่ยวต่างประเทศ คือสิ่งที่เรานำมากดดันตัวเองมากเกินไป
- ผลกระทบจากการเลี้ยงดูที่อาจเกิดจากความไม่พร้อมการมีบุตร หรือสภาพความเป็นอยู่ ทัศนคติของพ่อแม่ที่เลี้ยงดูลูกอย่างไม่ถูกต้องมาตั้งแต่เด็กๆ กลายชุดความคิดที่เป็นบรรทัดฐานในการใชีวิตต่อมา จนกลายเป็นตัวแปรสร้างความขัดแย้งกับคนในสังคมได้
- สถานการณ์เลวร้ายที่พบเจอมา หลายคนที่เจ็บป่วยกับโรคเรื้อรัง หรือโรคร้ายแรงเป็นเวลานาน เกิดความเครียด ความกังวลสะสมโดยไม่รู้ตัว จนทำให้เป็นโรคซึมเศร้าได้ หรือการสูญเสียคนที่จากไป ไม่ทันตั้งรับหรือทำใจยอมรับได้ รวมไปถึงการอยู่ในความสัมพันธ์ที่เป็นพิษ หรือ Toxic Relationship ที่ผู้อยู่ในความสัมพันธ์ถูกก่อกวน ว่าร้าย คาดหวัง ไปจนถึงการทำร้ายทั้งทางวาจาและร่างกายเป็นเวลานาน โดยไม่สามารถหาทางออกจากความสัมพันธ์นี้ได้
- สารเคมีในสมอง ที่ส่งผลต่อความรู้สึกเป็นผลลัพท์ที่ได้จากการวิจัย ว่าการเปลี่ยนแปลของสารเคมีในสมองบางอย่างมีส่วนทำให้วงจรของระบบประสาททำให้เกิดภ่วะอารมณ์แปรปรวนจนทำให้เกิดโรคซึมเศร้าได้
- การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนส์ สาเหตุมักเกิดในผู้หญิงที่ตั้งครรภ์ เพราะร่างกายเกิดการเปลี่ยนแปลงเครั้งใหญ่ ฮอร์โมนส์ต่างๆ ในร่างกายและความเครียดระหว่างตั้งครรภ์ไปจนถึงการเลี้ยงดูทารกแรกเกิดตลอดเวลาส่งผลต่อการใช้ชีวิตเป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคซึมเศร้าได้ทั้งหมด
อาการที่สังเกตได้ของโรคซึมเศร้า- สมาธิลดลง ใจลอย ความรู้สึกช้า เคลื่อนไหวเชื่องช้าลง
- หงุดหงิดง่าย อารมณ์ร้อน กระวนกระวาย ความอดทนลดลง
- อยากร้องไห้โดยไม่มีสาเหตุ มีอารมณ์ร่วมกับบางเรื่องที่กระทบกระเทือนจิตใจ ความรู้สึกมากเกินไป
- นอนหลับมากเกินไป หรือบางรายอาจจะนอนไม่หลับเลย
- ความสนใจในกิจกรรมที่ตนโปรดปรานลดลง
- อ่อนเพลีย ไม่อยากทำอะไรเลย
- รู้สึกว่างเปล่า รู้สึกว่าตัวเองไร้ค่า คิดอยากตาย ร้ายแรงไปจนถึงคิดฆ่าตัวตายได้
ควรพบแพทย์เมื่อไร
แนะนำให้มาพบแพทย์เมื่อรู้สึกว่าตนเองอยู่ภาวะที่ไม่มั่นคงทางอารมณ์ พฤติกรรมที่เปลี่ยนไปส่งผลต่อการใช้ชีวิต โรคซึมเศร้านั้นเป็นภาวะซึมลึกที่ค่อยๆ สะสมทีละเล็กทีละน้อย จนถึงหากเรายังอยู่ในสภาวะเดิมๆ ความสัมพันธ์เดิมๆ อาการที่เกิดขึ้นเป็นๆ หายๆ จนเรานิ่งนอนใจว่าเกิดจากความเครียด สักพักก็ดีขึ้น แต่เมื่อเราเริ่มเป็นบ่อยขึ้น หนักขึ้นจนส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำ ต่อคนรอบตัว ไปจนถึงทำให้ร่างกายของเราเจ็บป่วยได้
เราสามารถป้องกันโรคซึมเศร้าได้อย่างไร- หมั่นตรวจสอบความรู้สึกของตัวเอง ปล่อยวางในบางเรื่องที่ไม่สามารถจัดการเพื่อไม่ให้เป็นการกดดันตัวเองมากจนเกินไป ให้กำลังใจตัวเอง รักตัวเองอย่างสม่ำเสมอ
- เมื่อรู้สึกกังวล เครียดกับปัญหา การพูดคุยกับคนรอบข้าง คนสนิทที่เราอยู่ด้วยแล้วสบายใจ แม้การระบายหรือบ่นนั้นจะไม่สามมารถแก้ไขปัญหาได้ แต่เป็นการระบายความเครียดหรือทำให้เราได้เห็นมุมมองอื่นของปัญหาที่อาจจะเป็นทางออกของความเครียด ความกังวลได้
- การพบแพทย์สุขภาพจิต เพื่อวินิจฉัยถึงสาเหตุเพื่อป้องกันสามารถทำให้ช่วยไม่ให้อาการแย่ลงได้ ซึ่งการพบแพทย์ทางสุขภาพจิตไม่ใช่เรื่องน่าอาย จิตใจของเราก็เจ็บป่วยได้เหมือนกับร่างกาย การพบแพทย์เมื่อเราสังเกตเห็นว่ามีอาการผิดปกติ รักษา ป้องกันแต่เนิ่นๆ เพื่อการรักษาจะช่วยให้เราเข้าใจตัวเองง่ายขึ้น ลดค่าใช้จ่ายและระยะยาวการรักษาก็ไม่นานอีกด้วย