การฝากครรภ์...สิ่งสำคัญสำหรับคุณแม่และลูกน้อย
“การตั้งครรภ์” ถือเป็นเรื่องน่ายินดียิ่งสำหรับคุณแม่ทุกท่าน โดยเฉพาะคุณแม่มือใหม่ที่อาจยังไม่มีประสบการณ์เพียงพอในการรับมือกับการตั้งครรภ์และอาจมีข้อสงสัยหลายอย่างเกี่ยวกับกระบวนการ “ฝากครรภ์” ที่ดี ดังนั้นเพื่อไขข้อสงสัยเกี่ยวกับการฝากครรภ์ โรงพยาบาลเปาโล สมุทรปราการจึงมีคำแนะนำเกี่ยวกับการฝากครรภ์มาเล่าให้ฟัง
การฝากครรภ์...สำคัญอย่างไร?
การฝากครรภ์คือหนึ่งในวิธีดูแลสุขภาพครรภ์ของคุณแม่และลูกน้อยไม่ว่าจะเป็นการตั้งครรภ์ครั้งแรกหรือเคยผ่านการตั้งครรภ์มาแล้ว ซึ่งเมื่อไหร่ที่เริ่มสงสัยว่าจะมีการตั้งครรภ์ แพทย์ก็จะทำการตรวจให้แน่ชัด หากมีการตั้งครรภ์จริงก็จะเริ่มทำการฝากครรภ์ โดยแพทย์จะดูแลตั้งแต่ช่วงตั้งครรภ์ไจนถึงการคลอด ฉะนั้นการฝากครรภ์จึงนับว่าเป็นกระบวนการสำคัญที่คุณแม่ไม่ควรมองข้าม เนื่องจากแพทย์จะทำการนัดตรวจครรภ์พร้อมกับให้คำแนะนำในการดูแลตัวเองที่ถูกต้องตลอดการตั้งครรภ์เป็นระยะๆ และหากตรวจพบความผิดปกติในระหว่างการตั้งครรภ์ แพทย์จะให้ปรึกษา คำแนะนำ และการรักษา รวมถึงช่วยแก้ปัญหาเกี่ยวกับความผิดปกติที่เกิดขึ้นได้ทันที เพื่อให้คุณแม่และลูกมีความปลอดภัยและสุขภาพแข็งแรง
ควรเริ่มฝากครรภ์เมื่อไหร่ดี?
ควรเริ่มฝากครรภ์ตั้งแต่รู้ตัวว่ามีการตั้งครรภ์ หรืออายุครรภ์ไม่ควรเกิน 12 สัปดาห์ โดยนับจากวันแรกของประจำเดือนรอบสุดท้าย โดยการฝากครรภ์จะให้ประสิทธิผลสูงสุด หากทั้งคุณพ่อและคุณแม่มีการวางแผนการมีบุตรเอาไว้แล้วล่วงหน้า เสมือนเป็นการเตรียมความพร้อมเบื้องต้นก่อนการตั้งครรภ์
เมื่อเริ่มฝากครรภ์...จะมีการตรวจอะไรบ้างและต้องตรวจบ่อยแค่ไหน?
โดยปกติแพทย์จะนัดให้มาตรวจครรภ์อย่างสม่ำเสมอ โดยแบ่งออกเป็น 3 ไตรมาส ดังนี้
- การตรวจปัสสาวะเพื่อยืนยันการตั้งครรภ์
- การตรวจคัดกรองการติดเชื้อแบคทีเรียในช่องคลอดและกระเพาะปัสสาวะ
- ตรวจเลือดฝากครรภ์ครั้งที่ 1 เพื่อตรวจหาเชื้อ HIV กามโรค ไวรัสตับอักเสบบี/ซี ธาลัสซีเมีย และหมู่เลือด
- ตรวจเลือดคุณแม่เพื่อตรวจหาความผิดปกติทางพันธุกรรม หรือ NIPT ตรวจจับแนวโน้มภาวะดาวน์ซินโดรมของทารกในครรภ์
- ตรวจอัลตราซาวด์กำหนดอายุครรภ์ คัดกรองความพิการในทารกและติดตามพัฒนาการของทารก
ไตรมาสที่ 2 อายุครรภ์ระหว่าง 28-36 สัปดาห์ พบแพทย์เพื่อตรวจครรภ์ทุก 2 สัปดาห์
- ตรวจเลือดคัดกรองภาวะเบาหวานระหว่างตั้งครรภ์ ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้ในช่วงอายุครรภ์สัปดาห์ที่ 24-28 เนื่องจากร่างกายผลิตฮอร์โมนอินซูลินไม่เพียงพอ
- ตรวจอัลตราซาวด์เพื่อระบุเพศทารกและติดตามพัฒนาการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์
- นับจำนวนการดิ้นของทารก ตรวจหาความผิดปกติของทารก หากทารกดิ้นไม่ถึง 4 ครั้งภายใน 2 ชั่วโมง เป็นไปได้ว่าอาจมีความผิดปกติบางอย่างเกิดขึ้น
- ฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่และบาดทะยัก
- ตรวจเลือดฝากครรภ์ครั้งที่ 2
- อัลตราซาวด์เพื่อคำนวณน้ำหนักตัวและติดตามพัฒนาการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์
ทั้งนี้ หากตรวจพบความผิดปกติในระหว่างการตั้งครรภ์ แพทย์จะใช้ดุลยพินิจในการวางแผนการดูแลครรภ์ให้เหมาะสมเป็นรายบุคคล ร่วมกับกำหนดช่วงเวลาคลอด และวิธีการคลอดที่ปลอดภัยและเหมาะสมตามสภาวะของทารกในครรภ์ต่อไป
นอกจากนี้ หากคุณแม่รู้ตัวว่ากำลังตั้งครรภ์ หรือกำลังพิจารณาว่าจะฝากครรภ์ที่ไหนดี แนะนำให้ทำการฝากครรภ์กับสูตินรีแพทย์ที่น่าเชื่อถือ โดยอาจตรวจสอบได้จากประวัติการทำงาน ความชำนาญ และประสบการณ์ของแพทย์ รีวิวการฝากครรภ์จากเคสอื่นๆ และเลือกโรงพยาบาลที่ใกล้ที่พักมากที่สุด เพื่อความสะดวกในการเดินทางมาคลอด หรือกรณีที่ต้องได้รับการดูแลครรภ์ฉุกเฉิน
อย่างไรก็ตาม คุณแม่ควรสังเกตการเปลี่ยนแปลงและความผิดปกติของร่างกายอย่างสม่ำเสมอ เนื่องจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวันของคุณแม่อาจส่งผลต่อสุขภาพของทารกในครรภ์ได้ ฉะนั้นหากเกิดความผิดปกติเกี่ยวกับครรภ์ จึงควรรีบแจ้งกับแพทย์ผู้ดูแลโดยตรง เพื่อขอรับคำแนะนำในการปฏิบัติตัวในขณะนั้นได้อย่างถูกต้อง เพื่อป้องกันการแท้งและช่วยให้การคลอดออกเป็นไปอย่างปลอดภัยทั้งต่อตัวแม่และเด็ก
บทความโดย
โรงพยาบาลเปาโล สมุทรปราการ
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม
ศูนย์ส่งเสริมสุขภาพสตรี
โทร.02-3632-000 ต่อ 2201-2202
โรงพยาบาลเปาโล สมุทรปราการ
รับข่าวสารและกิจกรรมทางสุขภาพดีๆได้ที่
Facebook : Paolo Hospital Samutprakarn
Line official account : Paolo Hospital Samutprakarn